Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หม่าม้าขอพัก
•
ติดตาม
28 เม.ย. 2020 เวลา 08:42 • ไลฟ์สไตล์
เกาหลีใต้ คือ 'สวรรค์' ที่ใฝ่ฝัน
ของผู้ลี้ภัยเกาหลีเหนือ....จริงๆหรือ ?
ในอดีต เหตุผลหลักของผู้ลี้ภัย
จะมีเพียงเหตุผลเดียว
ซึ่งก็คือ การมีอิสรภาพ
แต่ในปัจจุบัน
อีกเหตุผลหลักที่เพิ่มขึ้นมา
คือ พวกเขา 'มีความฝัน'
คนรุ่นใหม่ๆในเกาหลีเหนือนั้น รับรู้โลกภายนอกมากขึ้น
จากปากต่อปาก
หลายคนมีความฝันของตัวเอง
ที่อยากจะทำ และอยากจะเป็น
ในปัจจุบัน การหลบหนี จึงไม่ใช่แค่
ต้องการอิสรภาพเพียงอย่างเดียว
หากแต่เป็น การไล่ตามความฝัน อีกด้วย
•
ในทุกๆปี จะมีผู้ลี้ภัยชาวเกาหลีเหนือ
เข้าเกาหลีใต้ ไม่ต่ำกว่า 1,000 คน
ตัวเลขนี้ เคยเกือบถึง 3,000 คน ในปี 2009
แต่ในปี 2011
หลังจากที่ คิมจองอึน รับตำแหน่งต่อจาก คิมจองอิล
เขาก็ได้เพิ่มมาตราการที่เข้มงวด
และบทลงโทษใหม่ ที่ทำให้คนกลัวที่สุด
ก็คือ บทลงโทษคน 3 รุ่น
(Three Generation Punishment)
.
หรือถ้าให้กล่าวสั้นๆ ก็คือ ลงโทษยกโคตร นั่นเอง
ซึ่งสมัย คิมจองอิล นั้น จะลงโทษเฉพาะผู้ทำผิด
จากกราฟ จะเห็นได้ชัดค่ะว่า
หลังปี 2011 ผู้ลี้ภัยลดฮวบ
จนล่าสุด ปี 2019 เหลือเพียง 1,047 คน
จำนวนผู้ลี้ภัย ตั้งแต่ปี 1998 ถึง ธ.ค. 2019 /Cr. unikorea.go.kr
จากอดีต-ปัจจุบัน มีผู้ลี้ภัยเกาหลีเหนือ
เข้าเกาหลีใต้ได้สำเร็จ ประมาณ 33,000+ คน
และกว่า 71% เป็นผู้หญิง
เนื่องจากผู้ชายเกาหลีเหนือนั้น จะมีหน้าที่หลักกันแทบทุกคน
ดังนั้น ถ้าใครหายไป จะรู้ได้ทันที
ผู้หญิงจึงมีโอกาสหลบหนีมากกว่า
การหลบหนี หมายถึงความเป็นความตาย
หลายคนยอมทิ้งครอบครัว คนที่รัก ไว้ข้างหลัง
เพื่ออิสรภาพ ที่ฝันไว้
หนทางหลบหนีไปเกาหลีใต้นั้น มีหลายวิธี
แต่วิธีที่ปฏิบัติได้จริง มีเพียงน้อยนิด
และใช้เวลานาน
ทางหลบหนี ที่ปฏิบัติได้จริง ของคนเกาหลีเหนือ / Cr. m.koreatimes.co.kr
หลายคนใช้เวลาถึง 4-5 ปี อย่างหลบๆซ่อนๆ
แม้กระทั่งโดนหลอกค้าประเวณี
ก็มีให้เห็นบ่อยครั้งในข่าว
และสุดท้าย
พวกเขาก็หาทางเข้าประเทศที่ 3
ตามที่พวกเขาใฝ่ฝันได้ ในที่สุด
อิสรภาพ และการทำตามความฝัน
อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม
.
.
แต่ดูเหมือนว่าความเป็นจริง
อาจจะไม่เป็นอย่างที่คิด...
หลังจากลี้ภัยเข้าเกาหลีใต้สำเร็จ พวกเขาทำยังไงกันต่อ ?
รัฐบาลเกาหลีใต้นั้น
ยินดีต้อนรับผู้ลี้ภัยเกาหลีเหนือทุกคน
และยินดีอย่างยิ่ง ที่จะมอบสัญชาติให้
เมื่อผู้ลี้ภัยถึงเกาหลีใต้
NIS หน่วยข่าวกรองแห่งชาติ ของเกาหลีใต้
จะรับตัวพวกเขาไป ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ
และทุกคนต้องเข้าเครื่องจับเท็จ
เพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีใครเป็นสายลับของเกาหลีเหนือ
หลังจากนั้น
พวกเขาจะถูกส่งตัวไปอยู่ที่พักชั่วคราว
โดยทุกคนต้องอยู่ที่นั่น เป็นเวลา 3 เดือน
ห้ามออกไปไหน
สถานที่นั้น มีชื่อว่า "Hanawon"
Cr. Koreantimes.co.kr
Hanawon คือ
ที่ๆพวกเขาจะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และ เรียนรู้วิถีชีวิตต่างๆ ของคนเกาหลีใต้
เช่น ขึ้นรถเมล์ รถไฟ ใช้ตู้ ATM การซื้อของ และอื่นๆ
แม้กระทั่ง สำเนียงการพูด ก็ต้องเรียน
หลังจาก 3 เดือน
ทุกคนจะสามารถออกไปใช้ชีวิต
ได้อย่างคนเกาหลีใต้ แบบเต็มตัว
รัฐบาลจะจัดหาที่พักให้พวกเขาฟรีๆ เป็นเวลา 5 ปี
พร้อมเงินตั้งตัว โดยจำนวนเงินนั้น
จะขึ้นอยู่กับขนาดครัวเรือนของผู้ลี้ภัย
และเมื่อถึงเวลา
ที่ต้องใช้ชีวิตในสังคมทุนนิยม
ความจริง ก็ปรากฎ...
.
.
เกาหลีใต้ เป็นประเทศที่ปริมาณงานน้อย
ซึ่งสวนทางกับคนหางาน เป็นอย่างมาก
เนื่องจาก เป็นประเทศที่มีจำนวนคนเรียนสูง
เยอะมากติดอันดับโลก
นั่นจึงหมายถึง การแข่งขันที่สูงตามมา
% การจบวิทยาลัยในปี 2018/ Cr. jamesgmartin.center
ดังนั้น การหางานของคนเกาหลีเหนือ
ก็ยิ่งยากขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว
โดยเฉพาะกับผู้ลี้ภัย ที่มีเด็กเล็กมาด้วย
ความไม่เสมอภาคทางสัมคม
และความขัดแย้งทางการเมือง
ทำให้คนเกาหลีใต้ ปฏิบัติกับคนเกาหลีเหนือ
อย่างพลเมืองชั้น 2
มีทั้งการโดนด่าว่า พูดจาหยาบคาย และดูหมิ่นใส่
ผู้ลี้ภัยบางคน รับเรื่องนี้ไม่ได้
จนต้องขอย้ายกลับไปเกาหลีเหนือ ก็มีให้เห็น
และที่หนักที่สุด
ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ ต้องทนทุกข์ทรมานกับโรคต่างๆ
เช่น โรควิตกจริต โรคซึมเศร้า และ PTSD
.
* PTSD คือ โรคเครียด
ที่เกิดจากการเจอเรื่องราวกระทบกระเทือนจิตใจ
Cr. Reuters
ผู้ลี้ภัยชายคนหนึ่ง กล่าวว่า
.
เขาจะมือสั่น ใจเต้นแรงทุกครั้ง
เวลาได้ยินเสียงสัญญาณอะไรดังๆ
เป็นความกลัวในใจ ที่เป็นมานานกว่า 10 ปีแล้ว
หลายคนยังมีอาการเครียด
ที่ส่งผลมาจาก ความรู้สึกแปลกแยก
การอยู่โดดเดี่ยว และปัญญาด้านการเงิน
งานที่ผู้ลี้ภัยหาได้ ส่วนใหญ่จะเป็นงานใช้แรงงาน
ซึ่งชั่วโมงทำงาน ก็มักจะนานกว่าปกติ
หลายคนยังได้รับค่าจ้าง
ที่น้อยกว่าเรทของคนเกาหลีใต้ เกือบ 3 เท่า
และอีก 1 สาเหตุ ของความเครียดนั้น
มาจากการรับรู้ว่า ครอบครัวของตัวเอง โดนฆ่า
โดนเข้าสถานกักกัน
และ การประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารอย่างหนัก
ในเกาหลีเหนือ
สิ่งที่ผู้ลี้ภัยต้องเพชิญ
หลังจากหลบหนีมา เหล่านี้นี่เอง
ที่นำไปสู่ปัญหาการฆ่าตัวตาย...
Cr. washingtonpost
จากผลการรายงานของ
Ministry of Unification (กระทรวงรวมชาติ)
ในปี 2015
ผู้ลี้ภัยมีอัตราฆ่าตัวตาย 15.2%
ซึ่งสูงกว่าเกาหลีใต้ถึง 3 เท่า
และอย่างที่หลายคนรู้กัน ว่าเกาหลีใต้นั้น
เป็นประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูง
อันดับต้นของโลกอยู่แล้ว
นั่นบ่งบอกได้ว่า ผู้ลี้ภัยเกาหลีเหนือ
ต้องพบเจอกับความเครียด
ความทรมานมากแค่ไหน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พยายามลดปัญหานี้
โดยมีการแนะนำให้ผู้ลี้ภัย
ได้คุยปรึกษากับจิตแพทย์
แต่ด้วยแนวคิดของคนเกาหลีเหนือ
อาการซึมเศร้า วิตกจริต นั้น
เปรียบเสมือนกับ คนโรคจิต
พวกเขาจึงปฏิเสธ ที่จะพบแพทย์
"โรงพยาบาล หมายเลข 49"
คือ ชื่อสถานที่ในเกาหลีเหนือ
ที่คนมีปัญหาทางจิต จะถูกส่งตัวไป
.
สถานที่อยู่ในหุบเขา ไกลบ้านเมือง
ผู้ป่วยจะได้เจอครอบครัว เพียงไม่กี่ครั้งต่อปี
.
และสิ่งที่น่าหดหู่คือ ครอบครัวของผู้ป่วย
จะถูกตีตราหน้าว่า มีอาการทางจิตเช่นกัน
ทำให้ครอบครัวเหล่านั้น ต้องเจอกับปัญหาอื่นๆตามมา
นั่นเป็นเหตุผล ที่ผู้ลี้ภัยเกาหลีเหนือ
ไม่ขอพบแพทย์
มักจะเก็บอาการเอาไว้คนเดียว
และจบ ด้วยการปลิดชีวิตตัวเอง
งานศพของผู้ลี้ภัย 2 แม่ลูก มีคนมาร่วมงานอย่างมากมาย/ Cr. CNN
ข่าวดังในเกาหลีใต้ เมื่อเดือน ก.ย. 2019
พบผู้ลี้ภัย 2 แม่ลูกเสียชีวิตนานกว่า 2 เดือน ภายในห้องพัก
และ สาเหตุการเสียชีวิต
คาดว่าเกิดจากการขาดอาหารจนตาย
พวกเขามีเงินเหลือในบัญชี ไม่ถึงร้อยบาทไทย
คนเป็นแม่ไม่สามารถหางานได้
เนื่องจากมีลูกเล็ก
และเธอไม่มีเงินพอ ที่จะส่งลูกไป childcare
เรื่องนี้ทำให้ กลุ่มผู้ลี้ภัยหลายคน
ออกมาวิจารณ์รัฐบาลเกาหลีใต้
และ เรียกร้องให้มีการดูแลที่ดีกว่านี้
หรือไม่ก็ ไม่ควรรับผู้ลี้ภัยมาตั้งแต่แรกเลย
หลายคนกล่าวว่า
Hanawon ของทางรัฐนั้น
แทบจะช่วยอะไรพวกเขาไม่ได้เลยในชีวิตจริง
.
อีกทั้ง จำนวนเงินที่ทางรัฐสนับสนุน
ก็ไม่มาก เมื่อเทียบกับค่าครองชีพที่สูง
ของเกาหลีใต้
ผู้ลี้ภัยหญิงคนหนึ่งกล่าวว่า
.
คนเกาหลีใต้ส่วนใหญ่ ไม่มีใครตระหนัก
ถึงความบอบช้ำทางจิตใจ ที่ผู้ลี้ภัยได้เพชิญ
และ ยังเลือกปฏบัติกับพวกเขา
เหมือนไม่ใช่คนเกาหลีด้วยกัน
.
ด้วยเหตุนี้ เธอจึงอยากให้ทางรัฐ
เพิ่มสวัสดิการให้กับกลุ่มผู้ลี้ภัย
เพื่อเป็นการลดเหตุการณ์น่าสะเทือนใจเช่นนี้
หลังจากเหตุการณ์นี้
ทางรัฐก็ได้มีการปรับนโยบาย
และเพิ่มสวัสดิการ ให้กับผู้ลี้ภัยมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ความเชื่อที่ฝังรากลึก
และ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม นั้น
เป็นเรื่องยาก ที่จะเปลี่ยนแปลง
Cr. mymodernmet
ผู้ลี้ภัยหลายคน กล่าวว่า
พวกเขาแปลกใจมาก ที่คนเกาหลีใต้ส่วนใหญ่นั้น
ไม่มีใครสนใจเรื่องการรวมประเทศ
โดยเฉพาะกับเด็กๆ ที่เคยถามแม้กระทั่งว่า...
"คนเกาหลีเหนือ พูดภาษาอะไร?"
"การรวมประเทศ คืออะไร? ไม่เคยได้ยิน"
ในเกาหลีเหนือ ยังมีการเรียนเรื่องการรวมชาติ
แต่สำหรับคนเกาหลีใต้นั้น
พวกเขาแทบจะไม่สนเลย
และคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่
ก็ไม่ต้องการให้เกิดสิ่งนั้นด้วย
โดยพวกเขามองว่า
เกาหลีเหนือ จะฉุดรั้งเศรษฐกิจของประเทศลง
ยังไม่รวมถึง ปัญหาด้านสังคม
ที่แตกต่างกันราวฟ้ากับเหว ที่จะตามมา
แต่ถ้าถามคนเกาหลีเหนือ
พวกเขาส่วนใหญ่ ยังคงมองว่า
เกาหลีใต้ เปรียบได้กับ 'สวรรค์' ดีๆ บนโลก
ที่พวกเขาอยากจะไปสัมผัสซักครั้ง
นั่นเอง....
Cr. CNBC
สุดท้ายนี้ ผู้เขียนอยากบอกว่า
.
เราโชคดี
ที่เกิดเป็นคนไทยค่ะ :)
🌟ถ้าชอบอย่าลืมกดLike กดติดตาม หรือกดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้เขียนด้วยนะคะ
🌟ยินดีน้อมรับทุกคำแนะนำติชมค่ะ
References:
https://www.youtube.com/watch?v=IAvgXmM7Elg
https://www.nknews.org/2020/02/why-fewer-and-fewer-north-korean-defectors-are-making-it-to-south-korea/
http://www.koreabiomed.com/news/articleView.html?idxno=3192
https://www.youtube.com/watch?v=EhmzpMP3bEE
https://www.npr.org/2019/09/17/761156048/in-south-korea-anguish-over-deaths-of-north-korean-defectors-who-may-have-starve
https://edition.cnn.com/2019/09/21/asia/north-korean-defector-funeral-intl-hnk/index.html
5 บันทึก
57
13
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เชิญนั่งก่อนค่ะ...
5
57
13
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย