26 เม.ย. 2020 เวลา 16:21
ได้ยินเสียงอาซานแล้วทานข้าวซูโฮรต่อได้หรือไม่
คำถาม: ในขณะอะซานซุบห์เมืองไทยบ้านเรา แต่อาหารยังคงคาที่ปากและน้ำยังถืออยู่ที่มือนั้น จะกลืนอาหารและดื่มน้ำต่อไปให้หมดได้หรือไม่?
ตอบโดย อาจารย์ อารีฟีน แสงวิมาน :
ไม่ได้เพราะทำให้เสียศีลอด เนื่องจากการอะซานเมืองไทยบ้านเรานั้น หากอะซานขณะเข้าเวลาซุบห์แล้ว ก็จำเป็นต้องงดการกินการดื่ม หากอาหารอยู่ในปาก ก็จำเป็นต้องคายออกมา มิเช่นนั้น จะทำให้เสียศีลอด
อัลลอฮฺตะอาลา ทรงตรัสว่า
وَكُلُواْ وَاشْرَبُواْ حَتَّى يَتَبَيَّنَ لَكُمُ الْخَيْطُ الأَبْيَضُ مِنَ الْخَيْطِ الأَسْوَدِ مِنَ الْفَجْرِ ثُمَّ أَتِمُّواْ الصِّيَامَ إِلَى الَّليْلِ
“และท่านทั้งหลายจงกินและจงดื่ม จนกว่าเส้นด้ายสีขาว จากเส้นด้ายสีดำ ของแสงอรุณจะปรากฏแก่พวกท่าน จากนั้นให้พวกท่านจงถือศีลอดให้ครบถึงกลางคืนเถิด” [อัลบะกอเราะฮ์: 187]
คำ ว่าเส้นด้ายสีขาว คือแสงอรุณจริงของกลางวัน คำที่ ว่าเส้นด้ายสีดำ คือความมืดของเวลากลางคืน คำที่ว่าแสงอรุณ หมายถึงแสงอรุณที่ขอบฟ้าซึ่งเป็นสิ่งบ่งบกว่าสิ้นสุดเวลากลางคืนและเริ่ม เข้าสู่กลางวัน ดังนั้นเมื่อแสงอรุณจริงขึ้นแล้ว แสดงว่าเข้าเวลาช่วงกลางวันแล้ว เราจึงไม่ควรทำเบาความในเรื่องการถือศีลอดที่เป็นรุ่กุ่นใหญ่ของอัลอิสลาม
ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวว่า
ذَكَرْنَا أَنَّ مَنْ طَلَعَ الْفَجْرُ وَفِيْ فِيْهِ طَعَامٌ فَلْيَلْفِظْهُ وَيُتِمَّ صَوْمَهُ فَإِنِ ابْتَلَعَهُ بَعْدَ عِلْمِهِ بِالْفَجْرِ بَطَلَ صَوْمُهُ ، وَهَذَا لاَ خِلاَفَ فِيْهِ ، وَدَلِيْلُهُ حَدِيْثُ ابْنِ عُمَرَ وَعَائِشَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمْ أَنَّ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : ( إِنَّ بِلالا يُؤَذِّنُ بِلَيْلٍ ، فَكُلُوا وَاشْرَبُوا حَتَّى يُؤَذِّنَ ابْنُ أُمِّ مَكْتُومٍ) رَوَاهُ الْبُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ ، وَفِي الصَّحِيْحِ أَحَادِيْثُ بِمَعْنَاهُ
“เราได้กล่าวแล้วว่าแท้จริง ผู้ใดที่อยู่ในเวลาที่แสงอรุณจริงขึ้นแล้ว(คือเข้าเวลาละหมาดซุบห์แล้ว) โดยที่ในปากของเขายังมีอาหารอยู่ เขาก็จงคายอาหารออกมา และจงถือศีลอดให้สมบูรณ์ แต่หากเขากลืนอาหารหลังจากรู้ว่าแสงอรุณจริงได้ขึ้นแล้ว ถือว่าศีลอดของเขานั้นเสีย ดังกล่าวนี้ไม่มีการขัดแย้งกัน(ในระหว่างมัซฮับปราชญ์สะลัฟทั้งสี่) และหลักฐานดังกล่าวก็คือ หะดีษของท่านอิบนุอะมัรและท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ้ม ความว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
2
إِنَّ بِلَالًا يُؤَذِّنُ بِلَيْلٍ فَكُلُوا وَاشْرَبُوا حَتَّى يُؤَذِّنَ ابْنُ أُمِّ مَكْتُومٍ
“แท้จริงบิล้าลได้ทำการอะซานในช่วงกลางคืน(ก่อนเข้าเวลาซุบห์) ดังนั้นพวกท่านจงกินและจงดื่มต่อไปเถิดจนกระทั่งอิบนุอุมมิมักตูมได้อะซาน(ขณะเข้าเวลาซุบห์แล้วก็จงหยุดกินหยุดดื่ม)” รายงานโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม และยังมีบรรดาหะดีษศอฮิห์ที่ระบุในความหมายเดียวกันนี้” อันนะวาวีย์, มัจญมูอฺ, เล่ม 6, หน้า 333.
