23 เม.ย. 2020 เวลา 07:44 • ข่าว
FOCUS : ประเด็นน่าสนใจวันนี้
1. หนี้สหรัฐฯ ต่อ GDP กำลังจะเพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับสูงสุดตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
อ้างอิงจากคาดการณ์ของสำนักงานงบประมาณกลางสหรัฐฯ (CRFB) ซึ่งระบุว่า การขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ อาจเพิ่มขึ้นไปถึง 4 เท่าในปีนี้ สู่ระดับ 4 ล้านล้านดอลลาร์ และภายในปี 2023 จะมีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP พุ่งขึ้นสูงกว่าสถิติสูงสุดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
รายงานเบื้องต้นของ CRFB ระบุไว้ดังนี้
1. สหรัฐฯ จะขาดดุลงบประมาณถึง 3.8 ล้านล้านดอลลาร์ (18.7% of GDP) ในปี 2020 และ 2.1 ล้านล้านดอลลาร์ (9.7% of GDP) ในปี 2021
2. คาดว่าหนี้สาธารณะจะใหญ่กว่าขนาดของ GDP ภายในสิ้นปีนี้
ก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤตขึ้นนั้น หนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ก็มีอยู่ประมาณ 79% of GDP แล้ว ซึ่งคิดเป็นมากกว่า 2 เท่าของ 35% ในปี 2007 (ช่วงก่อนเกิดวิกฤตซัพไพรม์)
ภาพด้านล่างจะแสดงให้เห็นถึงค่าประมาณของเงินเยียวยาที่จะแจกจ่ายให้กับแต่ละภาคส่วนในธุรกิจ เริ่มตั้งแต่ปี 2020
และไม่ใช่ว่าทุกมาตรการเยียวจะให้ผลลัพธ์ในทางที่ดี เนื่องจากจำนวนเงินประมาณ 20% หรือ 4.54 แสนล้านดอลลาร์ ของมาตรการเยียวยาเหล่านี้ จะถูกใช้เพื่อสนับสนุนการปล่อยกู้ของ FED ซึ่งอาจจะมากกว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์ด้วยซ้ำ
แน่นอนว่าการปล่อยกู้ของ FED ทั้งหมดนั้น มีเป้าหมายเพียงเพื่อให้ตลาดการเงินโลกสามารถดำเนินต่อไปได้ (อย่างน้อยก็ในช่วงที่ Coronavirus ระบาด) โดยวิธีการปล่อยกู้จะทำผ่านมาตรการสนับสนุนด้านเงินทุน ภายใต้ชื่อของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ
หากมีเงินกู้ที่ไม่สามารถชำระได้ตามกำหนดและกลายเป็นหนี้เสีย ผู้ที่จะดูดซับความเสียหายทั้งหมดนี้ไว้คือ FED แต่ในอีกทางหนึ่งการปล่อยกู้ของ FED นั้นก็มีรายได้จากการคิดดอกเบี้ยเข้ามา
นั่นหมายความว่า FED อาจวางแผนที่จะจบเรื่องนี้โดยการออกจากตลาดและคืนเงินจำนวนมากกว่า 4.54 แสนล้านดอลลาร์ให้แก่คลัง (เงินต้น + ดอกเบี้ย) เมื่อถึงช่วงเวลาที่สภาวะฉุกเฉินคลี่คลายลง หากจะให้เปรียบเทียบก็คล้าย ๆ กับช่วงเวลาหลังจากที่วิกฤตทางการเงินปี 2008 ได้เริ่มคลี่คลายลงแล้ว
Comment : ดูเหมือน Bloomberg จะบอกใบ้ให้รู้แล้วนะครับ ว่ามันจะมีช่วงเวลาแห่งการทวงหนี้ตามมาหลังจากนี้อีก
2. เมื่อมาตรการช่วยเหลือกว่า 8 ล้านล้านดอลลาร์ทั่วโลก ยังคงไม่เพียงพอสำหรับวิกฤตครั้งนี้
ยอดรวมจำนวนเงินสำหรับมาตรการเยียวยาผลกระทบจาก Coronavrius ทั่วโลกในปัจจุบันเกินกว่า 8 ล้านล้านดอลลาร์ไปแล้ว ความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศที่ร่ำรวย และยากจน รวมถึงคนรวย และคนยากจน ได้สร้างบาดแผลอย่างรุนแรงให้แก่เศรษฐกิจโลกในขณะนี้
เยอรมัน และ อิตาลี จัดสรรงบประมาณเยียวยาไปแล้วกว่า 30% ของ GDP คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.84 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะที่สหรัฐฯ ใช้ไปแล้วกว่า 15% ของ GDP หรือประมาณ 3 ล้านล้านดอลลาร์ โดยแบ่งเป็นส่วน ๆ ดังนี้
1. การเข้าซื้อสินทรัพย์โดยตรง
2. การค้ำประกันภายใต้ชื่อของธนาคาร
3. การปล่อยกู้ และอัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดหุ้น
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ของ IMF กล่าวว่าสิ่งที่พวกเขากังวลที่สุดก็คือประเทศในแถบแอฟริกา และละตินอเมริกา ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงงบประมาณในการช่วยเหลือครั้งนี้ แม้กระทั้งเพียง 2-3 พันล้านดอลลาร์ก็ตาม
"ในขณะที่ประเทศร่ำรวยกำลังใช้ปืนใหญ่ทางการเงินต่อสู้กับ Coronavirus แต่ในประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศยากจนกับมีเพียงปืนฉีดน้ำแทนที่จะเป็นบาซูก้า" Chua Hak Bin นักเศรษฐศาสคร์อาวุโสจาก Maybank Kim Eng Research Pte. กล่าว
Comment : โดยส่วนตัวของ World Maker นั้นคิดว่าจริง ๆ แล้วเราไม่ได้ต้องการเงินมากมายในการต่อสู้กับปัญหาครั้งนี้อย่างที่ระบบทุนนิยมต้องการหรอก แต่สิ่งที่เราต้องการคือ "แก่นแท้ของเศรษฐกิจพอเพียง" การพึ่งตัวเองได้คือสิ่งที่ระบบทุนนิยมเกลียดที่สุดในโลกแล้ว
ภาพด้านล่างอ้างอิงจากข้อมูลของ IMF ซึ่งรายงานการเข้าถึงงบประมาณในกว่า 60 ประเทศ ได้รับการตรวจสอบและนำเสนอโดย Bloomberg
ฝรั่งเคส และ สเปน จัดสรรงบประมาณช่วยเหลือกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์ และ 1 แสนล้านดอลลาร์ตามลำดับ ส่วนประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็น 1 เดียวในทวีปที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม G20 ขณะนี้กำลังจัดสรรงบประมาณช่วยเหลือกว่า 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม ประเทศยากจนอื่น ๆ ในทวีปแอฟริกายังคงอยู่ห่างไกลจากความช่วยเหลือครั้งนี้ และนั่นแสดงให้เห็นความเหลื่อมล้ำที่ยังคงอยู่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ Supply Chain อีกครั้งในอนาคต
ทางฝั่งเอเชียแปซิฟิก ดูเหมือนตัวเลขต่าง ๆ จะดูดีกว่าทางยุโรปอย่างมาก
จีนได้ใช้มาตรการกระตุ้นไปแล้วประมาณ 4.24 แสนล้านดอลลาร์ คิดเป็น 3% ของ GDP และในประเทศอื่น ๆ ที่เหลือก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดี (เมื่อเทียบกับโซนยุโรป)
สำหรับประเทศไทยนั้น S&P Global ได้คาดการณ์อัตราการว่างงานไว้ต่ำกว่า 1% ซึ่งถือเป็นเรื่องดีมาก ๆ เนื่องจากตัวเลขการว่างงานนั้นเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของภาคเศรษฐกิจเลยทีเดียว (ถ้าต่ำกว่า 1% จริง ประเทศไทยจะฟื้นตัวได้ค่อนข้างเร็ว อาจกินเวลาไม่ถึง 2 ปี)
ญี่ปุ่นดูจะเป็นประเทศที่น่าเป็นห่วงที่สุด เนื่องจากสัดส่วนหนี้ต่อ GDP นั้นสูงมาก (กว่า 200%) และได้อัดฉีดงบประมาณช่วยเหลือไปแล้วกว่า 20% ของ GDP
ประเทศอื่น ๆ เช่น ฮ่องกง ออสเตรเลีย ได้ใช้งบประมาณไปแล้วประมาณ 10% ของ GDP ขณะที่อินโดนิเซียกำลังปรับปรุงช่วง GAP ในงบประมาณการขาดดุลของประเทศ
ทางฝั่งรัสเซีย ดูเหมือนรัฐบาลจะไม่ได้มีมาตรการช่วยเหลือที่หวือหวาเป็นพิเศษใด ๆ เพียงแต่มีการรายงานจากนักวิเคราะห์ของ ING Bank ว่ารัสเซียได้งดการเก็บภาษี การค้ำประกันโดยรัฐบาล และค่าใช้จ่ายปลีกย่อยอื่น ๆ รวมมูลค่าประมาณ 3.86 หมื่นล้านดอลลาร์ (ถือว่าน้อยมากนะครับ)
ตะวันออกกลาง
อิหร่านดูเหมือนจะเงียบ ๆ ไปในช่วงนี้ โดยล่าสุดที่ออกมาแถลงการณ์ ได้ระบุว่า "จะไม่รับการช่วยเหลือใด ๆ จากอเมริกา และได้ให้คำมั่นที่จะเอาชนะ Coronavirus ด้วยตนเองให้ได้" ส่วนเรื่องงบประมาณนั้น World Maker ยังไม่เห็นตัวเลขที่ชัดเจนครับ คาดว่าน่าจะยังไม่มีการเปิดเผยอย่างชัดเจน
ทางฝั่งซาอุดิอาระเบีย ตัวเลขที่เห็นล่าสุดมีเพียงมาตรการเยียวยา 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์ สำหรับการช่วยเหลือเบื้องต้นเท่านั้น
UAE, อิยิปต์ และ บาห์เรน ก็ดูเหมือนจะมีเพียงมาตรการช่วยเหลือเบื้องต้นในบางส่วนเท่านั้น (ทางฝั่งตะวันออกกลางนี่ World Maker ไม่ชัวร์ 100% นะครับ ถ้าใครรู้ว่าเค้ามีมาตรการอะไรเพิ่มเติมก็มาเสริมในคอมเม้นได้นะครับ)
การกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม และการติชมในเชิงสร้างสรรค์ของคุณ เป็นกำลังใจให้เราและเหล่าอาชีพนักเขียนทุกคนในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ขอเชิญทุกท่านร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้ที่ดีด้วยกันกับเรา
World Maker
สามารถติดตาม World Maker ผ่านทาง Facebook ได้แล้ววันนี้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา