24 เม.ย. 2020 เวลา 02:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ผู้ป่วยโรคฝีดาษรายสุดท้าย
ฤดูร้อน ปี 1978 องค์การอนามัยโลกวางแผนจะประกาศว่า โรคฝีดาษถูกกำจัดหมดสิ้นแล้ว หลังพรากชีวิตประชากรจำนวนหลายล้านคนตลอด 3,000 ปีที่ผ่านมา การทดลองฉีดวัคซีนโรคฝีดาษในช่วง 10 ปีก่อนหน้านั้นให้ผลลัพธ์ที่ดีเกินคาด
"The smallpox virus is shown in this 1975 electronmicrograph from the Centers for Disease Control. (AP Photo/CDC)" - (https://www.voathai.com/a/smallpox-mummy-tk/3659450.html)
De Agostini Picture Library | Getty Image - (https://www.cnbc.com/2014/10/17/historys-deadliest-epidemics.html)
An artistic rendering of Edward Jenner vaccinating eight-year-old James Phipps in 1796. (Pan American Health Organization / flickr) - (https://www.smithsonianmag.com/science-nature/mysterious-origins-smallpox-vaccine-180970069/)
ผู้ติดเชื้อฝีดาษตามธรรมชาติรายสุดท้าย ได้รับการ report ในเดือนตุลาคมปีก่อนหน้านั้น เขาชื่อ Ali Maow Maalin วัย 23 ปี เป็นคนงานในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในประเทศโซมาเลีย
Maalin ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน แต่ร่างกายของเขาต่อสู้กับโรคได้อย่างน่าอัศจรรย์ และหายป่วยในที่สุด
"Ali Maow Maalin" - (https://www.researchgate.net/figure/Somali-cook-Ali-Maow-Maalin-developed-smallpox-on-October-26-1977-Since-then-no-other_fig9_333089598)
โดนัลด์ เฮนเดอสัน นักระบาดวิทยาชาวอเมริกัน ผู้เป็นหัวหอกในการรณรงค์แคมเปญ “กำจัดฝีดาษให้หมดไปจากโลก”
"Donald Ainslie Henderson, MD (1928-2016) a leader of the international effort to eradicate smallpox" - (https://www.jhsph.edu/about/history/in-memoriam/donald-a-henderson/)
เขาและทีมดีใจเป็นอย่างมากที่ไม่พบรายงานการติดเชื้อฝีดาษเพิ่มขึ้นอีก แต่พวกเขายังไม่ได้ประกาศให้โลกรู้อย่างเป็นทางการ จนกระทั่ง 2 ปี ผ่านไป เพื่อให้แน่ใจว่าฝีดาษหมดไปจากโลกแล้วจริงๆ
"Dr. Donald A. Henderson, who led the World Health Organization’s war on smallpox, administering a smallpox vaccination in Ethiopia, around 1972. The last known case was in 1977.Credit...World Health Organization" - (https://www.nytimes.com/2016/08/22/us/dr-donald-a-henderson-who-helped-end-smallpox-dies-at-87.html)
แต่ตอนนั้นเอง โรคฝีดาษก็กลับมาอีกจนได้
เธอชื่อ เจเน็ต พาร์คเกอร์ ช่างภาพวัย 40 ปี เธอทำงานด้านภาพถ่ายให้กับคณะกายวิภาคศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ
"Janet Parker: Photographer in wrong place at the wrong time" - (https://whenwordsmatter.typepad.com/before_their_time/2017/04/janet-parker-had-a-splitting-headache-a-migraine-she-thought-as-she-knocked-off-work-early-on-friday-afternoon-august-11.html)
วันที่ 11 สิงหาคม พาร์คเกอร์มีอาการปวดหัวและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไม่กี่วันถัดมา เธอมีผื่นและตุ่มแดงขึ้นเต็มตัว แพทย์แจ้งว่าเป็นอีสุกอีใส (Chickenpox) และไม่ต้องกังวลอะไรกับมันมาก แต่หลายวันผ่านไป ผื่นเหล่านั้นกลายเป็นตุ่มน้ำพองใส อาการของเธอแย่ลงจนไม่สามารถยืนได้ด้วยตัวเอง
"Differences Between Chickenpox and Smallpox" - (https://microbiologyinfo.com/differences-between-chickenpox-and-smallpox/)
"The University of Birmingham Medical School. (Image: Mirrorpix)" - (https://www.birminghammail.co.uk/news/good-turn-medical-colleagues-cost-14511601)
วันที่ 20 สิงหาคม พาร์คเกอร์แอดมิทในห้องแยกโรคที่โรงพยาบาลแคทเธอรรีน เดอ บาร์น เมืองโซลิฮูล และได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ Variola major หรือฝีดาษสายพันธุ์ที่รุนแรงที่สุด
Catherine-de-Barnes Isolation Hospital where smallpox victim Janet Parker died, was behind this fence. The message is clear
หลังข่าวรั่วไหลออกไป ไม่ใช่เพียงชาวเมืองเท่านั้นที่ตื่นตระหนก แต่รัฐบาล และเจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกก็เกิดความหวั่นวิตกไม่แพ้กัน เพราะประเทศอังกฤษคือสถานที่แห่งสุดท้ายที่ใครจะคิดว่ามีโรคฝีดาษแพร่ระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการบังคับให้ฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี
People queue for smallpox vaccinations in Birmingham in 1978. These were waiting at the Public Health Department clinic immunisation department in Congreve Street.
แต่แล้วต้นตอของการติดเชื้อก็ได้รับการเปิดเผยในที่สุด
ออฟฟิศของพาร์คเกอร์ตั้งอยู่ด้านบนของห้องแลปที่ควบคุมโดย ศาสตราจารย์ เฮนรี่ เบดสัน
Professor Henry Bedson
ห้องแลปแห่งนี้เก็บเชื้อไวรัสก่อโรคฝีดาษไว้เพื่อศึกษา แต่ก่อนหน้านั้น WHO ปฏิเสธมิให้เบดสันใช้ห้องแลปของตนเก็บเชื้อฝีดาษไว้ เพราะ WHO ไม่อยากให้เชื้อชนิดนี้อยู่ในแลปทั่วไป
แต่เพราะเบดสันยืนกรานความตั้งใจของตนเอง WHO จึงอนุญาตให้ทดลองไวรัสชนิดนี้ได้ โดยมีข้อแม้ว่า ห้องแลปของเขาจะต้องได้มาตรฐานตามที่ WHO กำหนด
"Plan of the Birmingham smallpox laboratory in 1978, A = smallpox laboratory; B= animalpox laboratory; C = tissue culture laboratory; E = corridor with swing barrier; D = internal service ducts with access hatches.The position of two safety cabinets is shown at the top with extraction ducts to the windows (black arrows). The circles represent centrifuges and the squares various incubators and refrigerators. The laboratory was about 9.5 metres wide.
เบดสันรับข้อตกลง แต่เขาผิดคำพูดที่สัญญาไว้
3 เดือนหลังพบผู้ติดเชื้อ มีการตรวจสอบห้องแลปและพบว่ามันไม่ได้มาตรฐานตามกำหนดของ WHO
เนื่องจากก่อนหน้านั้น เบดสันมั่นใจว่าห้องแลปของเขามีความเสี่ยงต่ำ ทิศทางของลมในห้องพัดจากที่สูงลงที่ต่ำ และหากจะอัปเกรดห้องมันก็มีราคาแพงมากเกินไป
"Schematic diagram of the East Wing of Birmingham University Medical School in 1978. The positions of the ventilation ducts are labelled A,B,C and D"
ศาสตราจารย์เบดสันเป็นคนแรกๆ ที่รู้ว่าพาร์คเกอร์ติดเชื้อฝีดาษ เขาหวาดวิตกเป็นอย่างมาก รัฐบาลเข้ามาสอบสวนห้องแลปของเขา และพวกนักข่าวปักหลักรอสัมภาษณ์ที่นอกบ้าน
ไม่กี่วันต่อมา ร่างกายของพาร์คเกอร์ทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็ว เธอตาบอดทั้งสองข้าง แพทย์เชื่อว่าเธอน่าจะเสียชีวิตเพราะภาวะไตวาย
"A hideously scarred smallpox victim. Photo courtesty of the Wellcome Collection."
วันที่ 5 กันยายน บิดาวัย 77 ปี ของพาร์คเกอร์เสียชีวิตจากภาวะหัวใจวายเพราะความเครียด
วันต่อมา ศาสตราจารย์เบดสันถูกพบเป็นศพปาดคอตนเองจนเสียชีวิต ที่กระท่อมเล็กๆภายในบ้านของเขาที่ชานเมืองเบอร์มิงแฮม เขาทิ้งข้อความไว้ในกระดาษว่า
“ผมขอโทษเพื่อนและเพื่อนร่วมงานที่เคยเชื่อใจและไว้วางใจในตัวผม ผมรู้ว่าสิ่งสุดท้ายที่ผมจะทำนี้มันช่างอ่อนไหวเหลือเกิน แต่เป็นทางเดียวที่จะทำให้ผมพบกับความสงบสุข”
พาร์คเกอร์เสียชีวิตในวันที่ 11 กันยายน ปี 1978
https://www.bbc.com/news/uk-england-birmingham-45101091
จากการสอบสวนหาสาเหตุการรั่วไหลของเชื้อ พบว่า ภายในแลปที่เกิดเหตุไม่มีความปลอดภัยมากพอ และยังมีเรื่องความระมัดระวังของเจ้าหน้าที่ภายในห้องแลปอีก
2
เช่น การถือภาชนะเก็บเชื้อไวรัสเดินไปเดินมา นอกตู้นิรภัย ไม่มีห้องควบคุมความดันอากาศเพื่อป้องกันมิให้เชื้อหลุดออกไปข้างนอก ไม่มีห้องอาบน้ำหรือห้องเปลี่ยนชุดทำแลป
https://io9.gizmodo.com/the-horrifying-story-of-the-last-death-by-smallpox-1161664590
พวกเจ้าหน้าที่ห้องแลปไม่ติดเชื้อ ก็เพราะพวกเขาได้รับวัคซีนขนานใหม่ล่าสุดทุก 3 หรือ 5 ปี ส่วนพาร์คเกอร์ฉีดวัคซีนครั้งสุดท้ายเมื่อ 12 ปีที่แล้ว
เรื่องที่ว่าพาร์คเกอร์ได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไรนั้น ไม่ได้รับการเปิดเผย แต่เชื่อกันว่า ไวรัสหนีออกจากห้องแลปผ่านทางท่อระบายอากาศ และพาร์คเกอร์ที่ทำงานอยู่ชั้นบนก็สูดอากาศเหล่านั้นเข้าปอดไปเต็มๆ
"The rear of the Medical School showing the location of the smallpox laboratory (bottom) and the rooms where Parker worked (above)" - (https://en.wikipedia.org/wiki/1978_smallpox_outbreak_in_the_United_Kingdom)
ปี 1980 หลังพาร์คเกอร์เสียชีวิตได้ 2 ปี โรคฝีดาษก็ถูกประกาศว่าได้รับการกำจัดจนหมดสิ้นไปจากโลกแล้ว
https://www.who.int/csr/disease/smallpox/en/
https://www.who.int/csr/disease/smallpox/en/
หลังเหตุการณ์ที่เบอร์มิงแฮม ห้องแลปทั่วโลกถูกสั่งให้กำจัดเชื้อฝีดาษทิ้ง ยกเว้นสองแห่ง ได้แก่ห้องแลปที่แอตแลนตา สหรัฐอเมริกา และที่คัลโซโว ประเทศรัสเซีย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา