22 เม.ย. 2020 เวลา 17:36 • การศึกษา
เรื่องราวของภาพวาดกล่องพัสดุ
โควิด-19 เป็นวิกฤติของชาวโลกพร้อมๆกับการหาช่องทางเพื่อดิ้นรนให้ยืน อยู่บนโลกนี้ให้ได้ ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม พวกเราประชุมกันเรื่องโควิดบ่อยๆ มีแผนหนึ่ง สอง สาม บางสถานการณ์ก็ต้องลดทอน แล้วดึงจากแผนอื่นเข้า พิ่มเติม ที่สุดนักศึกษาต่างทยอยกลับบ้าน ส่วนคนทำงานก็ไปทำงานที่บ้าน
แต่งานบริการของห้องสมุดยังต้องดำเนินการต่อไป และในที่สุดกลางเดือนเมษายนผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง มีนโยบายให้ห้องสมุดทั้งสามวิทยาเขตเปิดบริการส่ง EMS ซึ่งเดิมคือการเก็บค่าบริการ แต่ด้วยสถานการณ์แบบนี้จึงให้ส่งฟรี มีที่คั่นหนังสือ และ Gift Voucher ค่าอาหารและเครื่องดื่มจากร้านกาแฟของแต่ละวิทยาเขต ราคา 35 บาท ซึ่งดีต่อใจมาก
การทำงานจริงมีขั้นตอนมากมาย ทุกทีมต่างผสมผสานเพื่อส่งไปถึงปลายทางให้ได้ แต่ขอเล่าเพื่อตัดไปยังภาพวาดหน้ากล่องพัสดุ เริ่มจากพวกเราสร้างคำว่า “พี่พร้อม” ให้เป็นตัวแทนงานบริการทั้งหมด เป็นพี่สาวหรือพี่ชายใจดีที่ดูแลน้องๆ แล้วบังเอิญว่าต้องอยู่ห่างไกลกัน
เมื่อเราห่อพัสดุ ซึ่งเราตีความว่าเท่ากับจดหมายหนึ่งฉบับ ที่พี่อยากเขียนถึงน้อง เพื่อส่งผ่านความคิดถึง ความห่วงใย ความรู้สึกดีๆ ไปยังน้อง ที่ล้วนต้องอยู่กับบรรยากาศของโควิด-19 "ดูเหงาเนอะ" ใครสักคนกล่าว
เนื่องจากพวกเรามีน้องหลายคน เราคิดต่อว่าถ้าอะไรแบบตัด ปะ คงไม่ใช่ “พี่พร้อม” เราอยากได้อะไรที่เป็นเฉพาะบุคคล จึงสรุปกันว่าเราจะวาดภาพเล็กๆ หน้ากล่อง มีข้อความสั้นๆ ส่งให้แต่ละคนๆ
งานครั้งแรกคือวันที่ 15 เมษายน 2563 จำนวนไม่มาก “พี่พร้อม” สามารถ
วาดได้ วันต่อมาการยืมมีปริมาณมากขึ้น “พี่พร้อม” มีภารกิจอื่น จึงต้องมอง
หาตัวช่วยและต้องเป็นตัวช่วยที่สามารถทำงานกับ “พี่พร้อม” ได้ทุกวันโดย
ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ง่ายที่สุดคือเรามองจากคนรอบตัวคือลูกหลานที่ช่วงนี้ต้องอยู่บ้านเช่นกัน คำว่า "จิตอาสา" สมัยนี้เด็กๆ จะเข้าใจง่าย
เรามีลูกหลานอยู่หลายคนที่เติบโตและใช้ชีวิตบางส่วนอยู่ในห้องสมุด จึงมี
ความคุ้นเคย และในที่สุดเราก็ได้น้องมาช่วยงานนี้ การมาช่วยงานแบบนี้ยังมีผู้ที่มาช่วยหยิบหนังสือ ถ่ายรูป ช่วยพ่อแม่ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อสาร
แทนพ่อแม่ที่อาจไม่คุ้นเคยกับระบบที่ต้องไปติดตั้งเองที่บ้าน หรือกระทั่ง
ช่วยบีบนวดยามที่ปวดเมื่อยกับการเฝ้าดูจดหมายจนดึกดื่น หรือกระทั่งทำกับข้าว...
ตัดไปที่การวาด เริ่มจาก คนแพคใส่หนังสือในกล่อง ซึ่งจะเห็นพิกัด ก็เริ่มคุยกันว่าอยู่ไหน จังหวัดนั้นมีอะไรดี บางจังหวัดมีของดีมากมาย ก็จะดูไปถึง
อำเภอ แล้วก็บอกกันว่าอันนี้ดีนะ น่าสนใจ ส่วนคนวาดก็จะฟังผู้ใหญ่พูด แล้วค้นข้อมูล หรือมีลูกหลานอีกคนมาช่วยกันดูว่าใช่ไม่ใช่ และที่สุดคนวาดจะ
ตัดสินใจเองว่าจะวาดอะไร อารมณ์จะเป็นแบบไหน ส่วนบางที่ที่นึกไม่ออก “พี่พร้อม” จะบอกคนวาดว่า วาดไปเลยจ้า
คนวาดก็จะจินตนาการวาดไปเรื่อยๆ ดูจากชื่อแล้วแปลงเป็นรูปเช่น เพียงดาว สายรุ้ง บางจังหวัดมีหลายคน ก็จะพยายามวาดให้แตกต่างกันออกไป
หรือวาดเรื่องราวเกี่ยวกับโควิด น้องหมาหน้าห้องสมุด น้องแมวที่บ้าน จิบลิที่ชอบ หรือวาดการ์ตูนในลักษณะต่างๆ เช่น นั่งอ่านหนังสือ ใส่ผ้าแมส ฉีดแอลกอฮอล์ เป็นต้น น้องจะวาดเงียบๆ แล้วระบายสี เมื่อเสร็จก็จะส่งให้ทีมเขียนแคปชั่น เหล่า “พี่พร้อม” ก็จะหมุนเวียนมาช่วยกันดูว่าจะเขียนว่าอะไรดี เนื่องจากงานของเราเป็นงานที่ต้องยืน จึงพร้อมที่จะเคลื่อนไปทำกิจกรรมอื่นๆ ได้
ในระหว่างการทำงานทุกคนจะจะไม่มีใครเห็นว่ามีรูปอะไรบ้าง กระทั่งขั้นตอนสุดท้ายที่จะต้องนำส่งไปรษณีย์ ที่ “พี่พร้อม” ต้องถ่ายหมายเลขอีเอ็มเอสส่งให้ผู้รับ และถ่ายรูปภาพเก็บไว้เพราะ “พี่พร้อม” คนอื่นๆ ยังไม่เห็น แล้วส่งรูปภาพในกลุ่มไลน์ของที่ทำงาน เมื่อพวกเราเห็นแล้ว “พี่พร้อม” แอดมินเฟสบุ๊คก็บอกว่าจะไปลงเพจ เช่นเดียวกับแอดมินสตราแกรมและทวิตเตอร์
และ “พี่พร้อม” ก็ไม่คิดว่าเรื่องราวเล็กๆ จะมีการเผยแพร่ในสังคมออนไลน์ มากมายขนาดนี้ จึงได้แต่ขอบคุณและขอบคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจกับคนทำงาน ส่วนคนวาดยังคงยิ้มๆ พยักหน้ารับทราบ และพร้อมที่จะไปวาดรูปในวันต่อไป
เพียงดาวคือผู้รับ
เขาวังเพชรบุรี
ดูแลตัวเองเพื่อต่อสู้กับโรคร้าย
วักสามพราน อ.สามพราน จ.นครปฐม
สะพานข้ามแม่่น้ำแคว
โฆษณา