22 เม.ย. 2020 เวลา 00:15 • การศึกษา
อาจถึงเวลา
ืี้ที่ต้องให้ยาแรง❗
ปัญหาโรคระบาดไวรัสโคโรนา หรือ ชื่อเล่น โควิด-19 อาจจะกินเวลายาวนานกว่าที่เราจะคาดคิด
2-3 วันก่อน พี่ตาก็เอายาเม็ดมาให้
แต่หลายคนบอก 2 วิธีนั้น
ไม่ได้ผล สำหรับใครที่คิดว่าไม่ได้ผล วันนี้มาอ่านกัน วันนี้พี่ตาจัดยาแรง..
1
cr.ภาพ canva
2 วิธีที่เคยพูดถึง
👉วิธีแรกคือ กู้เงินในกรมธรรม์ประกันชีวิต เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน จากการหาแหล่งเงินกู้ไม่ได้
ก็ใช้เล่มกรมธรรม์ของเรานี่แหล่ะ
ดีที่สุด หากหาทางออกไม่ได้
ย้อนกลับไปอ่านได้เลยค่ะ หากใครพึ่งเจอกับพี่ตาเป็นครั้งแรก
อ่านแล้วไม่เอายังไม่ถึงขั้นกู้
👉วิธีที่ 2 พี่ตาหาทางออกให้คือ ช่วงนี้บริษัทประกันฯ ค่ายเล็กค่ายใหญ่
เขาก็ช่วยกัน ขยายระยะเวลาชำระเบี้ย จากเดิม 30 วันเป็น 90 วัน
ไปตามอ่านกันเลยค่ะ ถ้าเรายังกังวลกับ ค่าใช้จ่าย และต้องการถือเงินสำรองเอาไว้ก่อน
ถ้าอันนี้ ก็ยังไม่ได้...
หนักหนากว่านั้น
จะไปต่อ หรือพอแค่นี้
จะยืมเงินออกมาก็ปวดใจ
จะหาเงินที่ไหนมาส่งต่อ
ยืนงงเลยดิ มืดตื้บ
พี่ตาเข้าใจ หมุนเงินไม่ทัน
กรมธรรม์ ช่วยได้
ไม่ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ อิอิ
ใครเอาเรื่องจริง มาล้อเล่น😹
เพื่อนๆ รู้ไหมคะ ว่าทุกกรมธรรม์
ที่มีอายุมากว่า 3 ปี
(สิ้นปีที่ 2 ของประกัน)
มีทางเลือกให้ตามนี้นะ
👇👇👇👇👇👇👇
ผู้ถือกรมธรรม์ มี 3 ทางเลือก
1. เวนคืนกรมธรรม์
2. ใช้เงินสำเร็จ
3. ขยายระยะเวลา
เรามารู้จัก "เวนคืนกรมธรรม์"
ในความหมายของการประกันชีวิต
"เวนคืนกรมธรรม์"
ถ้านึกไม่ออกว่าหมายถึงอะไร❓
ให้นึกถึง การเวนคืนที่ดิน แปลว่าเขาเอาที่เราไป เอาเงินมาให้เรา ได้เงินแล้วจบกัน
การเวนคืน คือ การนำส่งเล่มกรมธรรม์ ให้กับบริษัทประกันฯ
แล้ว เราก็จะได้เงินตามมูลค่าเวนคืนเงินสดในตารางกรมธรรม์กลับมา
และเราก็หยุดชำระเบี้ยด้วย
**ถือว่ากรมธรรม์ฉบับนี้สิ้นสุดลง **
ถึงตรงนี้ก็จะมีคำถามอีกว่า
ได้เงินเท่าไร❓
คำตอบ คือ ดูจากตารางกรมธรรม์
เดี๋ยวเรามาดูกันนะคะ
แล้วทำไมได้ไม่ครบ❓
ขออธิบายไว้ง่ายๆ แบบนี้แล้วกัน
เงินที่บริษัทประกันรับมาจากผู้ถือกรมธรรม์
- ส่วนหนึ่งนำไปลงทุน
- ส่วนหนี่งนำไปเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงานของบริษัทประกันฯ
- ส่วนหนึ่งนำไปเป็นค่าเบี้ยที่เป็นส่วนความคุ้มครองของผู้เอาประกัน
ซึ่งเบี้ยส่วนนี้ จะถูกเรียกว่า
แบบชั่วระยะเวลา ทำให้เงินส่วนนี้หายไป เพราะ เป็นปีต่อปี
ทำให้ ผู้ถือกรมธรรม์ ที่เวนคืนกรมธรรม์ได้เงินไม่ครบ ตามจำนวนที่ส่งไป หากหยุดระหว่างทาง ไม่สามารถส่งจนครบ ตามสัญญาได้
ถึงตอนนี้ คงพอจะเข้าใจแล้วใช่ไหมค่ะ ว่า ทำไมได้ เงินไม่ครบ
อาจจะมีคนที่แอบเถียงในใจเหมือน
พี่ตาก่อนมาเป็นตัวแทน
ยังงี้บริษัทประกันฯ
ก็เอาเปรียบเราดิ❗
กลับกันนะคะ สมมุติว่าเราถือกรมธรรม์ฉบับนี้ มา ครบ 10 ปี หรือ เราชำระเบี้ยประกันมาแล้ว 11 ครั้ง
💡สมมุติ เราอยู่จนครบสัญญา บริษัทฯจะจ่ายผลตอบแทน
บวกทุนประกัน
บวกเงินสมนาคุณถ้ามี
และแน่นอนอยู่แล้ว
ว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว ผลตอบแทนมากกว่าเบี้ยที่ชำระมา
💡สมมุติ กลับกันโชคร้าย เราอยู่มาได้ แค่ 3 ปี เกิดลืมหายใจ ขี้เกียจหายใจ ตรงๆ คือ ตาย ตอนนี้บริษัท ประกันฯ ก็ต้อง มอบสินไหมมรณกรรม เท่ากับ จำนวนทุนเอาประกันตามสัญญาในกรมธรรม์
สมมุติอีกนะคะ ว่ากรมธรรม์ฉบับนี้
ซึ่งเป็นแบบประกันสะสมทรัพย์
ชื่อแบบคือ ทรัพย์กาญจนา 20/14
เราทำมา แล้ว ครบ 10 ปี เต็ม
1
จะสามารถคำนวนได้ดังนี้
ดูตารางเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์
เราดูตัวเลขจากตารางเลยนะคะ
คำนวณตามที่ตาคำนวณ เลย ชำระมา 5 งวด เท่ากับสิ้นปีที่ 4
ชำระมา 9 ปี เท่ากับสิ้นปี ที่ 8
แบบนี้ถ้าคำนวณตามตัวเลข
ชำระเบี้ยมาทั้งสิ้น 14,576*11=163,336 บาท ดังนั้น
ถ้าเราจะเวนคืน แนะนำให้ทำก่อน
ครบดิว 30 วัน
แต่กลับกัน ถ้าเราเลือก ไม่ชำระเบี้ย กพ. ปีนี้ แต่เวนคืนตอนนั้น
14,576*10=145,760 บาท
เท่ากับ เงินเราจะหายไปเพียง
16,556 บาท ซึ่งเงินส่วนนี้นำไปแลกความคุ้มครอง 200,000 บาท
ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
เฉลี่ย 1,655 บาท
คุ้มครองเสียชีวิตทุกกรณี
ถูกกว่าประกันอุบัติเหตุด้วยซ้ำนะคะ
ไปต่อที่ "ใช้เงินสำเร็จ"
"ใช้เงินสำเร็จ"
หมายถึง เอาแบบง่ายๆ นะคะ ไม่ใช่ภาษากฎหมาย เป็นภาษาที่พี่ตาพูดกับเพื่อน กับน้อง กับพี่
เงินสำเร็จ คือ จำนวนทุนประกันจะลดลงไปจนถึงสำเร็จ สำเร็จหมายถึงจนจบสัญญา
1
ทำไมทุนประกันลดลง
เพราะเราไม่ได้ชำระเบี้ยประกันแล้ว เราหยุดจ่าย แต่เรายังมีทุนประกัน จนครบสัญญา และได้เงินครบสัญญา บางแบบจะมีเงินคืนทันทีด้วยนะคะ และแบบนี้ ก็มีเงินคืนทันทีด้วย
💡สมมุติเรายังอยู่โจทย์เดิม นะคือสิ้นปีที่ 10 คือ ปีนี้ โรคระบาดมา เราดูแล้วว่า ไปต่อไปน่าจะไหว
เล่มนี้ถึงดิว กพ. งั้นเราควร ยื่นเรื่อง ก่อน 30 วัน คือ มค
ดูไปพร้อมกันเลยค่ะ
แบบนี้ ชำระเบี้ยมา 145,760 ใช้สำเร็จได้เงินคืนทันที 4,922 ครบสัญารับ 200,000 บาท
ต่อที่ขยายระยะเวลา
"ขยายระยะเวลา"
หมายถึง การชำระเบี้ยหยุดชำระ แต่ยังมีความคุ้มครองไปอีก กี่้เดือน กี่ปี
แต่บังเอิญ ตัวอย่างที่พี่ตาแนบมา ดัน
