27 เม.ย. 2020 เวลา 05:25 • ความคิดเห็น
จากหมวกขุนนางจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง สู่ "หมวก1เมตร"เครื่องมือป้องกันCOVID-19ของเด็กประถมจีน และเรื่องราวของ "ท่านเปา" ขุนนางจีนที่ใส่หมวกลักษณะนี้ที่คนไทยคุ้นเคยที่สุด
โรงเรียนประถมในเมืองหังโจว มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน ร่วมมือกับผู้ปกครองของนักเรียนประถมต้นในการสร้างสรรค์ "หมวก 1เมตร" ให้กับเด็กนักเรียนได้ใส่มาในวันเปิดเทอมวันแรก หลังจากประสบวิกฤติ COVID-19 โดยจุดประสงค์ของหมวกแบบนี้ คือ ต้องการให้เด็กทุกคนลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ ในรูปแบบของ Social Distancing
3
ภาพจาก Weibo:新快报
โดยหมวกลักษณะนี้ ทำให้หวนคิดถึงหมวกของขุนนางจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง ที่เรียกว่า 长翅帽 (ฉางชื่อเม่า) ป็นหมวกที่มีปีกยาวเรียวสองข้าง โดยแต่ละข้างอาจยาวถึงข้างละ1เมตร โดยผู้ที่ริเริ่มหมวกลักษณะนี้ คือ จักรพรรดิซ่งไท่จู่ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ซ่ง ซึ่งจุดประสงค์คือ ป้องกันขุนนางกระซิบกระซาบกัน เรียกได้ว่ามีการทำ Social distancingระหว่างขุนนางตั้งแต่สมัยจีนโบราณทีเดียว
1
ภาพวาดจักพรรดิซ่งไท่จู่ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง /ภาพจาก www.baike.baidu.com
ขุนนางจีนที่สวมหมวกลักษณะนี้ ที่เราเห็นบ่อยสุดและจำได้มากสุดคงหนีไม่พ้น "ท่านเปาบุ้นจิ้น" ตัวเอกทางละครทีวีที่เราดูกันมาตั้งแต่เด็ก และรู้ไหมครับว่า "ท่านเปา" มีตัวตนจริงนะ
ภาพนักแสดงงิ้ว แสดงเป็นเปาบุ้นจิ้น / ภาพจาก www.baike.baidu.com
สมัยที่อ้ายจงยังใช้ชีวิตในเมืองจีน ได้มีโอกาสไปเที่ยวเมืองไคเฟิง (开封) มณฑลเหอหนาน (河南) อ้ายจงจึงไม่พลาดที่ไปเที่ยวศาลไคฟง ทำให้จินตนาการของเด็กชายอ้ายจงในวัยเด็กต้องสลาย เมื่อพบว่า จั่นเจา ไม่มีจริง และท่านเปา แท้จริงแล้วตามที่มีการบันทึกในประวัติศาตร์จีนระบุว่า ไม่ได้มีบันทึกว่าท่านเปาหน้าดำแต่อย่างใด แต่ที่มีการเสริมแต่งให้ภาพของท่านเปาเป็นขุนนางตงฉิน ที่หน้าดำมีจันทร์เสี้ยวกลางหน้าผาก เพื่อให้เห็นถึงความน่าเกรงขามและอภินิหารของท่านเปาที่เป็นดั่งเทพแห่งความยุติธรรม เนื่องจากตัดสินคดีความ ดูแลทุกข์สุขของประชาชนด้วยความยุติธรรม
เปาบุ้นจิ้น มีชื่อจีนกลางว่า เปาเจิ่ง 包拯 ส่วนเปาบุ้นจิ้น หรือเปาจิ้น เป็นสำเนียงฮกเกี้ยน โดยมีชื่อปรากฏในประวัติศาสตร์ของจีน ในฐานะเจ้าเมืองไคเฟิง หรือไคฟงที่พวกเรารู้จักกันดี
อ้ายจงเล่าเรื่องจาก Weibo:新快报
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน
โฆษณา