27 เม.ย. 2020 เวลา 05:13 • สุขภาพ
มะม่วงกับยาวาร์ฟาริน
ว่าด้วยเรื่องฤดูมะม่วงออกอาละวาดช่วงนี้ ส่งผลให้การบริโภคมะม่วงเพิ่มขึ้นมากๆ ยิ่งบ้านไหนมีต้นมะม่วง นี่แทบจะหล่นลงมาใส่จานให้กินกันเลยทีเดียว ด้วยรสชาด หวานหอม อร่อย จนหยุดไม่อยู่นั้น แต่ส่งผลกับคนไข้บางรายที่ต้องใช้ยาตลอดชีวิตอย่างคิดไม่ถึง !!
นั่นคือผู้ป่วยใช้ยาวาร์ฟาริน เนื่องจากยานี้ มีฤทธิ์ต้านการทำงานของวิตามินเค เพื่อสามารถลดโอกาสการแข็งตัวของเลือด การเกิดลิ่มเลือด ที่จะส่งผลให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน ที่อวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะหลอดเลือดสมอง โดยจำเป็นต้องใช้ในขนาดยาที่เหมาะสม และติดตามระดับยาหรือค่าการแข็งตัวของเลือด INR เพื่อให้มีประสิทธิภาพที่สุดและป้องกันการเกิดอาการข้างเคียงของยา
แต่เนื่องจากยาวาร์ฟารินใน สามารถเกิดอันตรกิริยากับยา อาหารเสริม สมุนไพรและอาหาร ได้ง่าย ซึ่งอาจส่งผลให้ระดับยาในเลือดมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น ยาแก้ปวด กลุ่ม NSAIDs ได้แก่ ไอบูโฟรเฟน ไดโคลฟีแนค เป็นต้น ตลอดจนยาปฏิชีวะ หลายๆตัว เช่น ไดคลอคซ่าซินลิน เมโทรไนดาโซล ที่สำคัญคือ อาหาร
#ผู้ป่วยจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงปริมาณการบริโภคผักใบเขียว ด้วย
สำหรับกรณีมะม่วงนั้น เคยมีรายงานมาว่า การบริโภคมะม่วงวันละ 1-6 ผล ติดกัน 2-3วัน มีผลทำให้ค่าINR หรือค่าการแข็งตัวของเลือด เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจาก มะม่วงนั้น อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน หรือกลุ่มวิตามินเอ ซึ่งเสริมฤทธิ์ของยาวาร์ฟารินได้ค่ะ
ดังนั้น หากผู้ป่วยใช้ยาวาร์ฟาริน ไม่ควรบริโภคมะม่วงปริมาณมากๆ เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้ยาวาร์ฟารินนะคะ ❤
โฆษณา