ท่านอิบนุอุมัร จากท่านอุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ เขากล่าวว่า
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ إِنَّ بِلَالًا يُؤَذِّنُ بِلَيْلٍ فَكُلُوا وَاشْرَبُوا حَتَّى يُنَادِيَ ابْنُ أُمِّ مَكْتُومٍ ثُمَّ قَالَ وَكَانَ رَجُلًا أَعْمَى لَا يُنَادِي حَتَّى يُقَالَ لَهُ أَصْبَحْتَ أَصْبَحْتَ
“แท้จริงท่าน ร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า แท้จริงบิล้าลได้ทำการอะซานในช่วงกลางคืนอยู่ ดังนั้นพวกท่านทั้งหลายจงกินและจงดื่มเถิด จนกระทั่งอิบนุอุมมุมักตูมได้ทำการอะซาน หลังจากท่านได้กล่าวว่า อิบนุอุมมุมักตูมเป็นชายตาบอด ซึ่งจะทำการอะซานจนกว่าถูกบอกให้แก่เขาว่า ท่านอยู่ในเวลาใกล้ซุบฮ์แล้ว ท่านอยู่ในเวลาใกล้ซุบฮ์แล้ว” รายงานโดยบุคอรีย์ (582)
ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
الْفَجْرُ فَجْرَانِ فَأَمَّا الأَوَّلُ فَإِنَّهُ لاَ يُحَرِّمُ الطَّعَامَ وَلاَ يُحِلُّ الصَّلاَةِ ، وَأَمَّا الثَّانِى فَإِنَّهُ يُحَرِّمُ الطَّعَامَ وَيُحِلُّ الصَّلاَةَ
“แสงอรุณนั้น มี 2 ประเภท คือหนึ่งแสงอรุณที่ไม่ห้ามรับประทานอาหารแต่ไม่อนุญาตให้ทำละหมาดซุบห์(คือการอะซานครั้งแรกของบิล้าล) และสองแสงอรุณที่ห้ามรับประทานอาหารแต่อนุญาตให้ละหมาดซุบห์ได้(คือการอะซานของอิบนุอุมมิมักตูม)” รายงานโดยอัลบัยฮะกีย์, สุนันอัลบัยฮะกีย์, เล่ม 1, หน้าที่ 457.
ในสมัยของท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลั้ลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนั้น มีการอะซานยามรุ่งสางสองครั้ง คืออะซานของบิล้าลก่อนเข้าเวลาซุบห์เพื่อปลุกผู้คนทั้งหลายให้เตรียมตัวละหมาด และอะซานของท่านอิบนุอุมมิมักตูมเมื่อเข้าเวลาซุบห์แล้ว ดังนั้นในขณะที่บิล้าลได้ทำการอะซาน ท่านนะบีย์ใช้ให้กินและดื่มได้ แต่เมื่ออิบนุอุมมิมักตูมอะซาน ท่านนะบีย์ห้ามกินและดื่มสำหรับผู้ที่ต้องการถือศีลอด
ฉะนั้นการอะซานเมืองไทยบ้านเรา จะอะซานครั้งเดียวขณะที่เข้าเวลาซุบห์แล้ว จึงห้ามกินและดื่มตามหลักการของซุนนะฮ์นะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม
ส่วนฮะดิษจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ ฮุร็อยเราะฮ์ ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
إِذَا سَمِعَ أَحَدُكُمْ النِّدَاءَ وَالْإِنَاءُ عَلَى يَدِهِ فَلَا يَضَعْهُ حَتَّى يَقْضِيَ حَاجَتَهُ مِنْهُ
“เมื่อคนใดจากพวกท่านได้ยินเสียงอะซาน โดยภาชนะอยู่บนมือเขา ดังนั้นก็อย่าวางมันจนกว่าจะรับประทานให้เสร็จสิ้นจากมัน” มุสนัดอิมามอะห์มัด (10220) , สุนันอะบีดาวูด (2003)
***[อีหม่ามอิบนุร๊อสลาน กล่าวว่า : เป้าหมายจากคำพูดในฮาดิษที่บอกว่า "เมื่อคนใดจากพวกท่านได้ยินเสียงอะซาน โดยภาชนะอยู่บนมือเขา" คือเสียงอาซานครั้งเเรกของท่านบิล้าล, และอิบนุร๊อสลานได้กล่าวต่อไปว่า : ด้วยสาเหตุที่ฮาดิษบทนี้บอกว่าสามารถกินได้ในขณะที่อาซาน (โดยไม่ได้บอกว่าอาซานครั้งไหน) อีหม่ามอบูดาวุดจึงกล่าวฮาดิษบทนี้ ที่อนุญาติให้กินในขณะที่อาซาน ไว้หลังจากฮาดิษบทก่อนหน้า4ฮาดิษ ที่กล่าวอย่างชัดเจนว่าอนุญาติให้รับประทานต่อไปในขณะที่ท่านบิล้าลกำลังอาซาน เพื่อบ่งชี้ว่า อาซานในฮาดิษบทนี้ คือการอาซานของท่านบิล้าล,
หนังสือชาเราะห์ สุนันอบูดาวุด ลิ่อิบนิร๊อสลาน เล่ม10 หน้าที่341-342 (เพิ่มโดยแอดมิน)]
และหะดีษบทนี้ ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวว่า หมายถึงเสียงอะซานซุบห์ครั้งแรกของบิล้าล ไม่ใช่อะซานครั้งที่สองที่เข้าเวลาซุบห์แล้ว
ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวว่า
وَهَذَا إِنْ صَحَّ مَحْمُوْلٌ عِنْدَ عَوَّامِ أَهْلِ الْعِلْمِ عَلَى أَنَّهُ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَلِمَ أَنَّهُ يُنَادِي قَبْلَ طُلُوْعِ الْفَجْرِ بِحَيْثُ يَقَعُ شُرْبُهُ قُبَيْلَ طُلُوْعِ الْفَجْرِ .
“หะดีษนี้ หากว่าศ่อฮิห์ ก็ถูกตีความตามทัศนะของนักปราชญ์ทั่วไปว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม รู้ว่า การอะซานได้เกิดขึ้นก่อนเสียงอรุณจริงขึ้น โดยที่เขาการดื่มนั้นเกิดขึ้นได้อีกก่อนเสียงอรุณจริงขึ้นเล็กน้อย” อันนะวาวีย์, มัจญมูอฺ, เล่ม 6, หน้า 333.
1
และท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวเช่นกันว่า
وَيَكُوْنُ قَوْلُ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ "إِذَا سَمِعَ أَحَدُكُمُ النِّدَاءَ وَالاِنَاءُ عَلَى يَدِهِ" خَبَراً عَنِ النِّدَاءِ الاَوَّلِ لِيَكُوْنَ مُوَافِقاً لِحَدِيْثِ ابْنِ عُمَرَ وَعَائِشَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا قال وَعَلَي هَذاَ تَتَّفِقُ الاَخْبَارُ وَبِاللهِ التَّوْفِيْقُ وَاللهُ أَعْلَمُ
 
“คำกล่าวของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า “เมื่อคนใดจากพวกท่านได้ยินเสียงอะซาน โดยภาชนะอยู่บนมือเขา ดังนั้นก็อย่าวางมันจนกว่าจะรับประทานให้เสร็จสิ้นจากมัน” นั้น เป็นหะดีษที่บอกถึงการอะซานครั้งแรก(ของท่านบิล้าลที่ยังเข้าไม่เวลาละหมาดซุบห์) เพื่อที่จะประสานสอดคล้องกันกับหะดีษของท่านอิบนุอุมัรและท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา และท่านอัลบัยฮะกีย์กล่าวว่า ตามหลักการดังกล่าวนี้ บรรดาหะดีษต่างๆ ก็จะมีความสอดคล้องกัน อัลลอฮฺเท่านั้นผู้ทรงชี้นำและอัลลอฮฺทรงรู้ยิ่ง”อันนะวาวีย์, มัจญมูอฺ, เล่ม 6, หน้า 333.
 
ท่านอิหม่ามอิบนุมุฟลิห์ ได้กล่าวว่า
وَقَالَ ابْنُ عُمَرَ : إنَّ ابْنَ أُمِّ مَكْتُومٍ كَانَ لَا يُؤَذِّنُ حَتَّى يُقَالَ لَهُ : أَصْبَحْت أَصْبَحْت. مُتَّفَقٌ عَلَيْهِ ، وَمَعْنَاهُ قَرُبَ الصُّبْحُ وَعَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ مَرْفُوعًا : ( إذَا سَمِعَ أَحَدُكُمْ النِّدَاءَ وَالْإِنَاءُ عَلَى يَدِهِ فَلَا يَضَعْهُ حَتَّى يَقْضِيَ حَاجَتَهُ مِنْهُ ) رَوَاهُ أَبُو دَاوُد ، فَإِنْ صَحَّ فَمَعْنَاهُ أَنَّهُ لَمْ يَتَحَقَّقْ طُلُوعُ الْفَجْرِ
“ท่านอิบนุอุมัร ได้กล่าวว่า แท้จริงอิบนุอุมมิมักตูมจะไม่ทำการอะซานจนกว่าจะถูกกล่าวแก่เขาว่า “ท่านเข้าเวลาซุบห์แล้ว ท่านเข้าเวลาซุบห์แล้ว” หมายถึง ใกล้เวลาซุบห์แล้ว และรายงานจากท่านอะบูฮุร็อยเราะฮ์ที่ว่า “เมื่อคนใดจากพวกท่านได้ยินเสียงอะซาน โดยภาชนะอยู่บนมือเขา ดังนั้นก็อย่าวางมันจนกว่าจะรับประทานให้เสร็จสิ้นจากมัน” รายงานโดยอะบูดาวูดนั้น หากหะดีษศ่อฮิห์ ก็หมายถึงว่า ยังไม่มั่นใจแน่นอนว่าแสงอรุณจริงได้ขึ้นแล้ว” อิบนุมุฟลิห์, อัลฟูรูอฺ, หน้า 638.
ท่านอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
إِذَا شَكَّ الرَّجُلاَنِ فِي الْفَجْرِ فَلْيَأْكُلاَ حَتَّى يَسْتَيْقِنَا
“เมื่อชายสองคนได้สงสัยในเรื่องการแสงอรุณ(ว่าขึ้นจริงแล้วหรือไม่?) เขาทั้งสองก็จงรับประทานจนกระทั่งทั้งสองมีความมั่นใจ(ว่าแสงอรุณจริงได้ขึ้นแล้ว)” อัลมุตตะกีย์ อัลฮินดีย์, กันซุลอุมมาล, เล่ม 2, หน้า 287.
ท่านอิบนุอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า
أَحَلَّ اللهُ لَكَ الشَّرَابَ مَا شَكَكْتَ حَتَّى لاَ تَشُكَّ
“อัลลอฮฺฮฺฮฺทรงอนุมัติเครื่องดื่มแก่ท่านได้ตราบใดที่ท่านยังคงสงสัย(ว่าแสงอรุณจริงขึ้นแล้วหรือยัง?)จนกระทั่งท่านไม่สงสัยแล้ว(ก็ห้ามดื่ม)” อับดุลรร็อซซาก, อัลมุศ็อนนัฟ, เล่ม 4, หน้า 172.
ท่านมักหูล ได้รายงานว่า
رَأَيْتُ ابْنَ عُمَرَ أَخَذَ دَلْواً مِنْ زَمْزَمٍ وَقَالَ لِرَجُلَيْنِ : أَطَلَعَ الْفَجْرُ ؟ قَالَ أَحَدُهُمَا : قَدْ طَلَعَ ، وَقَالَ الآخَرُ : لاَ ; فَشَرِبَ ابْنُ عُمَرَ
“ฉันได้เห็นท่านอิบนุอุมัร ได้ตักน้ำซัมซัมมาถังหนึ่งและกล่าวถามชายสองคนว่า แสงอรุณขึ้นแล้วหรือไม่? ชายคนหนึ่งตอบว่า แสงอรุณขึ้นแล้ว และชายอีกคนกล่าวว่า ยังไม่ขึ้น ดังนั้นท่านอิบนุอุมัร จึงทำการดื่ม” อิบนุหัซมิน, อัลมุหัลลีย์, เล่ม 4, หน้า 367.
สำหรับสายรายงานของอัลหะซัยน์ บิน วากิด จาก อะบูฆอลิบ จาก อะบูอุมามะฮ์ ได้กล่าวว่า
أُقِيمَتِ الصَّلاةُ وَالإِنَاءُ فِي يَدِ عُمَرَ ، قَالَ : أَشْرَبُهَا يَا رَسُولَ اللَّهِ ؟ قَالَ : نَعَمْ ، فَشَرِبَهَا
“เมื่ออะซานได้เกิดขึ้นโดยภายชนะยังอยู่ในมือของท่านอุมัร และท่านอุมัรกล่าวว่า ฉันจะดื่มมันได้หรือไม่ โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ท่านตอบว่า ได้ซิ แล้วท่านอุมัรก็ดื่มมัน” รายงานโดยอิบนุญะรีรอัลฏ่อบะรีย์, ตัฟซีรอัฏ่อบะรีย์, เล่ม 2, หน้า 175.
ในสายรายงานดังกล่าว มี อัลหุซัยน์ บิน วากิด อัลมัรวะซีย์ ซึ่ง ท่านอะห์ได้ตำหนิบางหะดีษของเขาและท่านอะห์มัดก็สั่นศีรษะเสมือนกับว่าไม่พอใจ, ท่านอัดดาร่อกุฏนีย์และท่านอะบูยะอฺลากล่าวว่า เขานั้นตัดลีส(อำพรางผู้รายงาน)” ดู อัซซะฮะบีย์, อัลมุฆนีย์ฟิฎฎุอะฟาอฺ, เล่ม 1, หน้า 176, อิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์, ตะรีฟ อะฮ์ลิดดักดีส, หน้า 20, อัซซะฮะบีย์, มีซานุลอิอฺตะดาล, เล่ม 1, หน้า 549.
และสายรายงานดังกล่าว ยังมี อะบูฆอลิบ อัลบัศรีย์ ซึ่งท่านอิบนุหิบบานกล่าวว่า เขานั้นไม่สามารถนำมาอ้างเป็นหลักฐานได้นอกจากสิ่งที่สอดคล้องกับบรรดาผู้เชื่อถือได้, ท่านอันนิซาอีย์กล่าวว่า เขานั้นฏ่ออีฟ, ดู อิบนุอัลเญาซีย์, อัฏฏุอะฟาอฺวัลมัตรูกีน, เล่ม 1, หน้า 198, อันนะซาอีย์, อัฏฏุอะฟาอฺวัลมุตรูกีน, เล่ม 1, หน้า 255, อิบนุอะดีย์, อัลกามิล, เล่ม 2, หน้า 455, อัซซะฮะบีย์, อัลมุฆนีย์ ฟีฎฎุอะฟาอฺ, เล่ม 1, หน้า 155.
แต่หากหะดีษบทนี้หะซัน ก็ย่อมไปขัดกับอัลกุรอ่านและหะดีษที่ศ่อฮิห์และชัดเจนยิ่งกว่าในการห้ามรับประทานอาหารเมื่อเข้าเวลาซุบห์หรือแสงอรุณจริงได้ขึ้นแล้ว หรือหมายถึงท่านร่อซูลุลลอฮ์รู้ว่าแสงอรุณจริงยังไม่ได้ขึ้น หรือยังมีความสงสัยว่าแสงอรุณจริงขึ้นแล้วหรือไม่? จึงอนุญาตให้ดื่มได้
ดังนั้นเรื่องถือศีลอดเป็นเรื่องใหญ่ เป็นอิบาดะฮ์ที่มีความสำคัญมาก เราจึงต้องมีความพิถีพิถันและระมัดระวังสิ่งที่จะทำให้เสียศีลอดเพื่ออัลลอฮ์ จะตอบรับการถือศีลอดของเรานั้นเอง
วัลลอฮุอะลัม
ฟัตวาโดยดารุ้ลอิฟตาอ์ประเทศอียิป ฟัตวาเลขที่ 277522 http://dar-alifta.org/f.aspx?ID=277522
ฟัตวาโดยดารุ้ลอิฟตาอ์ประเทศจอแดน ฟัตวาเลขที่ 2927
… แต่หากบุคคลใดจะบอกว่า : อนุญาตให้รับประทานในขณะที่มุอัซซินกำลังอาซานซุบห์ เพราะการอาซานในสมัยนี้พิจรณาตามปฎิทิน และปฎิทินไม่ใช่สิ่งบ่งชี้อย่าง100% ว่าเข้าเวลาซุบห์แล้ว จึงยังสามารถกินได้ !!!
เราขอตอบว่า : การค่อนข้างแน่ใจว่าเข้าเวลาซุบห์แล้ว โดยใช้หลักฐานพิจรณาการคำนวนทางวิชาดาราศาสตร์ ตราบที่ยังไม่มีสิ่งที่ค่อนข้างเเน่ใจกว่า หรือสิ่งที่มั่นใจมั่นใจมายืนยันว่าการคำนวนดังกล่าวผิดพลาด เช่น บุคคลที่เขามีความรู้ในการดูเวลาซุบฮี่จากแสงของดวงอาทิตย์ในวันนั้นๆ เขาดูและเขามั่นใจว่ายังไม่เข้าเวลา ในสิทธิส่วนตัวของเขา เขาสามารถยึดสิ่งที่เขามั่นใจได้ ส่วนคนทั่วๆไปที่ไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ หน้าที่ของเขา มีเพียงเเค่การตามคนมีความรู้ที่ได้คำนวนเวลาไว้ให้กับเขาเเล้ว
และท่านจะสามารถเห็นบุคคลที่พูดคำพูดดังกล่าว ส่วนมากของพวกเขาแล้ว พวกเขาจะใช้อ้างเป็นหลักฐานตอนเริ่มถือศิลอดเท่านั้น ว่าอนุญาตให้กินต่อในขณะที่อาซานซุบห์แล้ว แต่พวกเขากลับรีบละศิลอดเลย ในขณะที่อาซานมักริบ ทั้งๆที่การอาซานไม่ใช่สิ่งที่บ่งชี้อย่าง100%ว่าเข้าเวลามักริบแล้วเช่นกันตามทัศนะของพวกเขา
والله تعالى أعلى وأعلم
#อิสลามตามอุลามาอฺแบบฉบับนบีﷺ
โฆษณา