30 เม.ย. 2020 เวลา 12:34 • การศึกษา
"กระจกร้าวบินต่อได้ไหม"
ก่อนอื่นกระจกภายใน cockpit ของเครื่องบินนั้น จะประกอบด้วย layer หลายชั้น ซึ่งระหว่างชั้นด้านนอกและด้านในมีการออกแบบให้มีตัวตรวจจับอุณหภูมิของกระจกเพื่อให้ข้อมูลกับระบบให้ความร้อน ทำงานควบคู่กับ Heat film ป้องกันน้ำแข็งเกาะกระจกด้วย
โดยปกติแล้วกระจกชั้นในจะมีความหนามากกว่ากระจกชั้นนอกและทนแรงดันได้มากกว่า เพราะปกติเวลาทำการบินขึ้นที่สูง อากาศภายในห้องนักบินจะมีความดันสูงกว่าภายนอก
ถ้ากระจกมีการแตกร้าว นักบินก็จะต้องตรวจสอบว่ากระจกนั้นแตกร้าวจากด้านในหรือด้านนอก เพราะมีความอันตรายมากน้อยต่างกัน ซึ่งแน่นอนร้าวด้านนอกอันตรายน้อยกว่าด้านใน
การตรวจสอบเบื้องต้นอาจใช้ทริคง่ายๆ เช่น ใช้ปากกาลากสัมผัสที่รอยร้าว ก็จะรู้แล้วว่าแตกด้านในหรือเปล่า
ภาพแสดงตัวอย่างระบบ Sensors ที่เกี่ยวข้องกับการทำความร้อนที่ Windshields ของ Airbus 350
จากนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อการบินนักบินก็จะประเมินสถานการณ์ และอาจหาทางลดระดับลง และสามารถพาทุกคนลงจอดได้อย่างปลอดภัย
การลดระดับลงยังมีข้อดีคือ ช่วยลดความเสี่ยง ทำให้ความแตกต่างระหว่างความดันอากาศภายในและภายนอกเครื่องบินลดลงอีกด้วยนะ
ภาพตัวอย่าง Sensors ที่ติดตั้งอยู่ที่ Windshields
ดังนั้นสรุปคือ สามารถทำการบินต่อไปได้ โดยนักบินจะประเมินความเสี่ยงของสถานการณ์ ตัดสินใจอย่างเหมาะสมและพาทุกคนไป Landing ได้อย่างปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ
สุดท้ายนี้ ฝากทุกคนติดตาม Twitter ของผมที่จะอัพเดตเรื่องราว แชร์ ความรู้การบินร่วมกันได้อีกหนึ่งช่องทาง ด้านล่างนี้นะครับ
โฆษณา