เป็นตารางที่ ขยายระยะเวลาและสำเร็จเท่ากัน งั้นถ้าตามตารางบน
เราจะเลือก
อันไหนก็ได้ค่ะ
1. เวนคืน ไม่มีความคุ้มครองสัญญาจบ ได้เงินคืน 129,204 บาท
2. ใช้มูลค่าสำเร็จ มีเงินคืนทันที 4,922 คุ้มครองต่อเท่าทุนประกัน จนครบสัญญา 20 ปี หยุดชำระเบี้ย ครบสัญญารับ 200,000 บาท
3. ขยายระยะเวลา มีเงินคืนทันที 4,922 คุ้มครองเท่าทุนประกันต่อจนครบสัญญา 20 ปี หยุดชำระเบี้ย ครบสัญญารับ 200,000 บาท
ทั้ง 3 วิธี คือ หยุดชำระเบี้ย นะคะ
เอกสารที่ใช้แนบ:-
1. เล่มกรมธรรม์
2. แบบฟอรม์เวนคืนใช้สำเร็จ/ขยายระยะเวลา ปกติคือแบบฟอร์ม อันเดียวกัน
3. สำเนาบัตรประชาชน
4. สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝาก
ระยะเวลาในการดำเนินการ
ใช้เวลาตั้งแต่ 7-15 วัน หรือ 1 เดือน ถ้า ลายเซ็นต์ไม่เหมือนเดิม
ตรวจเช็คหลังเล่มเลยค่ะ โดยปกติ นานๆ เข้า พวกเราชอบเปลี่ยนลายเซ็นต์
เอกสารและระยะในการดำเนินเรื่องอาจมีต่างไปเล็กน้อย ตรวจสอบกับทางบริษัทฯ โดยตรงก่อนดำเนินการ
นะคะ พี่ตาแค่นำแนวทางที่บริษัทฯ ส่วนใหญ่ ใช้มาให้ค่ะ
🐰🐰🐰🐰🐰
วันนี้พอจะเห็นทางออกกันไหมค่ะ
ถ้าสงสัย แนบคำถามพร้อมตารางกรมธรรม์ มาเลยค่ะ ยินดีตอบคำซักถาม ช่วยเหลือกันไป
ต้องขอออกตัวก่อนนะคะ การที่พี่ตาเสนอทางออกให้ ไม่ได้แปลว่า พี่สนับสนุนให้ ใคร เวนคืน ขยาย หรือ ใช้เงินสำเร็จ นะ แต่ที่เขียนมาทั้งหมด นั้น เพื่อเสนอทางเลือก ให้เรารู้ว่า เรามีทางออกได้ ถ้า หากจำเป็นจริงๆ ที่เราไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ยังไงก็ยังให้คนไทยทุกคน รักษากรมธรรม์ไว้จนครบสัญญา
และไม่ลืมวัตถุประสงค์
เดิมที่เราตั้งไว้ แต่ถ้าปัจจัยเปลี่ยน เราก็ยังสามารถทบทวนกรมธรรม์ได้
การลงทุนยังมี การ Rebalancing
กรมธรรม์ก็ควรมีทางออกเน้อะ
ว่าไหม❓
จริงๆ ก็อยากจะมีความสามารถ
เรื่องอื่นๆ ที่พอจะทำให้เราไม่เครียด ไม่ท้อไม่แท้ ไม่งอแง เดินต่อไหว
แต่บังเอิญ ไม่มี เอาเป็นว่าเรื่องนี้พี่เก่ง (มั่นหน้ามากๆ )พอช่วยได้
สุดท้ายฝากแง่คิด ไว้แล้วกัน
ไหนไหนทุกคน ก็รู้จักพี่ผ่านซ้าเล้งแล้วนี่
กดแชร์ได้เลย
ถ้าเห็นว่าได้ประโยชน์
ไว้เจอกันใหม่...พรุ่งนี้ ที่ไม่เคยถึง พอถึงมันกลายเป็นวันนี้ทุกที ส่วนวันนี้ก็กลายเป็นเมื่อวาน. งงเน้อ
พี่ก็งง
ชีวิตเราจึงมีวันนี้ สำคัญที่สุด
งงแล้ว บาย
ฝากกำลังใจให้ใครที่กำลังท้อนะ
ขอได้รับความขอบคุณ จากพี่ตา
ขอบคุณในความเอื้อเฟื้อ ที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ ชอบทุกคนจ้า...
ที่แวะมาทักทาย ยิ่งรักเข้าไปอีก ที่มาเม้นท์ มาแซะ มาแชร์ บาย สวัสดีคร้า

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา