Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ยา Café by เภโจม
•
ติดตาม
27 เม.ย. 2020 เวลา 11:33 • สุขภาพ
เด็กที่ “แพ้นมวัว 🐮” กินนมอะไรแทนได้บ้างนะ❓
วันนี้เภโจม จะขอพูดเรื่อง “โรคแพ้โปรตีนนมวัว (Cow milk Protein Allergy)” 🐄 ซึ่งพบได้มากในเด็ก จะมีแนวทางการดูแลอย่างไร และสามารถทานนมอะไรแทนได้บ้างมาดูกันเลย
👉🏼ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงโรคแพ้โปรตีนนมวัวก่อนนะครับ โดยอาการเเสดงที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย มักเกิดอาการเเพ้ภายใน 1-3 ชั่วโมงหรือภายใน 3 วันหลังจากได้รับนมวัว พบมากในช่วงขวบปีเเรก จนถึงอายุ 5 ขวบ จะมีโอกาสหายจากการเเพ้นมวัวได้ถึง 90-95%
อาการเเสดงของโรคเเพ้โปรตีนนมวัว ได้เเก่ อาการเเพ้แบบรุนเเรงเฉียบพลันทั้งตัว อาเจียน ถ่ายเหลวแบบเฉียบพลัน อาจมีน้ำมูกไหล ไอเเห้ง คัดจมูก หอบ
สำหรับเด็กที่เเพ้นมวัว สามารถทานนมอะไรได้บ้างนั้น จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มตามความรุนแรงในการเเพ้นะครับ
🔴 กลุ่ม 1 : ทารกที่มีประวัติภูมิเเพ้ในครอบครัว มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะภูมิเเพ้และเสี่ยงต่อการเเพ้โปรตีนนมวัว
สำหรับ Partially hydrolyzed formula (pHF) ประกอบไปด้วยโปรตีนนมววที่ผ่านการย่อยสลายบางส่วน ลดขนาดของโปรตีนนมวัวให้เล็กลง จึงลดโอกาสที่โปรตีนนมวัวจะไปกระตุ้นให้เกิดการเเพ้ มีรสขมเล็กน้อย
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์นม pHF
ถัดมาเป็น Goat milk หรือนมเเพะ 🐏มีโอกาสเเพ้น้อยกว่านมวัว ย่อยเเละดูดซึมง่าย
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์นมเเพะ
🔴กลุ่ม 2 : ทารกเเพ้โปรตีนนมวัว ที่มีอาการรุนเเรงน้อยถึงปานกลาง
อาการแสดง ได้เเก่ อาเจียนและถ่ายเหลวฉับพลัน ผื่นผิวหนัง น้ำมูกไหล ไอเเห้ง คัดจมูก หอบ เป็นต้น
สำหรับสูตร Extensively hydrolyzed formula (eHF) ประกอบด้วยโปรตีนนมวัวที่ผ่านการย่อยสลายอย่างละเอียด จนได้เป็นโปรตีนสายสั้นๆ ทำให้เกิดการเเพ้ลดลง
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์นม eHF
ถัดมาเป็นสูตร soy protein-based formula พูดง่ายๆคือเป็นโปรตีนจากถั่วเหลือง
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลือง
🔴กลุ่ม 3 : ทารกเเพ้โปรตีนนมวัว ที่มีอาการรุนเเรง
อาการแสดง ได้เเก่ เเพ้แบบรุนเเรงเฉียบพลันทั่วตัว อาเจียน ถ่ายเหลวเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือด ซีด ผื่นผิวหนังรุนเเรง เป็นต้น
โดยสูตร Amino acid-based formula นั้นเป็นนมที่มีโปรตีนที่ผ่านขบวนการย่อยเป็นกรดอะมิโน มีราคาสูง และรสชาติที่ทารกรับได้ยาก
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์นมสูตร Amino acid-based formula
ทั้งนี้ถ้าลูกมีอาการเเพ้นมวัวหรือสงสัยว่าจะเเพ้นมวัวหรือไม่นั้น แนะนำให้ไปพบเเพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทดสอบภูมิเเพ้ต่อไป เพื่อที่จะได้รับการรักษาและติดตามอาการอย่างเหมาะสมนะครับ
ถ้าชื่นชอบ ฝากกดไลค์👍 กดแชร์👍กดติดตาม เพื่อรอชมบทความที่มีประโยชน์ต่อไปนะครับ
#ยาcafe #ยาcafebyเภโจม #เเพ้นมวัว #อาหารทางการเเพทย์ #milk #นมเด็ก
Reference :
• บุษบา วิวัฒน์เวคิน, อุมาพร สุทัศน์วรวุฒฺ (บรรณาธิการ). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัว พ.ศ. 2555. หน้า 1-103
• กัญญ์วรา นิยม (2550) อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเด็กและทารก. หน้า 1-19
• นมและอาหารทางการแพทย์สำหรับทารกและเด็ก [Internet]. [cited July 14, 2018]. Available from:
https://www.apimonclinic.com/15474501/นมและอาหารทางการแพทย์
• Types of formula milk [Internet]. [cited July 14, 2018]. Available from:
https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/types-of-infant-formula/#close
1 บันทึก
44
33
12
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
รู้ไว้ใช่ว่า
1
44
33
12
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย