27 เม.ย. 2020 เวลา 03:36 • การศึกษา
เลือกประกันแบบไหน❓
ให้เหมาะกับช่วงวัย
หลายคนคงเคยมีคำถาม ว่าจะเลือกทำประกันแบบไหน? ให้เหมาะกับช่วงวัย
วันนี้พี่ตามีคำแนะนำ ถึงการเลือกแบบประกันให้เหมาะกับช่วงวัยของเรา ไปติดตามกันได้เลยค่ะ 🚙🚗
Cr.Canva
วันนี้เนื้อหาก็อาจจะยาวนิดหนึ่งนะคะ
อาจต้องมีเวลากันสักนิด เพื่อจะได้ทำความรู้จักประกันตามช่วงวัยไปพร้อมๆ กัน
ใครพร้อมแล้ว ตามมาเลยคร้า🐌🐌
ยาวนิดหนึ่งนะ แต่ทุกคนจะได้ประโยชน์ อย่างแน่นอนคร้าบผม...☕
ประกันชีวิต📜 สำหรับใครบางคน ✅อาจจะมองเป็นแค่เรื่องของคนที่มีครอบครัวแล้วเท่านั้น
✅หรือบางคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องประกันสุขภาพ
✅หรือ อาจเข้าใจว่าประกันคือ เครื่องมือ ที่ใช้ในการลดหย่อนภาษี เท่านั้น
✅หรือบางคนคิดว่าประกันต้องมีใครสักคน ตายจากไปเท่านั้น
แต่จะมีใครซักกี่คนที่รู้ว่าประกันชีวิตมีความหลากหลายมากมาย
หลายแบบมากๆ
วันนี้พี่ตาไม่ได้มาเพื่อพูดถึง เรื่องแบบประกันชีวิต แต่มาช่วยพวกเราทุกคนรู้ว่า เราจะเลือกแบบประกันยังไงให้ เหมาะสม...
แล้วเราจะเลือกประกันยังไงให้ตรงความต้องการ❓
คราวนี้เรามาลองดูแนวทางการเลือกทำประกันให้เหมาะสมกับ
แต่ละช่วงอายุกันเลยคะ⭐🌟🌠
พี่ตาจะขอแบ่งการทำประกันเพื่อง่ายแก่การเตรียมตัว และง่ายต่อการจำ
ออกเป็นแค่ 3 ช่วงวัย
1. วัยเด็ก
2. วัยทำงาน
และ 3. วัยเกษียณอายุ
มาที่ ช่วงวัยแรกกันเลยค่ะ
Cr.Canva
1. วัยเด็กถึงวัยรุ่น (0-20 ปี)
พี่ตาขอเรียกว่า วัยพึ่งพิงนะคะ
เพราะช่วงนี้ ยังต้องการการสนับสนุนจากครอบครัว จากพ่อแม่
- วัยแรกเกิด ถึงก่อนวัยเรียน
ช่วงนี้เด็กๆ ยังมีภูมิต้านทานต่ำ
เป็นช่วงที่มีโอกาส ที่จะเกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย และ บ่อย
คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง จึงควรพิจารณาทำประกันสุขภาพให้แก่ลูกๆ
เพื่อช่วยแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลเวลาที่ลูกเจ็บป่วยต้องนอนโรงพยาบาล
ขอยืนยันเลยนะว่า
ถ้าเจ็บป่วยมา ครั้งเดียวค่ารักษาแพงกว่าค่าเบี้ยประกันสุขภาพแน่นอน
cr.พญาไท อัตราค่าห้องที่นำมาแสดง เป็นอัตราเริ่มต้นของค่าห้องต่อคืนนะ
จะเห็นแล้วใช่ไหมค่ะว่าอัตราค่าห้องจะอยู่ ที่ 7,375 บาท นี่ยังไม่รวมค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ จนกระทั่งค่าแพทย์ ค่บริการ รพ. คืนหนึ่งเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า 20,000 ต่อคืนแน่ๆ ถ้าต้องนอน 2-3 วัน ก็ลองคำนวณค่าใช้ดูนะคะ ว่าประมาณเท่าไร
ส่วนถ้าโตขึ้นมาหน่อยสักขวบ 2 ขวบจนถึงช่วงวัยรุ่น ควรจะทำประกันอุบัติเหตุเพิ่มเติมด้วย เพราะเด็กเล็กจนถึงช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่ใช้ชีวิตแบบ ซุกซน จนถึงโลดโผน จนอาจถึงเจ็บหนัก
- วัยเรียน แบบประกันที่คุณพ่อคุณแม่ ควรจะต้องหยิบมาพิจารณา
ก็น่าจะเป็นเรื่องของการวางแผนการศึกษา ให้ลูกเพื่อที่จะได้รองรับแผนการศึกษาของลูก
ที่จริงแล้ว พี่ตาว่าน่าจะเริ่มตั้งแต่ ตอนที่ลูกเกิดมาแล้ว สำหรับเรื่องทุนการศึกษา และควรจะเป็นกรมธรรม์ คนละฉบับ กับประกันสุขภาพ
อันนี้โอกาสหน้า พี่ตาค่อยมาขยายความอีกครั้งแล้วกัน
2. ช่วงวัยทำงาน
แบ่งเป็น 3 ช่วงแล้วกัน นะคะ
ตอนเริ่มต้นวัยทำงาน
อายุ 21 - 30 ปี ยังโสด หรือเรียกวัยสร้างตัว พึ่งจบ เริ่มต้นทำหลายอย่าง
ช่วงเริ่มต้นของการทำงาน หรือ
ช่วงวัยทำงาน เป็นช่วงที่เพิ่งเริ่มมีรายได้
อยู่ในวัยสร้างเนื้อสร้างตัว
จึงควรให้ความสำคัญกับการออมเป็นหลัก และ อีกเรื่องที่สำคัญมาก
คือประกันสุขภาพ
และการเลือกทำประกัน จะทำให้เราได้สิทธิเพื่อลดหย่อนภาษี ช่วงวัยนี้จึงเหมาะกับการทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ หรือ ประกันสุขภาพ
แบบสะสมทรัพย์ (Endowment) เพื่อสร้างวินัยในการออม เพราะการออมเพื่อลดหย่อนภาษีต้องเป็นแบบประกันที่มีสัญญาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
ทำให้เรามีวินัย ในการออม และนอกจากนี้ก็เพื่อให้เราได้รับสิทธิ์ลดหย่อนทางภาษี
และเมื่อเราทำงานเก็บเงินไปได้สักพัก
เราควรพิจารณาการทำประกันชีวิตที่ได้ความคุ้มครองระยะยาวเพิ่มเติมด้วย เช่น แบบตลอดชีพ (Whole life)
เพื่อนำไปผูกไว้กับประกันสุขภาพ เพราะช่วงวัยนี้ค่าเบี้ยประกันชีวิตจะถูกกว่าช่วงวัยอื่น
(แต่ยังไงก็ไม่ถูกเท่าช่วงวัยเด็กนะ)
ทำให้เราได้ประกันชีวิตที่คุ้มค่า และคงจ่ายเบี้ยเท่าเดิม ไปตลอดอายุของสัญญา
**เฉพาะค่าเบี้ยสุขภาพเท่านั้นที่จะปรับเพิ่มตามช่วงอายุ แต่ไม่ได้มีการปรับทุกปี**
ข้อดี ของการที่เราเลือกทำประกันสุขภาพไปผูกไว้กับแบบประกันตลอดชีพ ที่ให้ความคุ้มครองนานๆ นี้
จะส่งผลให้เราได้ประกันสุขภาพที่ผูกพันไปจนถึงอายุ 80 ปี หรือ 85 ปี
ไม่ต้องมาคอยกังวลในวันที่ไม่มีสวัสดิการจากที่ทำงานมาช่วยเรื่องค่ารักษาพยาบาล
และไม่ต้องกังวลด้วยว่า ถ้าเราเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาจะถูกยกเลิกประกันสุขภาพในปีต่อไปหรือไม่
เพราะตราบใดที่สัญญาแบบตลอดชีพ หรือ ประกันหลักที่เราผูกไว้ ยังไม่หมดอายุสัญญา
เราก็จะได้รับการต่อประกันสุขภาพโดยอัตโนมัติตามไปด้วยทุกปีจนกว่าจะหมดอายุความคุ้มครองของประกันสุขภาพ ซึ่งประกันสุขภาพส่วนใหญ่จะคุ้มครองจนถึงอายุ 70 – 85 ปี แล้วแต่กรมธรรม์
เอาจริงแล้ว พี่ตาแนะนำให้ทำประกันสุขภาพก่อน เพราะกรมธรรม์ ที่เราควรมีก่อน คือ ประกันสุขภาพ
ตามประสบการณ์ของพี่ตาเอง
ยิ่งทำเร็ว เท่าไหร่ยิ่งดี อย่าลืมนะว่า ประกันสุขภาพ ยังมีระยะเวลารอคอย ที่พี่ตา เขียนมาตั้งแต่ตอนที่แล้วนะคะ ไปอ่านกันได้ค่ะ
มาต่อกับวัยสร้างครอบครัวกันนะคะ
ช่วงวัยสร้างครอบครัว หรือจะเรียกว่า วัยมั่นคง
อายุ 31 - 45 ปี
ช่วงนี้เป็นช่วงที่รับภาระหนักมาก คือ
ทั้งทำงาน สร้างตัว สร้างครอบครัว
การทำประกันสำหรับคนในช่วงวัยนี้ ควรทำประกันชีวิตแบบเน้นความคุ้มครองชีวิต (Whole life) เป็นหลักหรือ (Protection) เพื่อป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่หัวหน้าครอบครัวเกิดเสียชีวิตไปอย่างกระทันหัน
ไม่ว่าจะเป็น ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ หรือ ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา หรือประกันควบการลงทุน (Unit- Linked) ควรเลือกช่วงเวลาคุ้มครอง และจำนวนเงินความคุ้มครอง ให้เหมาะสม
สอดคล้องกับความต้องการของเรา และสำหรับใครที่ยังไม่ได้ทำประกันสุขภาพก็ควรทำเพิ่มได้แล้ว
โดยเฉพาะ คนที่ยังไม่ได้ทำในช่วงเริ่มทำงาน
ในการเลือกประกันสุขภาพควรเลือกผูกไว้กับแบบประกันตลอดชีพ ที่คุ้มครองเราไปจนถึงเสียชีวิต หรือ 80-90 ปี เพื่อให้ประกันสุขภาพมีผลต่อเนื่องคุ้มครองยาวนานตามไปด้วยนั่นเอง
นอกจากนั้น อาจจะพิจารณาทำประกันชีวิตควบการลงทุน
(Unit-Linked) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนการศึกษาของลูก เพื่อที่ให้มี
การการันตรีว่า
หากระหว่างที่กำลังอยู่ระหว่างส่งเสียค่าเล่าเรียนให้ลูก ถ้าตัวเราเกิดจากไปอย่างกะทันหัน ลูกก็จะได้มีเงินจากทุนประกันชีวิตไว้เป็นค่าเล่าเรียนจนจบการศึกษา
ที่พี่ตาแนะนำแบบประกันควบการลงทุน เพราะว่าเป็นแบบที่ให้ความคุ้มครองสูงถึง 100- 125 เท่าของเบี้ยที่ชำระ
แต่ถ้าอายุเลย 40 ปี ขึ้นไปอาจต้องดู เพราะค่าเบี้ยชีวิตจะสูง จนกินเงินที่ต้องนำไปลงทุน ยิ่งอายุมาก เบี้ยก็สูง
หรือใครที่มองว่าลงทุนคือลงทุนประกันคือ ประกัน ควรแยกจากกัน ก็แนะนำแบบตลอดชีพ เผื่อกรณีจากไปก่อนวัยอันควร
หรือ อาจเลือกแบบประกันชั่วระยะเวลาแทน ให้ความคุ้มครองสูง เบี้ยถูก แต่ข้อเสีย คือ ถ้าไม่เกิดเหตุ เงินค่าเบี้ยประกันทั้งหมดจะหายไป
ก็เลือกให้ตรงกับความต้องการของเรา และสภาพคล่องของเราเพื่อให้ประโยชน์ มากที่สุด กับตัวเราและครอบครัว ถ้างงๆ จะทักมาถามได้นะคะ (พี่ตายินดีให้คำปรึกษา)
มาต่อกันกับช่วงสุดท้ายวัยทำงานก่อนเกษียณ (วัยเพิ่มพูนอ๊ะเน้อ)
Cr.Canva
- วัยเตรียมตัวก่อนเกษียณ
หรือเรียกว่าวัยเพิ่มพูน
อายุประมาณ 46 - 60 ปี
ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ภาระเลี้ยงดูครอบครัวจะค่อยๆ ลดลง
เนื่องจากลูกเริ่มโตขึ้น ลูกเริ่มมีความสามารถในการหาเงินเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาเราอีกต่อไป และหลายคนก็มีเวลาสะสมเงินกันมาพอสมควรแล้ว
หลายคนค่าใช้จ่ายผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ก็หมดไปด้วย เรื่องสำคัญที่จะเข้ามาแทนจึงกลายเป็นเรื่อง
การเตรียมเงินเพื่อใช้ในวัยเกษียณ ช่วงอายุตอนต้นของช่วงเวลานี้ คือช่วง 46 ไม่เกิน 50 จึงเป็นช่วงอายุสำคัญมากเป็น ช่วงสุดท้ายใน
การเตรียมเงินเพื่อวัยเกษียณ
และถ้าหากใครเริ่มเตรียมเงินเกษียณหลังอายุ 50 ปี อาจจะเตรียมเงินไม่ทัน ประกันที่เหมาะสมกับช่วงวัยนี้จึงควรเป็นประกันชีวิตแบบบำนาญ เพื่อสร้างเงินบำนาญหลังเกษียณที่เป็นเงินการันตี หรือ เป็นการรับรองรายได้ ว่าคุณจะมีรายได้หลังเกษียณ ไปตลอด
แต่พี่ตาเห็นหลายคน มีรายได้ จากการเขียน blockdit ด้วยแหล่ะ หลายคนอาจไม่ต้องกังวล เพราะมีรายได้
แต่อย่าถามพี่ตา นะพี่ไม่รู้
ใครรู้แนะนำที ดาวสักดวงก็ยัง
ไม่เคยสอยมาได้ 555 สู้ต่อจ้า
ต่อจ้า เรื่องของเราดีกว่า พี่ตาชอบนอกเรื่อง
ที่สำคัญประกันแบบบำนาญยังได้รับสิทธิลดหย่อนภาษี สูงถึง 200,000 บาท
ไว้ใช้ส่วนหนึ่ง ควบคู่กับการออมเงินหรือ การนำเงินลงไปลงทุนในเครื่องมืออื่นๆ เช่น กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากบริษัท (PVD) LTF, SSF. เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีเงินไว้ใช้หลังเกษียณ
อย่างเพียงพอ
มาต่อกันกับเกษียณ
ช่วงหลังเกษียณ
อายุตั้งแต่ 61 ปี ขึ้นไป
ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต บางคนอาจจะเริ่มนึกถึงเงินก้อนสุดท้าย การทำพินัยกรรม
หรือการเตรียมทรัพย์สิน เตรียมเงินมรดกเพื่อส่งมอบให้ลูกหลาน หรือ อยากถ่ายโอนมรดกให้ลูกหลาน
ซึ่งก็สามารถใช้ประกันชีวิตเป็นเครื่องมือในการสร้างเงินมรดก
การันตีให้ลูกหลาน โดยการใช้ประกัน เพื่อจัดการมรดก
หรือ เพื่อลดภาระภาษีมรดก
สำหรับคนที่มีทรัพย์สินจำนวนมาก เกิน 100 ล้านบาท
ประกันชีวิตที่เหมาะสมในการสร้างเงินมรดก คือ ประกันชีวิตที่เน้นการคุ้มครองชีวิตแบบ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
แต่สำหรับใครที่อยากจะสร้างเงินมรดกให้ลูกหลาน แต่อาจจะมีสุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงปกติ หรือมีโรคประจำตัว ทำให้ไม่สามารถทำประกันชีวิตแบบทั่วไปได้
ก็อาจจะพิจารณาทำประกันชีวิตผู้สูงอายุทดแทนได้ เพราะไม่จำเป็นต้องตรวจหรือต้องตอบคำถามสุขภาพ ทำให้ผู้ที่มีโรคประจำตัวก็สามารถทำประกันชีวิตได้
กรณีเสียชีวิตจากโรค บริษัทประกันจะจ่ายทุนประกันให้ผู้รับผลประโยชน์ก็ต่อเมื่อกรมธรรม์นั้นทำมาเกิน 2 ปีแล้วเท่านั้น
แต่จะมีข้อเสีย คือ ได้ทุนประกันไม่มาก อาจไม่เพียงพอ
ดังนั้น อาจใช้ แบบประกัน hight saving ที่เน้นไปที่ผลตอบแทน เพิ่มทุนประกันให้ ประมาณ 10% แทน
แล้วเลือกรับเงินตอบแทน ทุกปี
และในวัยเกษียณ มีแบบประกันที่สามารถรักษาเงินต้น เอาไว้ และผู้เกษียณได้ดอกผล ใช้ทุกปี รักษาเงินต้น พร้อมส่งต่อ ให้ลูกหลาน
หูย💫 ใครอ่านถึงตรงนี้บ้างเนี้ย
พี่ตาขอปรบมือให้รัวๆ เลยคร้า
ขอส่งมอบ ดาว 5ดวง
⭐⭐⭐⭐⭐
จากใจคนเขียนเลยจ้า คุณผ่านบทเรียน เลือกประกันตามช่วงวัยแล้ว
และทั้งหมดก็คือคำแนะนำคร่าวๆ สำหรับการทำประกันชีวิตที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ อาจจะไม่จำเป็นต้อง
ทำแบบนี้เสมอไป ขึ้นอยู่กับ
ศักยภาพและความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ ของแต่ละคนด้วยนะคะ
ส่วนรายละเอียดแบบไหนลดหย่อนได้เท่าไร อะไรยังไง หรือ
การเปรียบเทียบแบบ โอกาสหน้าพี่ตา จะแวะมาเขียนอีกทีค่ะ
ต้องขอขอบคุณทุกคนที่ติดตาม
จนมาถึงตอนนี้ และใครอยากให้กำลังใจพี่ตา ที่ใช้เวลาเขียนนานมาก รวมอ่านซ้ำ เพราะกลัวผิด
สามารถทำได้โดยการ
#กดไลท์👍 กดเม้นท์
#กดแชร์ 🔀
ได้เลยค่ะ ขอบคุณมากๆ รักทุกคน
"สรรพสิ่งล้วนมีความงดงาม
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มองเห็น"
~แอนดี วอร์ฮอล~
💖💗💝💞💕
ใครสนใจจะไปส่องอัตราค่าห้องพญาไทไปดูได้เลยค่ะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา