โรคเขตร้อนและโรคติดเชื้อปรสิตถือว่าเป็นโรคที่ส าคัญและปัจจุบันเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขของประเทศไทยและในประเทศอื่นๆทั่วโลก พบได้ทั่วไปในประเทศเขตร้อน โดยเฉพาะพื้นที่ในชนบทของประเทศไทย (Jongsuksuntigul et al., 2001)ซึ่งยังคงส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของประชาชนในหลายภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทและชนิดของโรค ทั้งนี้เชื้อปรสิตบางชนิดอาจจะพบมากน้อยในแต่ละภูมิภาคที่ต่างกัน
จากการติดเชื้อปรสิตท ำให้ผู้ป่วยมีการดูดซึมอาหารผิดปกติ ท้องเสีย สูญเสียเลือด ความสามารถในการท างานลดลงซึ่งมีความส าคัญต่อสุขภาพและเป็นปัญหาของสังคม (World Health Organization, 1987)
จากสถานการณ์การติดเชื้อโรคหนอนพยาธิยังคงพบได้เรื่อยมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันและอาจมีแนวโน้มพบสูงมากขึ้นหากมีระบบบริการสาธารณสุขที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งตอนนี้มีการเปิดประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นการเปิดกว้างให้ประชาชนในประเทศสมาชิก สามารถเดินทางเข้าออกประเทศไทยได้อย่างเสรี และการอพยพเคลื่อนย้ายนี้ อาจเป็นสาเหตุให้มีการค้นพบเชื้อปรสิตและเชื้อหนอนพยาธิชนิดใหม่ๆที่มากับคนและสัตว์ รวมทั้งการปนเปื้อนมากับพืชผักที่น าเข้ามาภายในประเทศด้วย ด้วยเหตุนี้อาจจะน าไปสู่การเพิ่มจ านวน อุบัติการณ์ และความชุกของโรคติดเชื้อปรสิตและหนอนพยาธิที่สูงขึ้น
องค์การอนามัยโลกประมาณการว่ามีผู้ติดเชื้อหนอนพยาธิจากดินประมาณ 2 พันล้านคนทั่วโลก
ซึ่งการติดเชื้อหนอนพยาธิจากดิน สามารถพบได้ในประชาชนทั่วไป โดยคนหนึ่งคนสามารถติดเชื้อหนอนพยาธิได้มากกว่า 1 ชนิด (WHO, 2015)
ส าหรับหนอนพยาธิที่มีการติดต่อทางดิน ที่เป็นปัญหาส าคัญของประเทศทั่วโลก ได้แก่ การติดเชื้อพยาธิปากขอ โดยพบประชาชนที่ติดเชื้อหนอนพยาธิชนิดนี้ ประมาณ 576-740 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุดของการติดเชื้อพยาธิปากขอก็คือ การสูญเสียโปรตีนและการสูญเสียเลือด
ซึ่งจะน าไปสู่การเจ็บป่วยด้วยโรคโลหิตจางในที่สุด การติดเชื้อพยาธิไส้เดือน ประมาณ 807-1,221 ล้านคนทั่วโลกที่มีการติดเชื้อหนอนพยาธิชนิดนี้ ส าหรับความรุนแรงของพยาธิชนิดนี้อาจท าให้เกิดการอุดตันของล าไส้
และท าให้การเจริญเติบโตในเด็กช้ากว่าปกติ และประมาณ 604-795 ล้านคนทั่วโลก ที่ติดเชื้อพยาธิแส้ม้า ส าหรับผู้ติดเชื้อหนอนพยาธิชนิดนี้ ในรายที่มีอาการรุนแรงมักจะพบปัญหาในเรื่องของการขับถ่ายเป็นเมือกน้ า และมีเลือดปนออกมาด้วย ในเด็กที่ติดเชื้อหนอนพยาธิชนิดนี้จะกลายเป็นโรคโลหิตจางอย่างรุนแรง และมีผลต่อพัฒนาการเรียนรู้การเจริญเติบโตที่ช้าลงด้วย (CDC, 2015)
ส าหรับการติดเชื้อหนอนพยาธิในดิน ส่วนใหญ่มักจะพบอุบัติการณ์สูงในพื้นที่ถิ่นทุรกันดารและในเขตพื้นที่ชนบท เนื่องจากการสุขาภิบาลไม่ดี ขาดแคลนส้วมที่ถูกสุขลักษณะ รวมถึงการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และการติดต่อที่มักพบได้บ่อยในเด็ก คือการที่เด็กเล่นคลุกคลีกับดิน มีโอกาสที่ไข่พยาธิจะติดมากับเล็บและมือ เมื่อเด็กอมหรือหยิบอาหารเข้าปากโดยไม่ล้างมือให้สะอาด จะท าให้ไข่พยาธิเข้าไปในปากได้
นอกจากนั้นพยาธิปากขอยังสามารถไชเข้าไปในผิวหนังของคนได้หากเดินด้วยเท้าเปล่า
ส าหรับมาตรการป้องกันที่องค์การอนามัยโลกได้แนะน า คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับสุขวิทยาส่วนบุคคลเพื่อเป็นการป้องกันการ
ติดเชื้อหนอนพยาธิดังกล่าว รวมถึงการปรับปรุงสุขาภิบาลเพื่อลดการปนเปื้อนของเชื้อในดิน และการรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งภายในปี ค.ศ. 2020 องค์การอนามัยโลกมีเป้าหมายที่จะลดอัตราการติดเชื้อ