27 เม.ย. 2020 เวลา 02:00 • ไลฟ์สไตล์
เรื่อง ขี้ คลี่ (คลาย) ...
🚻🚼🚾
ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต
ดูเหมือนว่าบทความของฉันจะวนเวียนอยู่กับสุขภาพผู้สูงอายุที่ฉันดูแลอยู่ วันนี้ก็เช่นกันค่ะ
ฉันอยากแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุจากประสบการณ์ตรง ที่หวังให้เป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่าน
🙂🙂🙂
วันนี้ฉันขอชวนคุยเรื่อง .... “ ขี้ ” 🚽🚽
ขอโทษที่ใช้คำไม่สุภาพค่ะ แต่คำนี้ ตรงที่สุด ประหนึ่งจะส่งกลิ่นออกมาจากจอเลยนะคะ
เรื่อง “ขี้” ที่ไม่ใช่เรื่อง ขี้ขี้ คือไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ค่ะ 🙂
✴✴✴
การขับถ่ายเป็นปัจจัยสำคัญต่อการมีสุขภาวะที่ดี และเป็นปัญหาของผู้คน ทุกเพศ ทุกช่วงวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุมาก ๆ อย่างในกรณีของฉันค่ะ
คุณคงเคยได้ยินสุภาษิตที่ว่า “ เรียนผูก ก็ต้องเรียนแก้ ” แต่ฉันจะไม่คุยภายใต้คำจำกัดความปกติที่ว่า เมื่อเราทำให้เกิดเรื่องใดขึ้นมา ก็ต้องหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย
วันนี้ฉันจะมาคุยในแง่ที่ว่า “เรียนผูก” คือเรียนรู้สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก และ “ เรียนแก้ ” คือเรียนรู้วิธีการแก้ไขอาการท้องผูก
🔒 + 🔑 = 🔐 》》 🔓
📌 ก่อนจะเข้าสู่รายละเอียด เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า อาการอย่างไร ที่จะบอกว่าเราเผชิญกับการท้องผูกเข้าแล้ว ลองสังเกตุตามนี้ค่ะ
1
1️⃣ ขับถ่ายอุจจาระน้อยกว่าสับดาห์ละ 3 ครั้งหรือไม่ บางคนสามารถขับถ่ายได้ทุกวัน การขับถ่ายเป็นวินัยอย่าง
หนึ่งที่ควรสร้างนะคะ ถ้าขับถ่ายน้อยกว่า 3ครั้งต่อสัปดาห์ ต้องเริ่มสังเกตุข้อต่อไปละค่ะ 👇
2️⃣ ลักษณะของอุจจาระเป็นอย่างไร เป็นแบบกล้วยไข่ กล้วยหอม ลูกหิน หรือ ลูกหยี ล้อเล่นนะคะ ไม่ควรนำมาเปรียบเทียบกับอาหารเลย ถ้ามีลักษณะเป็นก้อนแข็ง เป็นเม็ด ๆ วี่แววเริ่มไม่ดีค่ะ ดูต่อไปค่ะ 👇
3️⃣ ถ่ายอุจจาระออกยากหรือไม่ ขี้เหนียวหรือเปล่า (ไม่ใช่ตระหนี่ขี้เหนียวแบบน๊านค่ะ) ถ้าถ่ายอุจจาระออกยาก หรือต้องมีตัวช่วย เช่นต้องใช้นิ้วล้วง หรือต้องใช้ลมปราณมาก ต้องนวดท้องนาน นี่เริ่มชัดเจนแล้วค่ะว่าคุณเข้าก๊วน “สายผูก” แล้วมีอาการอะไรอีกล่ะ 👇
4️⃣ มีอาการเหมือนปวดอุจจาระแต่ถ่ายไม่ออก หรือถ่ายได้แต่รู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด ฉันชักสงสัยว่า สำนวน “สุดสุดไปเลย ” เริ่มมาจากสิ่งนี้มั๊ย คุณสงสัยเหมือนฉันมั๊ยคะ (นอกเรื่องได้อีก) 👇
5️⃣ มีอาการปวดเกร็งน่าท้อง ท้องอืด ปวดท้อง เป็นประจำ
☝️ ถ้าคุณมีอาการข้างต้นนานกว่า 3 เดือนคุณอาจเป็นสมาชิก สายผูก แบบเรื้อรังตลอดชีพได้ ต้องรีบจัดการกับปัญหาค่ะ
📌 📌 สาเหตุของปัญหาท้องผูก
มีอะไรได้บ้าง
⭕ เกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยาบางชนิด
ยาคือสิ่งที่เราบอกว่า มีคุณอนันต์ และมีโทษมหันต์ ผู้ที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำ เนื่องจากมีโรคประจำตัวจะพบปัญหานี้ค่อนข้างบ่อย ขอให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร อาจสามารถปรับเปลี่ยนยาตามความเหมาะสม เพื่อทุเลาผลกระทบร่วมกับการแก้ไขบัญหาด้วยวิธีอื่น
⭕ เกิดจากสภาวะของร่างกาย เช่น เป็นช่วงตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่อยู่ระหว่างรักษาพยาบาล หรือเป็นผู้สูงอายุ
⭕ เกิดจากความเจ็บป่วย เช่นมีปัญหาของระบบทางเดินอาหาร ลำไส้อุดตัน มีการอักเสบ การทำงานของกล้ามเนื้อของลำไส้ใหญ่หรือทวารหนักที่ผิดปกติ
⭕ พฤติกรรม ข้อนี้ดูเหมือนจะแก้ง่าย (หายยากที่สุด) นะคะ พฤติกรรมที่ว่าคืออะไรบ้าง เช่น
👉 การอั้นหรือกลั้นอุจจาระ ข้อนี้คนเมืองที่เผชิญปัญหารถติดมากๆ คงเข้าใจถึงอาการขนลุกซุ่ ได้ดีนะคะ
👉 การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย
👉 การดื่มน้ำไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
👉 ขาดการออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกายน้อยเกินไป
👉 ความเครียด โทษความเครียดกันอีกแล้ว เครียดเลยนะเนี่ยะ
📌📌📌 เมื่อเราทราบถึงสาเหตุของอาการท้องผูกแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนของการ “ เรียนแก้ ” กันค่ะ
การที่จะแก้ไขสิ่งใด ควรจะแก้ที่ต้นเหตุใช่มั๊ยคะ ถ้าเช่นนั้นเราย้อนกลับไปดูสาเหตุแล้วแก้กันไปทีละข้อเลยค่ะ
🔷️ การแก้ไขอาการท้องผูก 🔷️
ฉันขอแบ่งการแก้ไขตามสาเหตุออกเป็น 2 ส่วนค่ะ
🔹️ เป็นการแก้ไขตามอาการ
ถ้าอาการท้องผูกมาจากการใช้ยาบางประเภท อย่างที่กล่าวข้างต้น เราต้องปรึกษาผู้รู้คือแพทย์และเภสัชกรที่จะปรับเปลี่ยนยา ไม่ควรปรับเปลี่ยนยาด้วยตัวเอง หรือถ้าอาการท้องผูกที่เกิดจากสภาวะของร่างกาย ความเจ็บป่วย เราต้องแจ้งให้แพทย์ที่ทำการรักษาทราบซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ที่ให้คำแนะนำที่ดีที่สุด
🔹️เป็นการแก้ไขตามพฤติกรรม
▶️ เพิ่มการบริโภคผักผลไม้ให้ได้ประมาณวันละ 400 กรัม เน้นการบริโภคอาหารที่มีกากใยสูง เช่นพวกธัญพืช
ขอบคุณภาพ จาก สสส
▶️ ดื่มน้ำสะอาดให้ได้ 6-8 แก้ว
ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต
▶️ ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ
ขอบคุณภาพจากอินเตร์เน็ต
▶️ ทำจิตใจให้เบิกบานแจ่มใส
▶️ และที่สำคัญ ดอกจันสามดอกครึ่งคือ การปรับพฤติกรรมให้ขับถ่ายเป็นเวลาทุกวัน ✴✴✴
ขอบคุณภาพจาก says.com
✴✴✴
การขับถ่ายมีความสำคัญที่เราไม่ควรมองข้ามนะคะ เพราะจะลดความเสี่ยงจากความเจ็บไข้ได้ป่วย หรืออาการแทรกซ้อนซึ่งเกิดจากการท้องผูกและมีของเสียสะสมในร่างกาย
แต่ถ้าปัญหาหนักหนาเกินกว่าจะแก้ไข เราก็ต้องรับการรักษากันค่ะ❗
ขอบคุณภาพจาก thai cancer doctor blogspot
📌📌 การตรวจ 📌📌
มีหลายวิธี เช่น
✅ การตรวจทางทวารหนัก
เป็นวิธีที่แพทย์ผู้ตรวจจะสอดนิ้วผ่านช่องทวารหนัก คลำหาความผิดปกติหรือก้อนเนื้อ
✅ การตรวจเลือด
เป็นการตรวจการทำงานของไทรอยด์ฮอร์โมนว่ามีภาวะต่ำเกินไปหรือสูงเกินไปหรือไม่ เพื่อนำไปวิเคราะห์สาเหตุต่อไป
✅ การเอกซเรย์ช่องท้อง เครื่องเอกซเรย์จะถ่ายภาพบริเวณลำไส้ใหญ่ตอนปลาย เพื่อดูการเคลื่อนตัวของอุจจาระและความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก ซึ่งต้องสวนทวารของผู้ถูกตรวจด้วยแป้งแบเรียม หรือการกลืนแคปซุลทึบแสง
✅ การส่องกล้องตรวจ
วิธีนี้จะใช้การสอดกล้องผ่านรูทวารหนัก และสามารถดูการทำงานของสำไส้ใหญ่ได้ทั้งหมด
1
📌📌 การรักษา 📌📌
💊💊 รักษาโดยการใข้ยา
ยาที่ใช้รักษามีมากมายหลายขนาน นั่นเป็นการชี้ชัดว่า เรื่อง .. (ไม่) ขี้ ... สำคัญเป็นวาระแห่งชาติ
การใช้ยาจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการขับถ่าย โดยยาแต่ละตัวออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหารแตกต่างกันเช่น
🔸️ ยาระบายกลุ่มเส้นใย ยาจะช่วยเพิ่มปริมาณกาก ดูดน้ำได้ดี อุจจาระนิ่ม ถ่ายได้ง่ายขึ้น ต้องดื่มน้ำมาก ๆ จึงได้ผลดี ยาในกลุ่มนี้เช่น Psyllium, Calcium Polycarbophil, Methylcellulose Fiber
🔸️ ยาระบายกลุ่มกระตุ้น ยาจะช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ให้ทำงานดีขึ้น เช่น ยา Dulcolax, Bisacodyl, Sennosides เป็นต้น
🔸️ ยาระบายกลุ่มออสโมซีส ยาจะออกฤทธิ์ดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ ทำให้อุจจาระไม่แห้งแข็ง ถ่ายสะดวกขึ้น เช่นยา Magnisium Hydroxide, Lactulose, Magnesiu Citrate, Polyethylene Glycol
🔸️ยากลุ่มช่วยหล่อลื่นอุจจาระ เพิ่มความลื่นให้ลำไส้ใหญ่ อุจจาระเคลื่อนตังได้ง่ายขึ้น เช่น Mineral Oil
ยากลุ่มช่วยให้อุจจาระนิ่มตัว เช่น Docusate Sodium Docusate Calcium
🔸️กลุ่มยาเหน็บและยาสวนทวาร เช่น ยาเหน็บ Glycerin แท่ง หรือชุดน้ำยาสวนที่มีส่วนผสมของ Bisacodyl
 
🔸️ยากลุ่มจุลินทรีย์ Synbiotic ซึ่งเป็นการรักษาแบบทางเลือกที่อาจเห็นผลช้า จุลินทรีย์จะเข้าไปช่วยเสริมสร้างระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ร่างการมีระบบที่สมดุลมากขึ้น ลดอาการแปรปรวน ท้องผูกหรือท้องเสีย
นอกจากการใช้ยาแล้ว เรามีวิธีอื่นอีกค่ะ 👇
🔓รักษาโดยการฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หรือที่เรียกว่า Biofeedback Training
จะเป็นการฝึกควบคุมการทำงานและผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน โดยนักกายภาพบำบัดจะสอดอุปกรณ์เข้าไปทางทวารหนัก ผู้ป่วยจะต้องฝึกขมิบหรือคลายกล้ามเนื้อ
เครื่องมือที่ใช้นั้นจะสามารถบันทึกและประเมินการทำงานของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ ฟังดูแล้วชีวิตไม่ง่ายเลยนะคะ
มาถึงวิธีสุดท้ายค่ะ 👇
✂️ การผ่าตัด ✂️
วิธีนี้จะใช้กับผู้ที่มีอาการรุนแรงและไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่น อาการท้องผูกรุนแรงอาจเกิดจากลำไส้เกิดการอุดตัน ตีบแคบ หรือหย่อนออกมา โดยการผ่าตัดนั้นจะผ่าตัดลำไส้ใหญ่ในบางช่วงออกไป เป็นวิธีที่ฟังดูสยดสยองมากนะคะ 😬😬
ที่คุณอ่านมายืดยาวตั้งแต่ต้น ล้วนไม่สนุกเลยซักนิด ดังนั้นเรามาเริ่มที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียตั้งแต่วันนี้นะคะ 🙂
ต่อไปเราจะไม่กล่าวเพียงแค่
“การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ”
แต่เราจะต่อด้วยประโยคที่ว่า
📢📢 “โปรด ขับถ่าย ทุกวันเถิด ชีวิตดีเลิศแข็งแรง” 👍
🍀🍀🍀🍀🍀
ขอให้คุณทุกๆคน มีสุขภาพและพลานามัยที่ดี จิดใจเบิกบานแจ่มใสค่ะ
🙂🙂🙂🙂🙂
สวัสดีนะคะ
คนไทยตัวเล็กเล็ก
27/04/2020
อ้างอิง: www.poppad.com
โฆษณา