23 เม.ย. 2020 เวลา 02:48 • ประวัติศาสตร์
'ตื่นขึ้นมาตอนผ่าตัด' เรื่องราวความผิดพลาดในการวางยาสลบ
ในการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคต่างๆ ทีมแพทย์นั้นจำเป็นต้องมี “วิสัญญีแพทย์” ที่ทำหน้าที่ในการระงับความเจ็บของผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดรักษาด้วยการควบคุมปริมาณยาสลบหรือยาชา เพื่อให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างเรียบร้อย แต่ถ้ามันเกิดความผิดพลาดขึ้นมาล่ะ? จะเป็นยังไง
ภาวะรู้สึกตัวในระหว่างผ่าตัด หรือ Anesthesia Awareness สามารถเกิดขึ้นได้หากวิสัญญีแพทย์กะปริมาณยาสลบให้คนไข้ผิดพลาดหรือเครื่องมือที่ใช้ปล่อยแก๊สที่ทำให้สลบนั้นทำงานผิดปกติ จึงทำให้คนไข้ตื่นขึ้นมาจากภาวะการหลับลึก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคนไข้จะไม่สามารถขยับตัวได้เนื่องจากยาชาจากการบล็อกหลัง ทำให้คนไข้รู้สึกถึงความเจ็บปวดจากการผ่าตัดซึ่งแน่นอนว่ามันเจ็บปวดมากๆ ดังเช่นเรื่องราวของ Donna Penner หญิงชาวแคนาดาวัย 53 ปี คนนี้
1
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
1
ในปี 2008 Donna Penner เข้ารับการผ่าตัดเพื่อส่องกล้องตรวจภายในช่องท้องหลังจากที่เธอนั้นมีอาการประจำเดือนมามากผิดปกติ ซึ่งในการผ่าตัดนั้นแพทย์จะทำการกรีดท้องเพื่อสอดท่อเข้าไป ตามปกติแล้วแพทย์จะต้องทำการกรีดเพื่อเปิดช่องท้องให้เป็นแผลใหญ่แผลเดียว แต่ทว่าครั้งนี้แพทย์จะกรีดท้องของเธอให้เป็นแผลเล็กๆ จำนวน 4 แผลเพื่อทำการสอดกล้องเข้าไป
หลังจากที่ Donna ถูกให้ยาสลบแล้วเธอก็หลับไป เมื่อเธอตื่นขึ้นมา Donna รู้สึกมึนงงและคิดว่าการผ่าตัดเสร็จสิ้นแล้ว แต่ทว่าเสียงที่เธอได้ยินนั้นกลับเป็นเสียงหมอพูดขึ้นมาว่า “ขอมีดหน่อย” ทันใดนั้นเอง Donna รู้สึกเจ็บปวดเป็นอย่างมากเพราะเธอถูกกรีดที่ท้อง เธอพยายามขยับตัว พยายามส่งเสียงร้องแต่ทว่าไร้ผล ร่างกายของเธอไม่สามารถที่จะขยับได้สักนิด
2
ชีพจรของเธอเต้นแรงขึ้นจนถึง 148 ครั้ง/นาที (ค่าปกติของผู้ใหญ่จะอยู่ทึ่ 60-100 ครั้ง/นาที) แต่ทว่าการผ่าตัดก็ยังดำเนินต่อไป Donna พยายามที่จะขยับเขยื้อนร่างกายเพื่อให้ทีมแพทย์รู้ว่าเธอยังไม่สลบเธอยังรู้สึกตัว ความพยายามของ Donna เป็นผลเมื่อนิ้วเท้าของเธอสามารถกระดิกได้เธอหวังว่าจะมีใครสักคนเห็น ได้ผล!!! พยาบาลที่อยู่ปลายเท้าเธอสังเกตเห็นว่านิ้วเท้ากระดิก แต่ทว่าเธอกลับมาจับเท้าของ Donna เอาไว้ไม่ให้ขยับ
1
ความเจ็บปวดถาโถมเข้าใส่ Donna อย่างรัวๆ ทั้งการชำแรกเข้าไปในช่องท้องของกล้องตรวจภายใน ทั้งความเจ็บปวดจากการหายใจไม่ออกเนื่องจากชีพจรเต้นเร็วและการสวมหน้ากากเครื่องช่วยหายใจที่ถูกตั้งไว้เพียง 7 ครั้งต่อนาที Donna กล่าวในภายหลังว่าตอนที่เธอหายใจไม่ออกนั้นเธอรู้สึกเหมือนว่ามีคนกำลังเผาปอดของเธอ
ระยะเวลาที่ Donna ต้องทนกับความเจ็บปวดนั้นยาวนานถึง 90 นาที แต่เธอรู้สึกว่าเธอต้องทรมานเป็นสิบๆ ปี เมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้นแพทย์ได้ทำการดึงหน้ากากออกซิเจนออกทันที ทำให้ Donna หมดสติและหัวใจหยุดเต้น ซึ่งในช่วงเวลานี้ Donna รู้สึกเหมือนว่าวิญญาณเธอหลุดออกจากร่างในทันที แพทย์ได้ทำการกู้ชีพเธอขึ้นมาได้สำเร็จ
หลังจากที่ฟื้นขึ้นมา Donna ได้ร้องเรียนไปทางโรงพยาบาลถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับเธอ ซึ่งทางโรงพยาบาลก็ได้ยอมรับและขอโทษกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและชดใช้เป็นเงินจำนวนหนึ่ง เหตุการณ์ในสหรัฐอเมริกาสามารถพบได้เป็นจำนวนกว่า 10,000 รายในแต่ละปี ซึ่งกรณีของ Donna นั้นถือว่าหาได้ยากเพราะส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะตื่นขึ้นมาเป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 นาทีเท่านั้น ซึ่งจะมีทั้งแบบจำได้และจำไม่ได้ว่าอะไรเกิดขึ้นระหว่างนั้น
1
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ในผู้ป่วยที่รู้สึกตัวและได้รับความเจ็บปวดก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระทบกระเทือนทางจิตทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนและฝันร้ายในทุกๆ คืน ซึ่ง Donna ก็พบกับภาวะนี้เช่นกัน เธอต้องลาออกจากงานเพราะไม่สามารถพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานได้เหมือนเดิม มีอาการเครียดตลอดเวลาและไม่สามารถนอนหลับได้จนต้องพึ่งนักบำบัดเพื่อรักษาเธอให้กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา