แสงไฟระยิบระยับทั้งแบบหลากสีและแบบสีขาวนวลประดับปราดาอยู่เต็มยอดไม้ กิ่งที่แตกแขนงอย่างกว้างขวางประดับปลายด้วยดอกลีลาวดีสีชมพูส่งกลิ่นอ่อนเคล้าเล่นไปกับลมแรกแห่งคิมหันตฤดู
.
ได้ไปเยือนงานพระนครคีรีที่จังหวัดเพรชบุรีในสุดสัปดาที่ผ่านมา(20/03/07) งานนี้เป็นเทศกาลที่ขึ้นชื่อของเมืองเพรชบุรี ปรกติงานนี้จะจัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งอบอวลไปด้วยบรรยากาศแห่งความรักดุจดอกลีลาวดีสีชมพูที่โอบล้อมเขาวัง แต่ปีนี้มีปัญหาเล็กน้อยจึงย้ายวันจัดงานมาเป็น 6-15 มีนาแทน และในงานก็จะมีการโชว์ต่างๆงานขายของกิน มีจุดพลุ ประดับไฟ และการโชว์ชีวิตสมัยครั้นยังเป็นพระราชวัง
.
แล้ววังมันมาอยู่ตรงนี้ได้ยังไง
.
พระนครคีรี หรือเขาวัง ในแรกเริ่มมีชื่อว่า เขาสมณะ เป็นภูเขาที่มีสามยอด และมีวัดอยู่ด้านบน ครั้งหนึ่ง เมื่อรัชกาลที่สี่ออกผนวช จึงได้มาพำนักอยู่ที่นี่ แล้วหลังจากได้ครองราชเป็นกษัตริย์แล้ว จึงได้เลือกที่นี่มาเป็นที่ตั้งของพระราชวังสำหรับแปรพระราชฐาน เนื่องจากเพรชบุีมีอากาศที่บริสุทธิ์และสงบ จนกษัตริย์องค์อื่นๆหลังจากนั้น ก็สร้างพระราชวังสำหรับแปรพระราชฐานที่จังหวัดเพรชบุรีเช่นกัน ดังเช่น พระราชวังบ้านปืนของรัชกาลที่5 และพระราชนิเวศมฤคทายวัน ของรัชกาลที่6
.
ในอดีต การสร้างเขาวัง ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในเพรชบุรีอย่างมาก เพราะเมื่อวังถูกสร้างในพื้นที่ ครัวในวังจึงต้องการกำลังคน เพื่อเข้าไปผลิตอาหารมากขึ้น ทำให้คนเพรชบุรีได้เรียนรู้ทักษะในการทำอาหาร มาจากเขาวังในอดีต แล้วก็สืบทอดต่อกันมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน
.
ขนมสำคัญที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือหม้อแกง
.
หม้อแกง เดิมชื่อขนม กุมภมาศ กุมภแปลว่าหม้อ และมาศ แปลว่า ทอง เนื่องจากสมัยก่อน ขนมหม้อแกงจะทำในหม้อที่ทำจากทองเหลือง จึงเป็นขนมหม้อทอง
.
ว่ากันว่า ผู้ที่คิดค้นขนมหม้อแกงขึ้นมา คือท้าวทองกีบม้า ซึ่งขนมหม้อแกงจะทำกันเฉพาะในวังเท่านั้น และมีให้ลิ้มลองเฉพาะในวโรกาศพิเศษ แต่หลังจากที่ความรู้เรื่องอาหารในวังได้เผยแพร่ที่เพรชบุรีแล้ว ขนมต่างๆก็ถูกนำมาดัดแปลงให้เข้ากับวัตถุดิบท้องถิ่น เช่นการใช้น้ำตาลตโนดซึ่งมาจากต้นตาลที่เห็นได้มากมายในจังหวัด นอกจากนั้น ในเพรชบุรีก็ใช้ไข่แดงแทนไข่ขาวในการทำอีกด้วย ส่วนการทำขนมหม้อแกงในช่วงที่มาถึงสามัญชนแล้ว ก็จะทำให่ถาดโลหะ ใหญ่ๆ เพื่อนนำไปขาย แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2ก็พบว่า ถาดใหญ่ๆมันขนไปขายยาก เลยเปลี่ยนไปทำเป็นถาดเล็กๆจะเหมาะกว่า ตอนนี้ขนมหม้อแกงมีหน้าและส่วนผสมหลายแบบหลายสไตร์ รองรับการบริโภคหลายแบบ ไปเพรชบุรีแนะนำให้ลอง
.
กลับมาที่พระนครคีรี ตอนนี้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์แล้ว สามารถเข้าชมได้ทุกวัน ปรกติจะปิด 16:30 แต่ในช่วงเทศกาลพระนครคีรีนี้เท่านั้น ที่จะมีโอกาสไปเดินสวยๆแบบชาววังในยามค่ำคืน
.
การขึ้นเขาวังขึ้นได้สองทาง คือเดินขึ้นแบบ เฮลท์ตี้ๆ หรือขึ้นรถรางเคเบิลคาร์เก๋ๆ ด้วยค่าเข้าเท่ากันคือ 50บาทต่อคน แต่ในช่วงงานเทศกาล ถ้าขึ้นด้วยวิธีการเดินและไปครบทั้งสามยอด เก็บตราปั้มให้ครบ จะได้ของที่ระลึกด้วย
.
อีกอย่างที่ต้องเตือนคือ ถ้าขึ้นเขาวังตอนกลางวัน จะมีลิงเยอะมาก เพราะฉะนั้นอย่าใส่เครื่องประดับเยอะนะจ๊ะ จะโดนน้องฉกเอา
.
อยากให้ลองไปเที่ยวกัน แล้วจะรู้ว่าเพรชบุรีไม่ใช่แค่ทางผ่าน
ไปเพรชบุรีนอกจากได้รูปสวยๆมากมายแล้ว
.
.
ยังได้อ้วนขึ้นด้วยอีกต่างหาก......