Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
THE FREE SPIRIT'S STORIES
•
ติดตาม
22 เม.ย. 2020 เวลา 08:35 • บันเทิง
ดูมาแล้วเอามาเล่า: TOILET & Dear Prime Minister
เรื่องส้วมที่ไม่ใช่แค่ที่ขับถ่าย
👉 เชื่อว่า ในประเทศไทยปัจจุบัน เรื่องห้องส้วม เป็นเรื่องปกติจะมีกันทุกบ้าน ถึงจะไม่ในตัวบ้านก็ข้างๆตัวบ้านมีแน่ๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบชักโครก ส้วมซึม หรือ ต่ำสุดก็ส้วมหลุม ในอดีต การเข้าไม่ถึงหรือการไม่มีห้องส้วมอาจจะเป็นเพราะการขาดความรู้เรื่องสุขอนามัยหรือเพราะความยากจน แต่ที่อินเดีย เนื่องจากความหลากหลายทางฐานะ ชนชั้น วรรณะและวัฒนธรรม สำหรับในบางพื้นที่การมีส้วมในบ้านจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ และไม่ใช่ประเด็นความยากจนแต่อย่างใด
ภาพยนตร์อินเดียเรื่อง "Toilet" สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาเรื่องส้วม เริ่มต้นของเรื่องนี้ เดิมเข้าใจว่าจะเป็นหนัง romantic comedy แบบอินเดีย แต่เรื่องเดินต่อๆไปกลับไม่ใชอย่างนั้น กลายเรื่องที่ได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาวัฒนธรรม ความเชื่อ ที่หยั่งรากลึกและมีประเด็น gender discrimination ที่ชัดๆอยู่ในนั้น
พระเอกอยู่ในครอบครัวที่พ่อเป็นผู้นำทางศาสนาที่ conservative จัด นางเอกมาจากครอบครัวที่เปิดกว้างให้อิสระทางความคิดและเป็นผู้หญิงที่มีการศึกษาสูง เรื่องราวที่เป็นประเด็นขึ้นมาเมื่อนางเอกแต่งงานเข้าไปอยู่บ้านเมื่อตัวพระเอกแต่หลังแต่งงานเพิ่งพบว่าที่บ้านนั้นไม่มีส้วม ตอนตีสี่ครึ่งจะมีแก๊งค์ผู้หญิงเดินถือตะเกียงกันมาชวนไปนั่งตามสุมทุมพุ่มไม้และกลับมาก่อนจะสว่าง นางเอกมาจากบ้านที่มีส้วมในบ้านรับเรื่องนี้ไม่ได้ พระเอกพยายามจะแก้ไขปัญหาให้ แต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถเอาส้วมมาอยู่ในบ้านไม่ได้เพราะพ่อไม่ยินยอม การแก้ปัญหานานาจึงจบลงด้วยความล้มเหลว จนกระทั่งนางเอกต้องกลับไปอยู่บ้านเดิม โดยมีเงื่อนไขว่าหากไม่มีส้วมจะไม่มีวันกลับไป
ในขณะที่แยกกันอยู่นางเอกและพระเอกก็ทำทุกวิถีทางที่จะให้คนในชุมชนยอมรับการมีส้วมให้ได้
มีประเด็นที่น่าสนใจอยู่ถือเป็นการเน้นในแก่นของเรื่องก็ว่าได้ คือตอนที่พระเอกไปร้องเรียนทางการเอาหลักฐานทั้งหลายทั้งปวงว่า นี่มีงบประมาณและโครงการของรัฐบาลอินเดียเหมือนจะแฉว่ามีการคอรัปชั่น ว่าทำไมเจ้าหน้าที่ที่นี่ถึงไม่ยอมทำส้วมให้หมู่บ้านของตน เจ้าหน้าที่เปิดเผยภาพบางภาพให้ดูแล้วถามว่า
"คราวนี้รู้แล้วสินะว่าใครกันแน่คือผู้ร้าย" ทางเจ้าหน้าที่บอกว่าจะทำแต่ต้องใช้เวลา พระเอกไม่พอใจบอกว่าทำไมนาน เจ้าหน้าที่บอกว่า "นี่ไม่ใช่ปัญหาการสร้างส้วม รู้มั้ยว่ากำลังสู้อยู่กับอะไร สู้อยู่กับวัฒนธรรม สู้กับความเชื่อเก่าๆ มันถึงได้ยากมากๆไง"
เรื่องนี้ได้โชว์การต่อสู้ของผู้หญิงโดยตัวนางเอกซึ่งจริงๆไม่ได้สู้เพื่อให้ได้มาแค่ส้วม แต่เป็นการต่อสู้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความคิดของชุมชนและของผู้หญิงเองที่ถูกครอบงำมานานโดยวัฒนธรรมและความเชื่ออย่างนั้นมายาวนาน ทั้งนี้ การต่อสู้กับความคิดของผู้หญิงด้วยกันเองก็เป็นเรื่องยากยิ่ง
ถือว่าเป็นหนังน่าดูเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว เดินเรื่องสนุก ร่วมลุ้นไปด้วยตลอดวลา สีสันสวยงามตามสไตล์อินเดีย และมีสอดแทรกส่วนที่เป็นความคิดความเชื่อไว้ในบทหลายช่วง
เปลี่ยนจากสายฮอลลีวูดมาทางบอลลีวูดกันหน่อย เรื่องนี้เป็นหนังตั้งแต่ปี 2017 แต่หาดูได้ทาง Netflix
👉 นอกจากเรื่อง Toilet แล้ว ยังมีภาพยนตร์อินเดียอีกหลายเรื่องที่สะท้อนปัญหาอันเกิดจากการไม่มีส้วมในบ้านสำหรับผู้หญิงในอินเดีย เรื่อง Dear Prime Minister ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง
Dear Prime Minister เป็นเรื่องราวของเด็กชายตัวเล็กๆคนหนึ่งซึ่งอยู่แม่เลี้ยงเดี่ยวในเมือง คานธีนคร (กานตินาการ์- Gandhinagar ) แห่งรัฐคุชราต (ห่างจากมุมไบ 545 กม.ห่างจากเดลลี 900กม.) เด็กชายดั้นด้นเดินทางไปยังเดลลี แอบนั่งรถไฟไปเพื่อยื่นจดหมายให้กับนายกรัฐมนตรี ...ต่อไปนี้เป็นสปอยล์ล้วนๆไปครึ่งเรื่อง ถ้าใคร่ดูเอง ให้ไปหาชมได้ใน netflix ข้ามโพสต์นี้ไป แต่ถ้าอยากรู้เรื่องก่อนก็อ่านต่อได้จ้า..
เรื่องนี้เปิดเรื่องมาคล้ายๆกับเรื่อง Toilet คือ กลุ่มผู้หญิงเหล่าแม่บ้านทั้งหลายนั่งรวมกลุ่มกันในที่มืดและสนทนาปราศรัยกัน กิจกรรมที่ทำคือการถ่ายอุจจาระ นั่นเอง
ต่อจากนั้นก็ไปตักน้ำที่บ่อน้ำซึ่งมีคนสัมปทานได้ คนเฝ้าบ่อน้ำแซวหญิงสาวแม่เลี้ยงเดี่ยวคนนี้ด้วยความคะนองปากอยู่เสมอๆ วันหนึ่งหลังเทศกาลโฮลี (สงกรานต์สี) หลังจากกลับมาจากงานแล้วและหญิงสาวกำลังจะเข้าบ้าน ปรากฏว่าคนเฝ้าบ่อน้ำมาลวนลามเธอ แต่เธอตีตอบโต้ และตำรวจก็เข้ามาช่วยพอดี แต่แล้วตรงนั้นเองก็มีชายอีกคนท่าทางทรงอิทธิพล เข้ามาบอกว่าเธอจะต้องไปลงบันทึกประจำวัน เข้ามายื้อยุดฉุดกระชากซึ่งเธอยืนยันว่าจะไม่ไป การกระทำย่ำนีเธอเกิดขึ้นตรงนั้น ที่ๆตำรวจคนที่ช่วยเธอยืนอยู่แต่ตอนนี้เขาหันหน้าไปทางอื่น ...
เธอกลายเป็นซึมเศร้า ลูกชายที่เป็นเด็กอารมณ์มีความกะล่อนและกวนๆ ไม่รู้ว่าแม่เป็นอะไรไปเพราะไม่ได้พูดเล่นกันเหมือนเคยและไม่ยอมกินข้าวกินปลา จนได้มารู้จากคนที่มาตักน้ำว่าแม่โดนทำร้าย เขาเห็นว่าปัญหามาจากการที่ไม่มีส้วมในบ้าน เขาไปแจ้งกับทางเทศบาลขอให้มีการสร้างส้วมในหมู่บ้านให้ได้เข้าส้วม แต่ก็โดนไล่กลับมา และมีคำหนึ่งที่เจ้าหน้าที่พูดแบบขอไปทีว่า "ถ้าอยากให้ทำต้องไปขอที่นายกฯโน่น"
เมื่อขอไม่ได้เขากลับมาทำสร้างส้วมให้แม่เอง แต่ด้วยฝีมือเด็กเล็กๆอย่างนั้น สร้างได้แค่วันเดียวพายุฝนกระหน่ำส้วมเขาพังไปในพริบตา .... จนในที่สุดเขาจึงคิดว่า นายกรัฐมนตรีคือคำตอบ ..เด็กน้อยที่ได้เรียนนิดๆหน่อยๆ หัดอ่านและเขียนหนังสือ เลยเขียนจดหมายด้วยตัวเอง และแอบหนีไปกับเพื่อนอีก 2คน เดินทางไกลไป 900 กว่ากม. เพื่อไปพบนายกรัฐมนตรี ...และมีเหตุการณ์สนุกสนาน ตื่นเต้น เกิดขึ้นมากมาย ...ไม่สปอยล์ต่อละเผื่อมีคนอยากดูต่อ
ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ แม้เนื้อเรื่องเช่นนี้ดูว่าจะดราม่า แต่ข้อดีของหนังเรื่องนี้ คือได้สะท้อนความเป็นจริงของอินเดียที่ดูยากลำบากโดยวิธีเล่าเรื่องไม่ได้ดราม่า และมีหลายตอนสนุกสนาน เช่น วีรกรรมของเด็กตอนที่ไปที่เดลลี หรือ แม้แต่หลังจากคนในชุมชนรู้เรื่องของเธอ ก็มีคนพร้อมปกป้อง แถมยังมีฉากโรแมนติค เล็กๆน้อยๆ ...ปฏิบัติการณ์ของเด็กๆจะสำเร็จหรือไม่ ติดตามชมเองได้เลย เรียกได้ว่าเป็นเรื่องส้วมดีๆที่ควรดู
* ตัวอย่างจากภาพยนตร์เรื่องนี้ก็สะท้อนภาพความเป็นจริงของอีกหลายครอบครัวในอินเดียที่ไม่ได้มีส้วมไว้ในบ้านสำหรับผู้หญิง อันเนื่องมาจากความแห้งแล้งกันดาร ยากจน หรือประเพณี ความเชื่ออะไรก็แล้วแต่ก็ทำให้ผู้ต้องออกไปจัดการภารกิจนี้ข้างนอกบ้าน
เรื่องจริงของอินเดียที่ขึ้นเป็นคำบรรยายก่อน end credit ก็คือ ปัจจุบันยังมีผู้หญิง ประมาณ 300 ล้านคนในอินเดียไม่มีห้องน้ำใช้ และเหตุข่มขืนร้อยละ 50 เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้หญิงออกไปขับถ่ายนอกบ้าน ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ขวบ
บันทึก
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ดูมาแล้วเอามาเล่า
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย