30 เม.ย. 2020 เวลา 02:00 • สุขภาพ
รู้จัก 'Broken Heart Syndrome' ใครว่าอกหักไม่ยักจะตาย คิดผิดคิดใหม่ได้นะ
เชื่อว่าทุกคนคงเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับความรักที่ไม่สมหวัง อกหักรักคุด ใครที่เป็นสายสตรองอาจจะเชิดหน้าแล้วบอกว่า ‘แล้วไง อกหักไม่ยักกะตายเสียหน่อย’ ก็เป็นได้
WIKIPEDIA CC OLAGOKE AKINWANDE
แต่ว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะมูฟออนต่อไปได้ เพราะความเศร้าโศกเสียใจของแต่ละคนไม่เหมือนกัน อย่างที่เคยเห็นจากหน้าข่าวสื่อหนังสือพิมพ์และสื่อโซเชียล หรือแม้กระทั่งในละครหรือนิยายต่าง ๆ เช่น ถูกผู้ใหญ่กีดกันความรัก ถูกคนรักนอกใจ หรือคนรักมาเสียชีวิตไปก่อน ไม่รู้จะอยู่ทำไม ตายดีกว่า หรือไม่บางคนก็อาจจะทนอยู่แบบตรอมใจไปเลยก็มี
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
เรื่องนี้มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์ โดยเรียกอาการเหล่านี้ว่า ‘Broken Heart Syndrome’ หรือ ‘โรคหัวใจสลาย’ โดยเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมจากภาวะเครียด ที่ไม่ได้เกิดจากการผิดหวังหรือสูญเสียความรัก แต่ยังรวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ หรือเรื่องอะไรก็ตามที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง จนทำให้ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจไม่ออก หากเป็นหนักอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน บางรายถึงขั้นหมดสติหรืออาจเสียชีวิตได้ เพราะพบกับเรื่องที่บีบคั้นจิตใจอย่างรุนแรงจากสาเหตุที่ได้กล่าวมาข้างต้น
สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะกล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนบีบตัวได้น้อยลง จากการตรวจสอบพบว่ากลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้มีระดับฮอร์โมนที่เกิดจากความเครียดเพราะความรู้สึกสูญเสียมากกว่าปกติ ซึ่งส่งผลกระทบไปที่กล้ามเนื้อหัวใจและระบบเลือดโดยตรง ในปี 1990 จากการเอ็กซเรย์การเต้นของหัวใจของผู้ป่วย พบว่าโป่งพองจนมีลักษณะคล้ายกับไหที่ชาวประมงญี่ปุ่นใช้ใส่ปลาหมึกที่เรียกว่า ‘Tako Tsubo’ การแพทย์ญี่ปุ่นได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับภาระดังกล่าวว่า ‘Takotsubo Cardiomyopathy’
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ที่น่าตกใจก็คือ กลุ่มผู้ป่วยที่สุ่มเสี่ยงจะพบกับภาวะดังกล่าวมักเป็นเพศหญิงที่มีอายุเกิน 55 ปี โดยนักวิจัยได้ระบุว่ากลุ่มผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมีความเสี่ยงสูงเพราะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ต่ำกว่า และพบการเชื่อมโยงกันระหว่างอารมณ์ความรู้สึกและภาวะหัวใจล้มเหลวจนทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นจำนวนมากที่เกิดจากภัยธรรมชาติและเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจอีกด้วย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา