24 เม.ย. 2020 เวลา 03:10 • ประวัติศาสตร์
Homo Deus : A Brief History of Tomorrow
เมื่อเราเข้าใจ “เรื่องราวที่แท้จริง” ของมนุษย์ เมื่อนั้นเราก็จะเข้าใจ “เป้าหมาย” ของการเดินทางของมนุษยชาติ
Homo Deus คือ หนังสือภาคต่อจาก Sapiens ของ Yuval Noah Harari ศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ผู้นำเสนอเรื่องราวของ “อนาคต” ของมนุษยชาติผ่านการศึกษาความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของเผ่าพันธุ์ Homo Sapiens ที่พัฒนาตนเองขึ้นจากการเป็น “สัตว์” อันไร้ซึ่งความสำคัญใดๆมาเป็น “เทพเจ้า” ผู้กำหนดชะตาชีวิตของทุกสรรพสิ่ง แต่เมื่อสิ่งที่ถูกมนุษย์สร้างขึ้นอย่าง algorithm เริ่มมีสติปัญญาที่ชาญฉลาดกว่ามันสมองของมนุษย์
ผู้เขียน Yuval Noah Harari (ขอบคุณภาพจาก Ted.com)
โศกนาฏกรรม 3 อันดับสำคัญที่มนุษยชาติต้องพบเจอตลอดระยะเวลาหลายพันปีที่ผ่านมานั้นประกอบไปด้วย “ความอดอยาก” “โรคระบาด” และ “สงคราม”
The black death
เริ่มต้นในช่วงทศวรรษที่ 1330 ภัยร้ายนามว่า "the Black Death" ได้คร่าชีวิตมนุษย์กว่า 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมดในแถบทวีปยุโรปและเอเชีย ในยุคเริ่มต้นของการล่าอาณานิคมของชาวสเปนในแถบทวีปอเมริกาได้นำพาเชื้อโรคที่ชาวท้องถิ่นไม่เคยได้สัมผัสข้ามทวีปมาแพร่ระบาดไปทั่วอาณาจักร Aztec และ Maya อย่างรวดเร็วจนทำให้กว่า 90% ของประชากรท้องถิ่นต้องจบชีวิตลงภายในระยะเวลาอันสั้น แต่ในปัจจุบัน ภาวะโรคระบาดนั้นสร้างความเสียหายในอัตราที่น้อยลงเป็นอย่างมากทั้งๆที่สภาวะการอาศัยอยู่รวมกันในเมืองที่แออัดและระบบการคมนาคมอันรวดเร็วนั้นถือเป็นแหล่งแพร่กระจายโรคระบาดได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ก็เพราะว่าวิทยาการทางการแพทย์สมัยใหม่ได้รับการพัฒนาจนสามารถตรวจจับสาเหตุและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อได้อย่างรวดเร็ว (Ebola ที่เกิดขึ้นในปี 2014 คร่าประชากรไปเพียงแค่หลักหมื่นคนเท่านั้น) "ความเสี่ยงของโรคระบาดร้ายแรงในอนาคตน่าจะเกิดขึ้นจากฝีมืของมนุษย์มากกว่าจากธรรมชาติ"
ปัจจุบันสงครามและการก่ออาชญากรรมนั้นเป็นเพียงแค่ 1% ของสาเหตุการตายของมนุษย์ (ซึ่งน้อยกว่าการฆ่าตัวตายและโรคเบาหวาน) ทั้งนี้ก็เพราะว่าสงครามในยุคปัจจุบันนั้นแทบจะ “ไม่มีประโยชน์” ในความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจอีกต่อไป การเกิดขึ้นของอาวุธ “นิวเคลียร์” ส่งผลให้การสู้รบกันระหว่างชาติมหาอำนาจเป็นเหมือนการ “ฆ่าตัวตายหมู่” ที่ไร้เหตุผลสิ้นดี ชัยชนะจากสงครามนั้นก็แทบจะไม่มีมูลค่าอีกต่อไปเพราะทรัพย์สมบัติที่มีค่าที่สุดของมนุษย์ในยุคนี้อยู่ใน “คอมพิวเตอร์” และ “มันสมอง” ของมนุษย์ (สงครามที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมานั้นมักเกิดขึ้นกับประเทศที่มีทรัพยากรมหาศาล อาทิ บ่อน้ำมันหรือเหมืองแร่)
“ความตาย” ถือเป็นส่วนสำคัญอย่างมากของ “ศาสนา” ที่คอยพร่ำสอนให้มนุษย์ทำความดีเพื่อสร้าง “ชีวิตหลังความตาย” ที่ยอดเยี่ยม (ถ้าไม่มีความตาย แนวคิดของสวรรค์และนรกคงไม่เคยเกิดขึ้น) แต่ปัจจุบัน “ความตาย” ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ผ่าน “โรคร้าย” ต่างๆนั้นถูกตีความใหม่ให้กลายมาเป็นเพียงแค่ “ปัญหาทางเทคนิค” ของร่างกายมนุษย์ที่รอให้เทคโนโลยีทางการแพทย์แก้ไขปัญหาให้หายขาด ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์และบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำเริ่มให้ความสำคัญกับ Life Science หรือศาสตร์แห่งชีวิตที่ศึกษาเรื่องการรักษาความผิดปกติของร่างกายและการยืดอายุไขของเซลส์และอวัยวะต่างๆของมนุษย์ ในเร็วๆนี้ เราอาจจะเริ่มเห็นมนุษย์ที่มีอายุไขเพิ่มขึ้นจากเดิม (ซึ่งนั่นก็ทำให้โครงสร้างทางสังคมเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันโดยสิ้นเชิง
ลองคิดดูว่ามนุษย์อาจจะเกษียณในอายุ 120 ปี ปูตินอาจจะเป็นนายกของรัสเซียต่อไปอีก 60 ปีก็ได้) ส่วนในระยะยาว มนุษย์อาจเริ่มกลายเป็น “a-mortal” หรือ ผู้ที่มีร่างกายเป็นอมตะ (ยกเว้น ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจนเสียชีวิต ซึ่งก็อาจจะทำให้บุคคลอมตะเหล่านี้เกรงกลัวต่อกิจกรรมที่มีความเสี่ยงอย่างสุดโต่ง) ซึ่งแน่นอนว่า “มนุษย์” ทุกคนจะต้องพยายามทุกวิถีทางให้ตัวเองกลายเป็นมีชีวิตอยู่ชั่วนิรันดร์และเงินทุนมหาศาลจะเป็นตัวกระตุ้นให้การตามล่าความเป็นอมตะดำเนินต่อไปจนสัมฤทธิ์ผล
การสร้างความสุขที่แท้จริงของมนุษย์นั้นต้องเริ่มต้นจากการแก้ไข “อุปสรรค” สำคัญ 2 ข้อ ได้แก่ 1. อุปสรรคทาง “จิตวิทยา” ที่ว่าด้วยความสุขของมนุษย์นั้นเกิดขึ้นจากการที่ความจริงที่พวกเขาต้องเผชิญนั้นตรงกับความคาดหวังของพวกเขามากน้อยแค่ไหน (ซึ่งปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้นำพาให้ความคาดหวังของมนุษย์สูงขึ้นๆไปเรื่อยๆ) 2. อุปสรรคทาง “ชีววิทยา” ที่พิสูจน์ไว้แล้วว่าความสุขของมนุษย์ขึ้นอยู่กับ “ฮอร์โมน” ภายในร่างกายเท่านั้น อันเป็นไปตามการวิวัฒนาการของธรรมชาติที่สร้างให้มนุษย์มีความรู้สึกดีหลังจากได้กระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตได้สำเร็จก่อนที่ความรู้สึกนั้นจะจางหายไปในเวลาต่อมา เทคโนโลยีในอนาคตที่จะเข้ามาเติมเต็มช่องว่างก้อนใหญ่ของมนุษย์ก็คือการสร้าง “ความสุขชั่วนิรันดร์” ผ่านการ “จัดระเบียบ” ระบบการทำงานของสารเคมีในร่างกายมนุษย์ให้สามารถหลั่งฮอร์โมนให้มนุษย์มีความสุขในเชิงบวกได้ตลอดเวลา (ปัจจุบันมีมนุษย์หลายล้านคนกินยาระงับประสาท ยาแก้โรคซึมเศร้าและยาเสพย์ติด ที่ล้วนมีผลต่อการปรับเปลี่ยนสารเคมีที่มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ทั้งนั้น)
Homo Deus
การพยากรณ์ความสัมพันธุ์ระหว่าง Homo Sapiens ยุคปัจจุบันกับ Homo Deus ในยุคอนาคตนั้นคงเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนัก แต่เราก็อาจพอจะใช้ประวัติศาสตร์ของความสัมพันธุ์ระหว่าง “มนุษย์” กับ “สัตว์” ชนิดอื่นมาใช้เป็นกรอบความคิดคร่าวๆได้
“มนุษย์” กลายเป็นสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์เดียวในโลกที่กุมชะตากรรมของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด (ปัจจุบัน สัดส่วนน้ำหนักรวมของสิ่งมีชีวิตเกิน 90% ตกเป็นของมนุษย์ สัตว์เลี้ยงและสัตว์อุตสาหกรรม)
Antropocene หรือ “ยุคแห่งมนุษย์” (ขอบคุณภาพจาก Motherboard – Vice)
ในอนาคตนั้น เราไม่อาจรับรู้ได้เลยว่า “มนุษย์เวอร์ชั่นอัพเกรด” หรือ A.I. ผู้มีสติปัญญาที่หลักแหลมกว่า Homo Sapiens ในปัจจุบันมากจะจัดการกับพวกเราเหมือนในอดีตที่ผ่านมาหรือไม่
“จิตใจ” (mind) และ “การตระหนักรู้” (consciousness) ซึ่งปัจจุบัน เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์สามารถตรวจจับกระบวนการทำงานของระบบประสาทภายในสมองของสิ่งมีชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่งแต่ก็ยังไม่สามารถตรวจจับกระบวนการทำงานของ “จิตใจ” ที่ทำให้มนุษย์รู้สึกรัก โลภ โกรธหรือกลัวได้เลย (มีเพียงตัวของเราเองเท่านั้นที่เชื่อมั่นในการมีอยู่ของจิตใจและความรู้สึกของเรา
จากการศึกษาประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ “ปัจจัย” ที่น่าจะส่งผลให้ Homo Sapiens กลายมาเป็นสิ่งมีชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกได้ภายในเวลาเพียงแค่เสี้ยวหนึ่งของอายุของดาวดวงนี้ ไม่ใช่ “วิญญาณ” หรือ “จิตใจอันสูงส่ง” แต่กลับกลายเป็น “ความสามารถในการทำงานร่วมกันอย่างซับซ้อนและมีประสิทธิภาพ”
“ความเชื่อที่ถูกสร้างขึ้นโดยฝีมือมนุษย์” (imagined order) อาทิ ศาสนา พระเจ้า หลักมนุษยธรรม ประชาธิปไตยและระบบเงิน
และเมื่อการเวลาเปลี่ยนไป ความเชื่อและความหมายของชีวิตก็เปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าและศาสนากำลังเสื่อมความนิยม ขณะที่ความเชื่อเรื่องประชาธิปไตย ความเท่าเทียมกันและสิทธิมนุษยชนกำลังได้ความนิยมที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนในอนาคต ความเชื่อรูปแบบใหม่ที่มนุษย์ในยุคปัจจุบันอาจจะยังคาดไม่ถึงก็อาจจะเกิดขึ้นได้ในไม่ช้า
เทพเจ้ากรีก (ขอบคุณภาพจาก Wikipedia)
ถึงแม้ในยุคปัจจุบัน ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าและภูติผีปีศาจจะได้เสื่อมถอยลงไป แต่โลกของเรากลับเต็มไปด้วย “เรื่องแต่ง” โดยฝีมือมนุษย์ในยุคใหม่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ประเทศชาติ หลักการปกครอง เงินและบริษัท ที่ล้วนแล้วแต่จะมีอิทธิพลต่อมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเอาจริงๆ เรื่องแต่งเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญอย่างมากในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน แต่พวกเราก็ไม่ควรลืมว่าอะไรคือเรื่องแต่งและอะไรคือ “เรื่องจริง”
แต่ถึงกระนั้น ทฤษฎีที่กล่าวมาทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้เป็นเพียงแค่การพยากรณ์ที่อาศัยการศึกษาทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติและการทำความเข้าใจเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันเท่านั้น มนุษย์ในทุกวันนี้คงไม่มีทางมองเห็นและเข้าใจมนุษย์ในอีก 50 ปีข้างหน้าได้อย่างสมบูรณ์ แต่ 3 แนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นจริงที่ทุกคนควรจะต้องคำนึงถึงอยู่เสมอในการวางแผนอนาคตนั้นก็คือ
สิ่งมีชีวิตทั้งหมดนั้นคือระบบประมวลผลที่ถูกผลักดันโดย algorithm
“สติปัญญา” กับ “การตระหนักรู้” นั้นกำลังถูกแยกออกจากกัน มนุษย์ผู้มีอารมณ์ความรู้สึกกำลังจะถูกแทนที่ด้วย algorithm ที่มีสติปัญญาที่สูงกว่า
algorithm กำลังจะมีความสามารถในการเข้าใจมนุษย์มากกว่าตัวของพวกเราเอง
ในศตวรรษที่ 21 ที่เต็มไปด้วยข้อมูลไหลเวียนมหาศาล
ถ้าเรารู้ว่าสิ่งต่างๆ ทำอย่างไรด้วยลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน เราก็สามารถจะเข้าใจศาสตร์ใหม่ที่ไม่เคยรู้ได้ไม่ยาก แม้แต่ชีวิตก็จะมีความหมายในฐานะเครื่องมือสร้าง Data ชนิดหนึ่ง และเราก็จะหมดความหมายเมื่อเราตาย เราไม่สามารถสร้างข้อมูลใหม่ๆ เข้าระบบให้มันเรียนรู้ได้อีกต่อไป
สรุปหนังสือ Homo Deus, A Brief History of Tomorrow
ประวัติศาสตร์ของวันพรุ่งนี้
Yuval Noah Harari เขียน
ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ และ ธิดา จงนิรามัยสถิต แปล
สำนักพิมพ์ GYPZY
โฆษณา