Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
World Maker
•
ติดตาม
24 เม.ย. 2020 เวลา 13:03 • ข่าว
Oil Update : ซาอุฯ อาจขายท่อส่งน้ำมันมูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ และเตรียมกู้เงินพร้อมออกพันธบัตรเพิ่มเติม ขณะที่สื่อ RT กล่าวว่าการล้มลงของตลาดน้ำมันในครั้งนี้ยังห่างไกลจากจุดสิ้นสุด
Saudi Aramco บริษัทผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกได้จ้าง JPMorgan Chase มาเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อที่จะประเมินการขายท่อลำเลียงน้ำมันประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์
Bloomberg รายงานว่า Mitsubishi UFJ Financial Group Inc. จะมีส่วนร่วมในการทำธุรกรรมครั้งนี้ด้วย แต่รายละเอียดอื่น ๆ ยังไม่มีการเปิดเผยออกมา โดยให้เหตุผลว่า เป็นความลับทางการค้าส่วนบุคคล
อย่างไรก็ตาม Aramco ยังไม่ได้ตัดสินใจที่จะขายทันทีในตอนนี้ โดยคาดว่าจะรอจนกว่าความผันผวนทางเศรษฐกิจและผลกระทบจาก Coronavirus จางลงไปเสียก่อน
Yasir Al-Rumayyan ประธานของ Aramco กล่าวว่าพวกเขากำลังมองหาวิธีการที่จะทำเงินเพิ่มจากสินทรัพย์ที่มีอยู่ และอาจพิจารณาการขายมากกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์หากจำเป็น
2. ซาอุฯ เตรียมกู้เงิน พร้อมออกพันธบัตรเพิ่มเติม
ซาอุฯ กำลังมอบความไว้วางใจให้แก่มาตรการกู้ยืมครั้งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่เข้าตลาดตราสารหนี้มาในปี 2016 เพื่อชดเชยความสูญเสียด้านงบประมาณที่เกิดจากการระบาดของ Coronavirus และสงครามราคาน้ำมัน
ราชอาณาจักรเตรียมกู้เงินกว่า 5.8 หมื่นล้านดอลลาร์ ในขณะที่ทุนสำรองของประเทศถูกนำมาใช้ไปแล้วกว่า 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ยังได้กล่าวว่ามีแผนที่จะกู้เพิ่มเติมอีก 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์หากจำเป็น
"ราชอาณาจักรกำลังเผชิญวิกฤตที่คล้ายกับเมื่อครั้งอดีต หรืออาจจะรุนแรงกว่านั้น แต่เราจะสามารถผ่านมันไปได้ โดยไม่มีข้อยกเว้นใด ๆ ทั้งนั้น" Mohammed Al-Jadaan รัฐมนตรีการกระทรวงการคลังของซาอุฯ กล่าว
รัฐบาลแถลงการณ์ว่ามีแผนที่จะปรับเพดานหนี้จาก 30% เป็น 50% ของ GDP เนื่องจากมีการกู้ยืมมากขึ้นเพื่อรับมือวิกฤตครั้งนี้
อีกปัญหานึงที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ รัฐบาลจะต้องหาเงินเพิ่มจากนอกประเทศให้ได้ เพื่อมาชดเชยกับทุนสำรองของประเทศที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา
3. การล้มลงของตลาดน้ำมันในครั้งนี้ยังห่างไกลจากจุดสิ้นสุด
สำนักข่าว RT ของรัสเซียรายงานว่าราคาน้ำมันดิบ WTI ของสหรัฐฯ อาจจะอยู่ในภาวะคงตัวมากขึ้น หลังจากผ่านความปั่นป่วนอย่างหนักเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ Demand น้ำมันใน Real Sector ก็ยังอยู่ในภาวะทรุดตัวอย่างหนัก
1
ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็คือ อุตสาหกรรมน้ำมันทั่วโลกกำลังถูกบีบด้วยวิกฤต Demand ขั้นรุนแรง ซึ่งทำให้เกิด Oversupply อย่างมากในตอนนี้
Royal Vopak บริษัทกักเก็บน้ำมันอิสระรายใหญ่ที่สุดของโลกกล่าวว่า Storage น้ำมันทั่วโลกกว่า 90% ถูกใช้เพื่อกักเก็บน้ำมันไปหมดแล้ว ซึ่งอีกประมาณ 10% ที่เหลือคือ Storage ที่ยังปิดปรับปรุงอยู่
"เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทางทั่วโลกจะยังคงเป็นแบบนี้ต่อไป อย่างน้อยก็ถึงในเดือนพฤษภาคม 2020 ดังนั้นความต้องการน้ำมันทั่วโลกจะลดลงอย่างต่อเนื่องและมีนัยสำคัญ ทุกคนใน Supply Chain จะได้รับผลกระทบนี้"
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือผู้ผลิต และผู้กลั่นน้ำมันเอง โดย Rystad Energy กล่าวว่าโรงกลั่นน้ำมันของสหรัฐฯ จะต้องสูญเสียเงินประมาณ 3$/บาร์เรล สำหรับการกลั่นในเดือนมีนาคม และเมษายน 2020
"ความเจ็บปวดทางการเงินครั้งนี้จะรุนแรงสำหรับประเทศผู้ผลิตน้ำมัน"
ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ที่สำคัญ ดูเหมือนยังไม่มีอะไรคืบหน้าเลย นอกจากข่าวดีล่าสุดที่ออกมาว่า รัสเซียและ OPEC+ อาจลดกำลังการผลิตน้ำมันเพิ่มเติม นอกเหนือจากที่ตกลงกันไว้ในตอนแรก
ยังไงก็ต้องรอดูในช่วงเดือนหน้านี่แหละครับ ว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยขนาดไหน และพอถึงตอนนั้น World Maker ก็จะมาวิเคราะห์แนวโน้มให้ได้ฟังกันอีกทีนะครับ
การกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม และการติชมในเชิงสร้างสรรค์ของคุณ เป็นกำลังใจให้เราและเหล่าอาชีพนักเขียนทุกคนในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ขอเชิญทุกท่านร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้ที่ดีด้วยกันกับเรา
World Maker
สามารถติดตาม World Maker ผ่านทาง Facebook ได้แล้ววันนี้ที่
https://www.facebook.com/WorldMakerTH
References :
1.
https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-04-23/aramco-is-said-to-hire-jpmorgan-to-advise-on-pipeline-stake-sale
2.
https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-04-22/saudi-arabia-says-it-could-borrow-almost-60-billion-in-2020
3.
https://www.rt.com/business/486744-oil-market-crash-not-over/
11 บันทึก
142
9
11
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ตะวันออกกลาง
11
142
9
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย