22 เม.ย. 2020 เวลา 06:48 • ประวัติศาสตร์
การค้นพบยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก
ของ เซอร์จอร์จ เอเวอเรสต์
(Colonel Sir George Everest)
https://www.liveopenly.net/everest-high-passes.html
การสำรวจพื้นที่แถบหุบเขาเนปาลนั้น เกิดจากจากการที่เนปาลเริ่มเข้าสู่ยุคแห่งการรุกรานและได้เป็นเป้าหมายของการขยายอำนาจและอาณาเขตไปทางตะวันตกตามแนวเทือกเขาหิมาลัยจรดแคว้นแคชเมียร์และทางตะวันออกจรดสิกขิม
บริษัทบริติชอีสต์อินเดียซึ่งถือโอกาสขยายอำนาจเพื่ออุดปัญหาสุญญากาศทางการเมืองของเนปาล และต่อมาการเจรจาล้มเหลว ปี 1814 อังกฤษกับเนปาลจึงเข้าสู่สงคราม
British Army
บริษัทอีสต์อินเดียส่งสี่กองกำลังเข้าไปในพื้นที่ภูเขา สองทัพแรกไม่อาจคืบหน้า อีกทัพหนึ่งแตกกลับมา แต่ทัพสุดท้ายกลับแข็งแกร่งเกินต้านทาน กองทัพเนปาลจึงพ่ายแพ้
https://www.recordnepal.com/wire/features/why-did-the-british-not-colonize-nepal/
แต่ก่อนหน้านั้นได้มีชาวยุโรปคนแรกที่ได้ยลโฉมธรรมชาติอันอลังการของเนปาลคือช่างแผนที่ชื่อ เจมส์ เรนเนลล์
James Rennell
เจมส์ เรนเนลล์ ได้ตั้งข้อสังเกตอย่างน่าสนใจ ในปี 1788 ว่าหลายยอดเขาสูงที่มีหิมะปกคลุมอีกทั้งสามารถมองเห็นได้จากที่ราบอินเดียซึ่งอยู่ห่างออกไป 240 กิโลเมตร
แต่คำคาดการณ์ของเขา น่าจะมีบางยอดที่สูงเกิน 8,000 เมตร ถูกกล่าวหาว่าเป็นเรื่องเหลือเชื่อ และไม่มีผู้ให้ความสนใจอย่างจริงจัง
ในปี ค.ศ. 1811 จากการสังเกตพื้นที่ของสถานีสำรวจสี่แห่งในที่ราบอินเดียทำการคำนวณพบว่า มียอดเขาแห่งหนึ่งในเนปาลตะวันตกคือยอดเขาเดาลาคีรี สูง 8,167 เมตร และได้ทำการบันทึกไว้ว่าเป็นอันดับเจ็ดของโลก
แต่ตลอด 30 ปี ช่างทำแผนที่ของกองการสำรวจแห่งอินเดียมัวเสียเวลาไปกับการโฟกัสแต่ทำแผนที่ประเทศอินเดีย โดยการคำนวณระบบรูปสามเหลี่ยมซึ่งคิดค้นขึ้นโดย เซอร์จอร์จ เอเวอเรสต์ เลขาธิการกองสำรวจแห่งอินเดีย
1
https://www.bbvaopenmind.com/en/science/leading-figures/the-man-who-didnt-want-everest-to-bear-his-name/
หลังจากที่ เซอร์จอร์จ เอเวอเรสต์ เกษียนอายุไปในปี 1843 แต่เขาก็ยังไม่ละทิ้งหน้าที่ ได้โฟกัสความสนใจกลับไปที่เทือกเขาหิมาลัยในเนปาลอีกครั้ง ด้วยสาเหตุเกี่ยวกับฝ่ายอังกฤษมีความกังวลว่าอินเดียอาจถูกโจมตีจากทางเหนือเชื่อกันว่ามีสายลับรัสเชียเพ่นผ่านอยู่ในทิเบตและแนวชายแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย
โดยอังกฤษมีความหวังว่าการทำแผนที่เทือกเขาหิมาลัยจะช่วยให้รู้เส้นทางจู่โจมผ่านช่องเขาต่างๆ และช่วยให้หาทางเสริมความมั่นคงได้
1
เมื่อถึงปี 1852 การทำแผนที่ค่อยๆดำเนินไปอย่างถูกต้อง มีการค้นพบยอดเขาสองแห่งบริเวณชายแดนเนปาลคือ กันชันจังกา สูง 8,586 เมตร ทางตะวันออก และโครลามันคะตา สูง 7,728 เมตร การสำรวจหิมาลัยในแถบตะวันตกได้สำเร็จลง
https://www.andbeyond.com/tailormade-tours/annapurna-trek-nepal/
แต่พื้นที่อีก 80 กิโลเมตร ระหว่างยอดเขาทั้งสองนี้ยังเข้าไม่ถึงและอยู่นอกเขตสำรวจ กองการสำรวจแห่งอินเดียได้แต่ใช้กล้องรังวัดหาพิกัดจากพื้นราบ และคำนวณออกมาเป็นแผนที่แบบหยาบๆ
อย่างไรก็ตามในปี 1849 สถานีหกแห่งได้ทำการวัดมุมยอดเขายอดหนึ่งในเนปาลตะวันออกซึ่งรู้จักกันในชื่อ ”ยอด 15"
ยอด 15
แต่เมื่อเวลาผ่านไปอีกสามปีจึงมีเจ้าหน้าที่คนหนึ่งวิ่งเข้ามาในสำนักงานกองสำรวจ และบอกกล่าวอย่างตื่นเต้นว่าได้ค้นพบ
"ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก"
หลังจากทำการวัดความสูง 8,840 เมตรของยอดเขาเอเวอเรสต์ซึ่งขณะนั้นเรียกว่า
"ยอด 15" จนได้รับการรับรองในปี 1852
ในครั้งนั้นมีความพยายามหาชื่อเรียกที่เป็นภาษาท้องถิ่นแต่ไม่เป็นผล ยอดเขาที่ 15 นี้จึงได้ชื่อว่าเอเวอเรสต์ในปี 1865 ตามชื่อ เซอร์จอร์จ เอเวอเรสต์ เลขาธิการกองสำรวจแห่งอินเดีย
หลายปีต่อมาพบว่ายอดเขานี้มีชื่อเป็นภาษาทิเบตว่า "โชโมคงกะมา" ซึ่งมีผู้แปลไว้หลากหลายว่า "พระแม่เจ้า แม่โค" หรือ "เขาสูงที่นกไม่อาจบินข้าม"
ชื่อภาษาเนปาลนั้นทราบภายหลังว่าคือ “สการมาถา” ซึ่งตั้งเพื่อเทิดพระเกียรติกษัตริย์สการ์ผู้สังหารจอมอสูรตามตำนานฮินดู
แต่ความสูงที่แท้จริงของเอเวอเรสต์พบว่าคือ 8,848 เมตรเมื่อวัดด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัยขึ้น แต่สิ่งที่น่าสนใจคือตั้งแต่การค้นพบครั้งแรกแล้ว ก็ยังไม่มีใครเข้าไปบุกเบิกยอดเขานี้ได้จนกระทั่งอีกหนึ่งศตวรรษต่อมา
ในปี 1903 เจ้าหน้าที่กองการสำรวจอินเดียคนหนึ่งได้รับอนุญาตจากรัฐบาลให้เข้าไปในกาฐมาณฑุ เพื่อระบุที่ตั้งของยอตเขาเอวอร์สต์จากภูเขาที่อยู่โดยรอบทางเหนือจากฝังธิเบตแต่ก็ประสบความล้มเหลวเพราะพื้นที่สูงและมีสภาพอากาศที่เลวร้าย
1
ในปี 1921 การสำรวจเอเวอเรสต์แบบจริงจังได้เริ่มต้นขึ้นโดยการสำรวจครั้งนี้ได้เริ่มสำรวจเข้าไปในเส้นทางแถบเหนือของเอเวอเรสต์ นำโดย ซี เค โฮเวิร์ด เบรี และชาวเชอร์ปาจากอินเดียอีกเจ็ดคน แต่ทั้งหมดก็ได้เสียชีวิตจากหิมะถล่ม นับเป็นครั้งแรกแห่งโศกนาฎกรรมที่ถูหบันทึกไว้
และในปี 1922-1924 คณะปีนเขาจากอังกฤษพยายามที่จะสำรวจและพิชิตเอเวอเรสต์ ซึ่งคณะนี้เกือบที่จะสามารถพิชิตยอดเขาได้สำเร็จ แต่ภารกิจครั้งนั้นก็ต้องล้มเหลวเมื่อมีผู้สูญหายหลายคนในระหว่างความสูงระดับ 8,500 เมตร
จนกระทั่งในปี 1953 เอ็ดมันด์ ฮิลลารี และ เตนจิง นอร์เก เชอร์ปาชาวเนปาล เป็นคณะแรกที่พิชิตยอดเขาได้สำเร็จ โดยใช้เส้นทางขึ้นจากสันเขาทางใต้
Edmund Hillary and Tenzing Norgay
❤️กดไลค์ กดแชร์ ติดตามเป็นกำลังใจ❤️
🙏ขอบพระคุณครับ🙏

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา