26 เม.ย. 2020 เวลา 02:00 • การศึกษา
กว่าจะเป็น Programmer ที่เก่งกาจ รอบรู้และเชี่ยวชาญ ย่อมผ่านปัญหา อุปสรรคต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาที่ใช้สั่งสมประสบการณ์ ความซับซ้อนของภาษานั้นๆ แต่ที่ต้องก้าวมข้ามให้ได้คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเจอกับอุปสรรคเหล่านั้น วันนี้เรามาดูกันว่า 3 ทักษะ ที่ช่วยให้ Programmer มือใหม่ Strong ขึ้น เพื่อให้เป็น Programmer มืออาชีพนั้น มีอะไรบ้าง
หากคุณเป็น Programmer มือใหม่ หรืออยู่ในช่วงกำลังเรียนรู้/ฝึกฝนการ Coding อยู่ วันหนึ่งคุณเขียน Code และคิดว่าได้ตรวจสอบทุกบรรทัดแล้ว แต่ปรากฏว่า เกิด Error ซึ่งคุณเองก็แก้ปัญหาไม่ได้ จนต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนของคุณ จากนั้นเพื่อนของคุณมอง Code แค่ 2 วินาที แล้วบอกว่า “นี่ไง คุณลืมใส่วงเล็บปิด มันมี ELSE อยู่ใน IF ด้วยนะ” แน่นอนว่า คุณเองได้เรียนรู้เรื่อง If-Else statements มาแล้ว มันเป็นเรื่องที่ Programmer ทุกคนควรรู้ ณ ตอนนั้นคุณอาจรู้สึกเป็นคนงี่เง่า แค่วงเล็บปิด ก็ยังลืมใส่ แล้วแบบนี้จะเป็น Programmer ได้ยังไงกัน การที่คุณลืมใส่วงเล็บปิด อาจทำให้รู้สึกว่าตัวเองแย่ แต่ที่จริงมันไม่ได้เกี่ยวกันเลย ต่อให้คุณเข้าใจ Logic และมี Solution ในการแก้ปัญหามากแค่ไหน คุณก็สามารถลืมใส่วงเล็บปิดได้ ซึ่งนี่คือ สิ่งที่สร้างปัญหาให้ Programmer มือใหม่ มันง่ายมากที่จะตำหนิตัวเองเมื่อทำพลาดในเรื่องที่ง่ายๆ และไม่ควรพลาด แต่เชื่อเถอะ Programmer ทุกคนล้วนผ่านเรื่องแบบนี้กันมาแล้วทั้งนั้น งั้นลองมาฝึกฝน 3 ทักษะเหล่านี้ดูสิ
1. ทักษะด้านความรู้
นี่คือสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน คุณจำเป็นต้องรู้และเข้าใจใน Concept ของสิ่งที่คุณกำลังเรียนรู้อยู่ แม้คุณจะรู้ว่า IF statement / Function หรือ Loop มันเป็นอย่างไร แต่ปัญหาคือ Programming เป็น ทักษะ ไม่ใช่แค่สิ่งที่ใช้เก็บความรู้ คุณคงรู้จักการว่ายน้ำท่าผีเสื้อใช่ไหม ต่อให้ไม่รู้ คุณก็ยังสามารถดูจากโปรแกรมการแข่งขันกีฬาเอาก็ได้ แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมดหรอก เพราะอยู่ดีๆ คุณคงไม่เดินไปสมัครเป็น Life Guard ตามสระว่ายน้ำทันทีหรอก จริงไหม? ซึ่งคุณมีมากกว่าแค่ความรู้และความเข้าใจ
2. ทักษะการแก้ปัญหา
แม้คุณจะรู้แล้วว่า IF statement คืออะไร แต่การที่คุณรู้ว่า เมื่อไหร่ที่จำเป็นต้องใช้มัน ถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่า หากคุณมีปัญหาในการหาว่า จะต้องทำอย่างไรต่อไป นั้นหมายถึง คุณกำลังมีปัญหาเรื่อง การประยุกต์ใช้งานแล้ว เพราะการประยุกต์ใช้งาน เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การที่คุณรู้ว่า มีเครื่องมือใดบ้างที่คุณสามารถนำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด วิธีเดียวที่ช่วยในเรื่องนี้คือ การฝึกฝน นั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณคุณต้องลองแก้หลายๆ ปัญหา เพื่อทดสอบ Concept เดียวกัน ลองพยายามหา Resource ที่จัดแบ่งแนวทางปัญหาตาม Concept (variables, conditionals เป็นต้น) ในภาษาที่คุณใช้ หลังจากแก้ปัญหาแรกได้(ซึ่งอาจเป็นปัญหาง่ายๆ) ก็จงฝึกต่อไป เพราะประเด็นคือ ไม่ได้ต้องการแค่พิสูจน์ว่าคุณรู้อะไรเกี่ยวกับ IF statement บ้าง แต่เป็นการเรียนรู้เพื่อที่จะจำแนกประเภทของปัญหา ที่สามารถใช้งาน IF statement ได้ต่างหาก ยิ่งใช้ Concept เดียวกันในการปัญหาต่างๆ ด้วยบริษัทที่แตกต่างกันมากเท่าไร คุณจะเข้าใจภาพกว้างของปัญหาและหาทางแก้ปัญหาได้ดีขึ้นเท่านั้น และเมื่อคุณลองใช้ Concept ใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา สมองของคุณก็จะพบส่วนประกอบของปัญหาที่สามารถแก้ไขมันได้ดีและง่ายขึ้น ดังนั้น คุณจะมีทักษะการนำไปประยุกต์ใช้ได้ดี ก็ต่อเมื่อคุณได้เจอกัยหลากหลายปัญหามาแล้ว
3. ทักษะด้านความทรงจำ
Programming ยังไม่เพียงพอที่จะทราบว่าต้องทำอะไรบ้าง แต่คุณต้องสามารถทำสิ่งนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ลองคิดตามว่า ถ้าคุณต้องการเช็คว่า ความยาวของ Password มันสั้นไป ถ้าสั้นไปให้แสดงข้อความ Error ออกมาด้วย เมื่อคุณเขียน Code แต่คุณหยุดแล้วคิดต่อว่า แล้วจะดึงตัวอักษรเหล่านั้นออกมาจาก Text box อย่างไร แล้วมีวงเล็บอยู่หลัง IF หรือไม่ ซึ่งคำถามเล็กน้อยเหล่านี้แก้ไขได้ง่ายมาก แต่มันก็รั้งคุณจากการแก้ปัญหาปัญหาที่ใหญ่กว่า ซึ่งทำให้คุณรู้สึกหงุดหงิดในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากสมองของคุณต้องจัดการเรื่องเล็กๆ เหล่านี้
ลองนำปัญหาที่คุณเคยแก้ไขได้แล้ว มาทำใหม่อีกครั้งสิ ณ ตอนนี้จะไม่มีตรรกะอะไรยากแล้ว เพราะคุณรู้แล้วว่าการแก้ปัญหาเป็นอย่างไร คุณเพียงแค่การฝึกสอนตาและนิ้วมือของคุณ และการสร้างให้เกิดความทรงจำ
การฝึกซ้อม จะช่วยทำให้คุณสามารถเขียน Code ออกมาได้อย่างรวดเร็วตามแนวคิดของคุณ ต้องการเปรียบเทียบความยาวของตัวอักษรใช่ไหม? หลัง IF มีวงเล็บเปิดวงเล็บปิด เครื่องหมายปีกกาเปิดปีกกาปิด เลื่อนเคอร์เซอร์กลับด้านในวงเล็บ แล้วเขียนเงื่อนไข จบ! ตอนนี้คุณสามารถนึกถึงเงื่อนไขที่ควรจะใช้ได้เลย แทนวิธีการเขียน IF statement แล้ว นอกจากนี้ยังช่วยให้สายตาของคุณหา Error ได้ไวขึ้นอีกด้วย การที่คุณคุ้นเคยกับ Code ที่ถูกต้อง พอคุณเห็นว่าเครื่องหมาย ; หายไป คุณมองปุ๊บก็จะรู้ทันที และเมื่อคุณมีทักษะมากขึ้นๆ มันก็จะย้ายขึ้นไปอยู่ในระดับจิตใต้สำนึก ซึ่งทำให้สมองของคุณเตรียมเนื้อที่ให้กลุ่มของ Logic ขณะที่นิ้วของคุณกำลังเขียน Code อยู่
ในเบื้องต้นคุณควรใส่สิ่งเหล่านี้ลงไปในความทรงจำก่อน เช่น brackets, semicolons, variable declarations จากนั้นตามด้วย function definitions, class definitions จากนั้นเป็นหน้าจอของ App ที่เชื่อมไปถึง Code ที่จะเขียน เป็นต้น
เมื่อคุณติดปัญหาการ Coding คุณก็เพียงแค่ฝึกฝนเพื่อให้ผ่านมันไปให้ได้ แต่สิ่งสำคัญคือคุณต้องรู้ว่าจะ Focus ไปที่การฝึกฝนเรื่องไหน ดังนั้น ลองดูจาก Guide ที่ให้ไว้ 3 ข้อ แล้วดูว่าปัญหาเรื่องใดที่กำลังรั้งคุณไว้ แล้วแก้ไขมันเพื่อที่คุณจะได้ก้าวหน้าไปอีกขั้น
โฆษณา