22 เม.ย. 2020 เวลา 19:01 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
มาทำความรู้จักกับ Perseverance Rover ยานสำรวจดาวอังคารผู้สืบทอดยาน Curiosity ของ NASA
ซึ่งจะมาพร้อมกับ Mars Helicopter โดรนสำรวจคู่ใจเจ้ายาน Rover ลำใหม่นี้ 😉
ยาน Mars Perseverance Rover และ Mars Helicopter
ในปี 2020 นี้ หนึ่งในโครงการสำรวจอวกาศที่น่าสนใจคงหนีไม่พ้นการส่งยานไปสำรวจดาวอังคารลำใหม่ของ NASA นั่นก็คือยาน Perseverance Rover
ซึ่งเป็นโครงการสำรวจดาวอังคารในลำดับถัดไปจากยาน Curiosity โดยมีแผนการเดินทางจากโลกในเดือนกรกฏาคม - สิงหาคมปีนี้ และมีกำหนดการลงจอดที่ดาวอังคารในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า
ตำแหน่งลงจอดของยาน Perseverance Rover
โดยมีแผนการลงจอดบริเวณขอบอ่างของอดีตทะเลสาป Isidis ใกล้กับหลุมอุกกาบาต Jezero crater
ซึ่งภารกิจหลักของยาน Perseverance Rover การค้นหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร
ตำแหน่งของ Jezero crater
ทั้งนี้ตำแหน่งที่ลงจอดนี้ปรากฏร่องรอยของแม่น้ำและการตกตะกอนแบบเดียวกับปากแม่น้ำบนโลกของเรา
และหลุมอุกกาบาตน่าจะช่วยเปิดเผยถึงส่วนประกอบที่อยู่ลึกลงไปใต้ดินของบริเวณที่เกิดการตกตะกอนทับถมกันนี้
บริเวณเขียวในภาพนั้นเป็นชั้นของดินเหนียว โดยมีหลุมแอ่ง Jezero อยู่ตรงกลาง
จากรูปจะเห็นถึงร่องรอยของแม่น้ำทางซ้ายบนก่อนไหลลงทะเลสาป ซึ่งปรากฏให้เห็นการตกตะกอนเป็นรูปพัด (Fan Shape Delta) ตรงกลางภาพ
โดยระยะเวลาของภารกิจประเมินไว้ที่อย่างน้อย 1 ปีดาวอังคาร (678 วันบนโลก)
จุดลงจอดและเส้นทางสำรวจตามแผน
ซึ่งในการลงจอดนั้นจะมีการนำเทคโนโลยีถ่ายภาพเพื่อสแกนพื้นผิวเทียบกับภาพถ่ายสำรวจจากวงโคจรเพื่อยืนยันจุดลงจอด
และหากจำเป็นยังสามารถปรับเปลี่ยนจุดลงจอดเพื่อหลีกเลี่ยงสภาพพื้นผิวที่ไม่เหมาะสมต่อการลงจอดได้ด้วย
บินหลบภูเขาเพื่อลงจอดก็ทำได้
สำหรับยาน Perseverance Rover นี้อัดแน่นด้วยอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์มากมาย
โดยมีอุปกรณ์ที่ร่วมพัฒนากับองค์กรอวกาศจากหลายประเทศ อาทิเช่น สเปน ฝรั่งเศส และเดนมาร์ก
อุปกรณ์อัดแน่นเต็มยาน
เริ่มจาก Mastcam-Z หรือ the mast-mounted camera system ระบบกล้องหลังของยาน อันเป็นกล้องความละเอียดสูงที่สามารถถ่ายภาพมุมกว้างหรือจะซูมก็ได้
รวมถึงการถ่ายภาพวีดีโอความเร็วสูง และความสามารถในการถ่ายภาพแบบ 3 มิติ
ด้วยกล้องเล็ก 2 ตัวด้านล่างที่ติดตั้งในมุมต่างกัน ทำให้สามารถถ่ายภาพออกมาเป็นรูป 3 มิติได้
MEDA หรือ The Mars Environmental Dynamics Analyzer อุปกรณ์ตรวจวัดข้อมูลสภาพอากาศของดาวอังคาร
ข้อมูลตรวจวัดได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วและทิศทางลม รวมถึงปริมาณและขนาดของฝุ่นในบรรยากาศ
MEDA
MOXIE หรือ The Mars Oxygen In-Situ Resource Utilization Experiment อุปกรณ์ทดลองการผลิตออกซิเจนด้วยบรรยากาศของดาวอังคาร
บรรยากาศของดาวอังคารนั้นประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 96% มีออกซิเจนเพียง 0.13% ดังนั้นการผลิตออกซิเจนเพื่อใช้สำหรับภารกิจสำรวจดาวอังคารของนักบินอวกาศจึงเป็นสิ่งจำเป็น
โดยเจ้า MOXIE นี้จะผลิตออกซิเจนด้วยการทำงานเหมือนต้นไม้ นั่นคือดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปและผลิตก๊าซออกซิเจนออกมา
MOXIE
PIXL หรือ The Planetary Instrument for X-ray Lithochemistry เครื่อง X-ray spectrometer สำหรับใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบของดินและหิน
PIXL ยังมาพร้อมกับกล้องซูเปอร์มาโครที่สามารถส่งเห็นผลึกเกลือที่แทรกอยู่ในหินได้เลยทีเดียว
PIXL
RIMFAX The Radar Imager for Mars' Subsurface Experiment เครื่องเรดาห์สแกนสิ่งที่ซ่อนอยู่ใต้พื้นดินดาวอังคาร
โดยเจ้า RIMFAX นี้สามารถตรวจหาน้ำ น้ำแข็งและน้ำเกลือที่อยู่ใต้ดินลึก 10 เมตรได้
RIMFAX
SHERLOC หรือ The Scanning Habitable Environments with Raman & Luminescence for Organics & Chemicals อุปกรณ์ที่ผสมรวม spectrometers เลเซอร์ในย่านอัลตราไวโอเลตและกล้องไว้ด้วยกัน
1
ใช้ในการตรวจหาองค์ประกอบของสารอินทรีย์จากสิ่งมีชีวิต
5
SHERLOC
SuperCam กล้องตรวจองค์ประกอบของดินและหินในระยะไกล (7 เมตร) ใช้ในกรณีที่ตัวยานไม่อาจเข้าใกล้ตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์ได้
SuperCam นี้ประกอบด้วยกล้อง เลเซอร์และ spectrometers ซึ่งสามารถวิเคราห์ตัวอย่างที่มีขนาดเท่าหัวดินสอในระยะห่างออกไป 7 เมตรได้
SuperCam
แม้จะมากมายขนาดนี้ก็ยังไม่พอ ยาน Mars Perseverance Rover จะไปพร้อมกับ Mars Helicopter คู่หูช่วยในการสำรวจ ซึ่งสามารถบินถ่ายภาพในจุดที่ยาน Perseverance วิ่งเข้าไปไม่ถึง
ด้วยลักษณะใบพัดคู่แกนเดี่ยว ซึ่งเป็นรูปแบบของเฮลิคอปเตอร์ชนิดที่ไม่มี Tail Rotor หรือใบพัดหาง
ทั้งนี้โดยปกติเฮลิคอปเตอร์จะมีใบพัดหาง เพื่อต้านการหมุนของตัวเครื่อง ซึ่งถ้าใบพัดหางเสีย ตัวเครื่องก็จะเกิดการหมุนควงเป็นลูกข่างกลางอากาศ
หน้าที่สำคัญของ Tail Rotor
ซึ่งเฮลิคอปเตอร์แบบใบคู่แกนเดี่ยวนี้จะใช้การหมุนของใบพัดสองใบหมุนสวนทางกัน มีใช้ในเฮลิคอปเตอร์ทางทหารบางรุ่น
ตัวอย่างของ เฮลิคอปเตอร์แบบใบพัดคู่
กลับมาที่เจ้า Mars Helicopter นี้จะมีขนาดไม่ใหญ่มาก และใช้ในการทำภารกิจเพื่อสาธิตความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีในการใช้โดรนสำรวจระยะไกลร่วมกับยาน Rover เท่านั้น
ส่งลูกไปบินสำรวจให้
คอนเซปก็คือบินไปถ่ายภาพภูมิประเทศแล้วบินกลับมาส่งข้อมูลให้กับยาน Rover ผ่านการส่งสัญญาณแบบไร้สาย
ภารกิจของ Mars Helicopter วางแผนไว้ 1 เดือน โดยทำการบินอย่างน้อย 1 เที่ยวบิน
และนี่ก็คือ Mars Perseverance Rover ยานสำรวจดาวอังคารลำถัดไป ที่จะมาหาคำตอบที่หลายคนอยากรู้ ว่าดาวอังคารเคยมีสิ่งมีชีวิตหรือไม่ 🤔🧐
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา