27 เม.ย. 2020 เวลา 02:10 • สุขภาพ
เรื่องคุ้น ๆ ของโรคระบาดกับ COVID-19
เปิดตัวมาอย่างยิ่งใหญ่กับปี 2020 ตั้งแต่เดือนแรกจนถึงปัจจุบัน ที่ชาวไทยและผู้คนทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับวิกฤตมากมายไม่ว่าจะเป็น ไฟป่าออสเตรเลีย, PM 2.5 ที่ยังเคลียกันไม่จบ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ก็เข้ามาโบกมือทักทายขอทำความรู้จักกันอีกแล้ววว !!! เรียกได้ว่าฮอตจนหลายประเทศถึงกับต้องปิดประเทศหนีกันเลยทีเดียว
.
แต่รู้ไหมว่าโลกเราเคยเจอโรคระบาดมาหลายครั้งนับไม่ถ้วน!? แต่ที่โดดเด่นกว่าครั้งอื่นใด คือ โรคระบาดที่ได้คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกไปกว่า 100 ล้านชีวิต หนักสุดเลยคือแถบยุโรป
เพราะทำให้ประชากร 2 ใน 3 ของประเทศอิตาลีต้องเสียชีวิตลง ส่งผลให้ประชากรในยุโรปลดลงกว่า 50% ก่อนจะลามมาแถบเอเชีย เดือดร้อนพระเจ้าอู่ทอง และชาวบ้านต้องหอบข้าวหอบของหนีโรคออกจากเมืองกรุงศรีไปด้วยอีก
.
โรคที่ว่านั้นคือ “กาฬโรค” หรือ “Black Death” คนสมัยก่อนเรียกกันว่า “โรคห่า” ที่แปลว่าโรคระบาด ซึ่งโรคห่าแบ่งเป็น 3 โรค ได้แก่ กาฬโรค อหิวาตกโรค และไข้ทรพิษ
.
หลังจากที่ตามหาสาเหตุของโรคระบาดนี้มานานก็ได้รู้ว่า “พ่อค้าชาวจีน” เป็นต้นเหตุ !!!!
เพราะช่วงนั้นจีนมีโรคระบาดหนักจากแบคทีเรีย Yersinia Pestis ที่มักอาศัยอยู่ในสัตว์ฟันแทะอย่าง “หนู” แต่พี่แกก็ยังแล่นเรือสำเภาที่มีหนูติดเชื้อนั่งเป็นตุ๊กตาหน้าเรือไปค้าขาย
ทั่วทุกมุมโลก จนผู้คนทั้งเอเชียและยุโรปได้รับเชื้อกันถ้วนหน้า
.
เมื่ออิตาลีเห็นอย่างนั้น จึงจำเป็นต้องออกกฏให้เรือที่สงสัยว่ามีโรคระบาดทุกรำห้ามเทียบท่าขึ้นบก และให้ทุกคนกักตัวอยู่ในเรือเป็นเวลา 40 วันก่อนถึงจะขึ้นฝั่งได้ นี่จึงเป็นที่มาของคำว่า “Quarantine" จากภาษาอิตาลี “Quaranta Giorni” แปลว่า 40 วัน (Quaranta = 40
Giorni = วัน)
.
ตั้งแต่นั้นมาคำว่า Quarantine จึงถูกนำมาใช้เวลาที่มีการกักบริเวณผู้ต้องสงสัยว่าติด
โรคระบาดที่เราเห็นกันทุกวันนี้อย่าง COVID-19 นั่นเอง
.
ฟังแล้วดูคล้าย ๆ กับเหตุการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไหม!? ที่เหล่าอาตี๋ อาหมวย ต่างสวมวิญญาณนักเดินทางของบรรพบุรุษแบกเป้ข้ามน้ำข้ามทะเล แจกจ่ายไวรัสระหว่างทางจนกลายเป็นโรคยอดฮิตของคนทั่วโลก
.
คงถึงเวลาที่เราต้องมาดูกันแล้วว่า อะไรคือต้นตอที่แท้จริงของปัญหา “เชื้อไวรัส” หรือ “มาตราการป้องกันของรัฐบาลจีน” ที่ไม่เข้มงวดมากพอ จนทำให้ปัญหาใหญ่ระดับโลกแบบนี้ เกิดขึ้นมาอีกครั้ง
__
#TheLuxuryProjects
#LuxuryProjects
โฆษณา