Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Knowledge Variety
•
ติดตาม
25 เม.ย. 2020 เวลา 10:05 • ประวัติศาสตร์
💐" ศรีโหม้โกอินเตอร์ "💐
คนเชียงใหม่คนแรกไปอเมริกาเมื่อ 131 ปีที่แล้ว(ยุคที่เชียงใหม่เป็นประเทศราชของสยาม)
(Cr:www.story.pptvhd36.com)
😊วันนี้มีเรื่องราวในอดีตของหนุ่มน้อยล้านนา เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว (พ.ศ 2432) มาเล่าสู่กันฟังคะ
ด้วยวัย 21 ปี หนุ่มน้อยศรีโหม้ ได้มีโอกาสเดินทางโกอินเตอร์ไปอเมริกา ...ถือว่าเป็นคนเชียงใหม่คนแรก ที่ได้เดินทางไกล ข้ามน้ำข้ามทะเล ไปถึงเมืองลุงแซมเลยนะคะ
และตลอดเวลาที่เดินทางนั้น ได้เขียนจดหมายทั้งหมดถึง 24 ฉบับเป็นภาษาล้านนาที่อ่านเข้าใจง่าย เพื่อเล่าเรื่องราวตั้งแต่ออกเดินทางจากเมืองไทยผ่าน ฮ่องกง ญี่ปุ่นและหลายเมืองในอเมริกา ได้กล่าวถึงสภาพบ้านเมือง สังคม วัฒนธรรม ความเจริญศิวิไลซ์ของที่อเมริกาและเปรียบเทียบกับเมืองสยามและเชียงใหม่ในยุคนั้น
ต้นฉบับจดหมายของ" ศรีโหม้" นับเป็นเอกสารสำคัญที่มีค่าทางประวัติศาสตร์ของล้านนาอย่างยิ่ง ที่ถูกเก็บไว้เป็นอย่างดี และต่อมาได้ถูกตีพิมพ์เพื่อใช้เป็นตำราเรียนวิชาภูมิศาสตร์ในรร.วังสิงห์คำ(รร.ปรินส์รอแยลในปัจจุบัน)ในช่วงเวลาหนึ่ง
1
และถือว่าเป็นหลักฐานทางการศึกษาชิ้นสุดท้ายก่อนที่ เชียงใหม่จะสิ้นสุดความเป็นประเทศราช จากสยามในปี พ.ศ.2442 และกลายเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพายัพ
🕵️♂️เหตุใด "ศรีโหม้" จึงได้มีโอกาสไปอเมริกา?
" ศรีโหม้ วิชัย " เกิดเมื่อปีพ.ศ.2411 (ในสมัยรัชกาลที่ 4)เป็นบุตรของหนานสีวิชัยและนางวันดี ที่หมู่บ้านสันป่าข่อย ด้านตะวันออกของแม่น้ำปิง เมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหมู่บ้านของชาวคริสเตียน
ยุคสมัยนั้นเมืองเชียงใหม่ อยู่ในฐานะ " ประเทศราช " ของสยาม เจ้าผู้ครองนครในขณะนั้นมีนามว่า " เจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงค์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 6 ในฐานะประเทศราชแห่งสยามตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4(Cr:www.ch3thailand.com)
ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่อังกฤษได้เข้ายึดครองพม่าทั้งตอนกลางและตอนใต้ของประเทศแล้ว และได้แผ่ขยายการลงทุนธุรกิจป่าไม้สักจากพม่ามายังล้านนา
ในปีพ.ศ 2409 นายแพทย์แดเนียล แม็กกิลวารี มิชชันนารีชาวอเมริกาได้เดินทางมาเผยแพร่ศาสนาที่ล้านนา ได้ช่วยรักษาโรคต่างๆให้แก่ประชาชน เช่น ไข้มาลาเรีย ไข้ทรพิษและโรคคอพอก จนเป็นที่ยกย่องนับถือไปทั่ว
นายแพทย์แดเนียล มีเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งชื่อ นายแพทย์มาเรียน ชิก ซึ่งมาช่วยเผยแพร่ศาสนาในเมืองเชียงใหม่อยู่ระยะหนึ่ง แต่ตอนมาผันตัวมาทำธุรกิจค้าไม้สักและทำโรงเลื่อย โดยได้เข้าหุ้นกับนายหลุยส์ เลียวโนเวนส์
หนานสีวิชัย บิดาของ ศรีโหม้ ซึ่งหันไปนับถือศาสนาศริสต์และได้ทำงานใกล้ชิดสนิทสนมกับหมอชิก ได้ติดตามหมอชิกไปช่วยทำธุรกิจด้วย
ต่อมาไม่นาน ภรรยาของหมอชิกมีปัญหาด้านสุขภาพ ต้องการเดินทางกลับอเมริกา โดยนำลูกสาว 2 คนกลับไปด้วยแต่ระหว่างทางไม่มีคนดูแล
หนามสีวิชัย จึงให้ลูกชายคือ " ศรีโหม้ " ร่วมเดินทางเพื่อคอยดูแลเด็กๆทั้งสอง
ด้วยวัย 21 ปี ศรีโหม้ในเวลานั้นไม่เคยเข้าโรงเรียนมาก่อน เพราะยังไม่มีโรงเรียนเริ่มเปิดสอน (โรงเรียนชายแห่งแรกของเชียงใหม่เริ่มมีในปีพ.ศ 2430 ชื่อโรงเรียนวังสิงห์คำ)
แต่ศรีโหม้สามารถอ่านเขียนภาษล้านนาได้ ส่วนภาษาอังกฤษนั้นก็ไม่เคยเรียนมาก่อน
🕵️♂️มีเรื่องที่น่าสงสัยว่า ศรีโหม้ได้ใช้คำว่า " สวัสดี"เป็นคนแรกในสยามหรือไม่ ในการทักทายพ่อแม่ที่หัวจดหมาย โดยจากจดหมาย 20 ฉบับ จากทั้งหมด 24 ฉบับได้ขึ้นต้นว่า " ...ข้าพเจ้าศรีโหม้ สวัสดีมาเถิงพ่อแม่ได้ทราบ......"(เขียนในปีพ.ศ.2432 )
เพราะแต่ก่อนเราเคยทราบกันมาว่า คำว่า " สวัสดี " นั้น " พระยาอุปกิตศิลปสาร " เป็นผู้เริ่มนำมาใช้ในปีพ.ศ.2476 ซึ่งต่อมารัฐบาลจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม มีมติเห็นชอบให้ใช้คำว่า " สวัสดี " ในโอกาสแรกที่พบกัน โดยออกประกาศในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2486
ก็ต้องแล้วแต่มุมมอง เพราะตอนที่ " ศรีโหม้"ใช้คำว่า สวัสดี นั้นเชียงใหม่ยังถือว่าเป็นเพียงประเทศราชของสยามเท่านั้น จึงยังไม่ถือว่าเป็นน้ำหนึ่งเดียวกัน
ในช่วงที่ไปถึงอเมริกาแรกๆนั้นศรีโหม้ ได้เล่าว่าไม่ได้กินข้าวสักมื้อ ได้กินแต่ขนมปังแต่ก็อร่อยเหมือนข้าวแท้ๆเหมือนกัน ตอนแรกไปอยู่บ้านเช่า วิลสันเฮาส์ พอได้ 1 เดือน แม่เลี้ยงก็ได้ซื้อบ้านหลังหนึ่งที่เมืองอกแลน(เดาว่า น่าจะเป็นเมืองโอ๊คแลนด์) ราคา 6,250 เหรียญ
มีการบรรยายว่าได้ไปชมอู่ต่อเรือรบ ที่เวียงซานฟรานซิสโก ในวันเสาร์ เดือนออกโทเบอ 26 ค่ำ ว่าไปกอย(ดู)เพื่อนเอากำปั่นรบที่แปลง(ทำ)ใหม่ลงน้ำ ..
บางช่วงก็ได้เล่าถึงการเล่นกีฬาต่างๆที่ไม่เคยเห็นหรือมีในเชียงใหม่ เช่นวิ่งกระโดดข้ามรั้ว โยนโบว์ลิ่ง เป็นต้น
พ.ศ 2433 ศรีโหม้ได้กลับจากอเมริกา ได้ทำงานเผยแพร่ศาสนาคริสต์ และเป็นศิษยาภิบาลคนแรกของโบสต์คริสจักรที่ 1 ของเชียงใหม่ และได้ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2481 รวมอายุ 70 ปี
ภาษาล้านนาพื้นเมืองที่ " ศรีโหม้ " ใช้เขียนจดหมายนั้น หลายคำปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว เนื้อหาในจดหมายทำให้ได้เกร็ดความรู้ถึงบ้านเมืองอเมริกาในสมัยนั้น
ด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของจดหมายของศรีโหม้ ทางคณะมิชชันนารีเชียงใหม่ จึงนำมาจัดพิมพ์เป็นตัวอักษรพื้นเมืองเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2439 โดยพิมพ์ที่...โรงพิมพ์ของคณะมิชชันนารีอเมริกา ภายในโรงเรียนชาย วัดสิงห์คำ(รร.ปรินซ์รอแยลวิทยาลัยในปัจจุบัน)
ให้ชื่อจดหมายชุดนี้ว่า " หนังสือศรีโหม้ฝากแต่เมืองนอกถึงพ่อและแม่ "
84 ปี ต่อมาในปีพ.ศ.2523 คุณบุญเสริม สาตราภัย หลานของศรีโหม้ ได้นำหนังสือมาเรียบเรียงและจัดพิมพ์ใหม่ ใช้ชื่อหนังสือว่า " ศรีโหม้ คนเชียงใหม่คนแรกที่ไปอเมริกา "และถูกเก็บไว้ที่รร.ปริส์รอแยลนั่นเอง
หนังสือเล่มนี้นับว่าเป็นหนังสือที่มีค่าและหายากเล่มหนึ่ง(เครดิตภาพ:www.story.pptvhd36.com)
🌷อย่างน้อยเรื่องราวของคุณศรีโหม้ ก็น่าจะเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยล้านนา ที่ครั้งหนึ่งบรรพบุรุษได้มีโอกาสเดินทางไกล แล้วเล่าประสบการณ์และจดบันทึกไว้ให้ลูกหลานๆได้ศึกษาหาความรู้ทางประวัติศาสตร์เพื่อต่อยอดต่อไป
🌷🌷ขอบคุณที่ติดตามอ่านค่ะ
และจะค้นคว้าเรื่องราวสาระและความรู้มาแบ่งปันต่อๆไปค่ะ
❤️😊ฝากกด like&shareและติดตามด้วยนะคะ🙏🏼
Dent-jasmine เรียบเรียง
Ref.(ขอขอบคุณข้อมูลด้วยค่ะ🙏🏼🙏🏼)
-
https://www.e-manage.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MTksMzE5
-https:story.pptvhd36.com/@yuvadee/5a1e50c702353
-
https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/738631
4 บันทึก
35
18
8
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ตำนาน,เรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์
4
35
18
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย