28 เม.ย. 2020 เวลา 10:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำไมการสร้างวัคซีนสำหรับไวรัสโคโรนา (COVID-19) จำเป็นต้องใช้เวลานาน
ในเวลานี้ ผู้คนทั่วโลกต่างหวังให้การสร้างวัคซีนสำหรับไวรัสโคโรนา (COVID-19) ประสบความสำเร็จได้โดยเร็วที่สุด เพื่อที่พวกเราสามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้ตามปกติเหมือนเดิม แต่ในความเป็นจริงวัคซีนสำหรับไวรัสโคโรนาหลายๆสายพันธุ์ เป็นความท้าทายใหญ่ที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่เคยจัดการได้มาก่อน
ณ ปัจจุบัน ถึงแม้มนุษย์จะมีวัคซีนสำหรับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล, โปลิโอ, เชื้อมะเร็งปากมดลูก หรือโรคอื่นๆ การสร้างวัคซีนชนิดใหม่สำหรับ COVID-19 โดยเฉพาะ ก็ยังไม่ง่ายอย่างที่บางคนเข้าใจกัน ว่าสามารถนำวัคซีนสำหรับไวรัสคล้ายๆกัน ที่มีอยู่แล้ว มาพัฒนาต่อได้เลย เพราะการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันจะต่างกันในวัคซีนแต่ละชนิด
การสร้างวัคซีนที่ปลอดภัยสำหรับไวรัสโคโรนา มีความท้าทายมากต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เพราะเชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายไปยังระบบทางเดินหายใจส่วนบน (Upper Respiratory Tract, URI) โดยประกอบด้วยอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหายใจเหนือกล่องเสียงขึ้นไป เช่น จมูก, คอหอย เป็นต้น ซึ่งมีระบบภูมิคุ้มกันไม่ค่อยดีนัก และเป็นบริเวณที่ยากต่อการวัคซีนเข้าไปทำงานด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน
จริงๆแล้ว ระบบทางเดินหายใจส่วนบนของมนุษย์ ถือเป็นผิวภายนอกร่างกายเพื่อวัตถุประสงค์ในการสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าไปในร่างกาย แม้ว่าระบบนี้จะอยู่ในร่างกายของพวกเราก็ตาม
ด้วยเหตุผลนี้ มันเลยยากที่จะสร้างวัคซีนสำหรับเข้าไปฆ่าไวรัส ที่อยู่ในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ที่เปรียบเหมือนการไปส่งวัคซีนไปฆ่าไวรัสที่กระจายอยู่บนผิวหนังของเรา เพราะการหาวิธีในการต้านไวรัส "ภายนอก" ร่างกายนั้นเป็นเรื่องยากมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าผิวชั้นนอกของเซลล์ Epthelial cells เมื่อติดเชื้อ ระบบภูมิคุ้มกันจะตอบสนองได้น้อยกว่า เมื่อเทียบกับอวัยวะภายใน ทำให้วัคซีนเข้าถึงเซลล์ที่ติดเชื้อได้ยากและไม่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อไวรัสได้รุนแรงพอ
อีกอย่างถ้าวัคซีนเข้าไปกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันผิดตำแหน่ง ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นต่อร่างกาย อาจจะแย่กว่าการไม่ได้รับวัคซีนเลย อย่างเช่น วัคซีนสำหรับโรคซาร์ส (SARS) ซึ่งก็เป็นไวรัสโคโรนาสายพันธุ์หนึ่ง วัคซีนจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการปอดอักเสบในสัตว์ ซึ่งจะไม่เกิดขึ้นถ้าสัตว์ไม่ได้รับวัคซีน
การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ต่างๆที่ผ่านมา ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันแค่ หลักเดือนหรือบางรายอย่างมากก็ถึงปี แต่ร่างกายจะไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสไปตลอดชีวิต เหล่านักวิทยาศาสตร์ต่างก็คาดการณ์ว่า ระบภูมิคุ้มกันของเราจะตอบสนองต่อ COVID-19 เหมือนญาติๆของมันเช่นกัน
ถึงแม้เรายังไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างวัคซีนต่อต้านไวรัสโคโรนาในมนุษย์จากอดีตที่ผ่านมา เหตุผลส่วนหนึ่งดังที่กล่าวมา ว่าการพัฒนาวัคซีนสำหรับไวรัสที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนยังเป็นความท้าทายที่ยากสำหรับนักวิทยาศาสตร์ด้วยข้อจำกัดทางเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน
แต่ในขณะนี้มีการทดลองวัคซีนจำนวนมากที่เกิดขึ้นทั่วโลก มีความพยายามจากหลายๆฝ่าย แม้แต่กลุ่มอาสาสมัครยินยอมให้มีการทดลองจริงกับร่างกายของตัวเอง ถึงแม้มีหลายฝ่ายไม่เห็นด้วยเพราะกลัวจะเกิดการกลายพันธ์ของไวรัส หรือผลข้างเคียงที่รุนแรงเกิดขึ้นกับกลุ่มอาสาสมัคร
พวกเราทุกคนตอนนี้ก็ขอส่งความหวังว่าการสร้างวัคซีนจะประสบผลสำเร็จได้ในอนาคดอันใกล้
โฆษณา