30 เม.ย. 2020 เวลา 00:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Digital Technology กับการเกษตรกรไทยที่ดีขึ้น (ตอน 1)
ปัญหาที่ส่งผลต่อการเกษตรไทยมีอะไรบ้าง?
ปัญหาที่ส่งผลต่อการเกษตรไทยมาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างและปัจจัยภายนอกเป็นสำคัญ ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตสินค้าและความสามารถในการแข่งขันด้านการผลิต
ปัจจัยเชิงโครงสร้างที่เป็นความท้าทายที่สำคัญคือ การขาดแคลนแรงงานและการที่แรงงานที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมเป็นผู้สูงวัย คนวัยทำงานย้ายถิ่นฐานจากต่างจังหวัดเข้ามารับการศึกษาระดับสูงและหางานในเมืองที่ให้
รายได้สูงกว่าการทำเกษตร ทำให้เหลือผู้สูงอายุอยู่กับแปลงเกษตรและวิถีการทำการเกษตรแบบเดิมๆ เมื่อการเกษตรไทยได้รับการผลักดันให้ก้าวเข้าสู่ยุคการเกษตร 4.0 จึงเป็นการยากที่ผู้สูงวัยจะเข้าใจในองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ ทำให้การเกษตรไทยเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ไม่ทันกับโลกที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
ภาพจาก Shutterstock
นอกจากนี้เกษตรกรไทยมักทำการเกษตรแบบรายย่อย ซึ่งมักมีข้อจำกัดเรื่องการลงทุนในเทคโนโลยีและทรัพยากรต่างๆ ที่มีราคาสูง และที่สำคัญขาดอำนาจต่อรองในระบบตลาดที่มีห่วงโซ่อุปทานที่ยาว
ส่วนปัจจัยภายนอกที่เป็นความท้าทายที่สำคัญไม่แพ้กันคือ รูปแบบการส่งเสริมการเกษตรจากภาครัฐที่ยังไม่ตอบโจทย์เกษตรกรเท่าที่ควร โครงการต่างๆที่ออกมาช่วยเหลือเกษตรกรมักจะเป็นลักษณะ One Size Fits All (ออกแบบมาแบบเดียวและคาดว่าจะตอบโจทย์กับทุกคน) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โรคระบาด สถานการณ์ทางเศรษฐกิจภายในและต่างประเทศ และการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดภายในประเทศและโลก เหล่านี้เป็นอุปสรรคเสริมต่อการก้าวสู่การเกษตรยุคใหม่ที่เกษตรกรไทยกำลังเผชิญ
การใช้ Digital Technology ในการเกษตรหน้าตาเป็นอย่างไร?
แนวความคิดที่สำคัญของ Digital Technology คือ นวัตกรรมประมวลผลข้อมูลแก่เกษตรกรในระดับปัจเจกและสิ่งประดิษฐ์ที่พัฒนาคุณภาพของผลผลิต นวัตกรรมประมวลผลข้อมูลคือการนำข้อมูล องค์ความรู้ไปผ่านการวิเคราะห์ และนำไปใช้ในการตัดสินใจในการเพาะปลูก การใช้สิ่งประดิษฐ์ถูกนำมาใช้ร่วมกับข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ เพื่อนำมาแก้ปัญหาในกระบวนการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกรแต่ละราย สร้างผลผลิตที่มีจำนวนมากขึ้น มีคุณภาพดีมากขึ้น และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดีขึ้นในท้ายที่สุด
ภาพจาก S.A.T.I Platform และ เก้าไร่
ตัวอย่างการใช้ Digital Technology เช่น แพลทฟอร์มทางการเกษตร “เก้าไร่” ที่ตอนนี้มีฟังก์ชั่น “บริการฉีดพ่นพืชด้วยโดรน” ที่แพลตฟอร์ม (ณ ขณะนี้คือเว็ปแอป www.gaorai.io) มีการเก็บ เชื่อมโยง และประมวลข้อมูลการฉีดพ่นพืช (เช่น ข้อมูลพืชที่ฉีดพ่น สารอารักขาพืชที่ใช้ จำนวนไร่ที่ฉีดพ่น และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง) ที่ละเอียดระดับแปลงของเกษตรกรรายบุคคลได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ บวกกับการนำเทคโนโลยีโดรนของนักขับโดรนอิสระที่เข้าร่วมแพลตฟอร์มมาบินฉีดพ่นยาอารักขาพืชแทนการฉีดพ่นแบบดั้งเดิมที่ใช้คนเดินฉีดพ่นพืชด้วยตัวเอง
ภาพหน้าเว็บไซต์ www.gaorai.io
ภาพหน้ารายการจองงานฉีดพ่นพืช www.gaorai.io
อีกตัวอย่างคือสำนักงานเศรษฐกิจกิจการเกษตร (สศก.) จัดทำฐานข้อมูลเกษตรกรกลาง (Farmer ONE) โดยนำข้อมูลในระบบมาวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) และนำข้อมูลไปวิเคราะห์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ข้อมูลในระบบมีข้อมูลทะเบียนเกษตรกร สารสนเทศการเกษตร ด้านการตลาด ด้านการเงินของเกษตรกรและแหล่งเงินทุน ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ ด้านการแปรรูปสินค้า โรงงานและแหล่งที่ตั้ง และการใช้ผลผลิตสารอินทรีย์ในโรงพยาบาล โดยฐานข้อมูลจะเน้นไปที่ข้อมูลของสินค้าเกษตรที่สำคัญ 5 อย่างคือ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และยางพารา
ภาพหน้าเว็บไซต์ Farmer One ขอสศก.
แล้ว Digital Technology เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรไทยจริงเหรอ?
Digital Technology มีความสามารถที่จะเปลี่ยนเกษตรกรให้เป็นผู้ใช้และผู้มีส่วนร่วมในการสร้างข้อมูล เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ต่อตัวเกษตรกรเองและต่อเกษตรกรคนอื่นด้วย
โดย Digital Technology ต้องมี 6 ประเภทต่อไปนี้จึงจะสามารถช่วยยกระดับการทำการเกษตรได้
1. เทคโนโลยีที่ใช้เก็บข้อมูล เช่น sensor กล้องที่ติดกับโดรน ภาพถ่ายดาวเทียม เป็นต้น
2. ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) มาจากการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ จากเทคโนโลยีข้อ 1 มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง และสามารถสะท้อนรายละเอียดต่างๆเป็นภาพใหญ่หรือเชิงสรุปผลได้
3. Internet of Things (IoT) สามารถเชื่อมโยงการทำงานของเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรต่างๆเข้าด้วยกันผ่านอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน
4. เทคโนโลยีผ่านอุปกรณ์ที่พกพาได้ (Mobile Technology) ช่วยเชื่อมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) คนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ตลาด ผู้ขายปัจจัยการผลิต ผู้บริโภค เจ้าหน้าที่รัฐ และเกษตรกรรายอื่น ทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงข้อมูลและความรู้ที่จำเป็นต่อการเกษตรได้ดีขึ้น
5. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เช่น Machine Learning และ Artificial Intelligence (AI) นำมาใช้วิเคราะห์ Big Data ทำให้เกิดความรู้เชิงลึก (insight) ในการแก้ปัญหาให้เกษตรกรรายบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด หรือเรียกว่า Precision Farming
6. แพลตฟอร์ม สามารถเชื่อมต่อข้อมูลจากผู้ให้บริการแพลตฟอร์มไปยังเกษตรกรผู้ใช้งานและผู้ใช้งานแต่ละประเภทเข้าไว้ด้วยกัน
กล่าวโดยสรุปคือประโยชน์หลักของการใช้ Digital Technology คือช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลและความรู้ที่มีประโยชน์ เข้าถึงเครื่องจักรกลสมัยใหม่และเทคโนโลยีทางการเกษตร เข้าถึงตลาดเพื่อการขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าหรือทรัพยากรที่มีอยู่ และอาจก่อให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่เพิ่มอีกเพื่อยกระดับการทำการเกษตรให้ก้าวหน้าขึ้นไปได้อีกในอนาคต เมื่อเกษตรกรมีตัวช่วยอำนวยความสะดวกในการทำการเกษตร ทำให้เกษตรกรสามารถพัฒนาคุณภาพการผลิตสินค้าให้ดียิ่งขึ้น ควบคุมต้นทุนให้ต่ำลงได้ สร้างรายได้ที่สูงขึ้น นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีแทน
เก้าไร่ เป็นสตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ให้บริการแพลทฟอร์มที่ช่วยบริหารจัดการต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรไทย เรามีเว็ปแอปแล้วคือ www.gaorai.io และฟังก์ชั่นแรกที่ปล่อยให้เกษตรกรได้ใช้งานแล้วคือ "บริการฉีดพ่นพืชด้วยโดรน"
ติดตามเก้าไร่เพิ่มเติมได้ที่
โฆษณา