1 พ.ค. 2020 เวลา 09:22 • ความคิดเห็น
ทำไร่ทำนาแข่งกับพ่อค้าคนกลางยังแพ้ราบคาบไม่เป็นท่า
ถ้าจะให้มาแข่งกับพ่อค้าระดับโลกชาวไร่ชาวนาจะยับเยินแค่ไหน
ความรู้ทางการค้า การเงิน เศรษฐศาสตร์ก็ไม่มี
ทำแค่พอกินพอใช้รายได้ก็สู้กระแสนิยมไม่ได้เน๊อสู😁
CPTPPย่อมาจากComprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership คือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก เป็นการปรับโฉมมาจาก TPP (Trans-Pacific Partnership)
สมาชิกทั้งหมด 11 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม มีเพียง 7 ประเทศที่ให้สัตยาบันเข้าร่วม ได้แก่ เม็กซิโก ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ แคนาดา ออสเตรเลีย และเวียดนาม
UPOV 1991 คือ
UPOV หรือสหภาพเพือคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ The International Union for the Protection of New Varieties of Plants (French: Union. internationale pour la protection des obtentions végétales) เป็นความ ตกลงเพื อให้สิทธิผูกขาดพันธุ์พืชใหม่แก่บริษัทและนักปรับปรุงพันธุ์
จะทำให้เกิดการผูกขาดเมล็ดพันธุ์พืชและกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
แม้เกษตรกรไม่ได้ซื้อเมล็ดพันธุ์ที่บรรษัทด้านการเกษตรขาย แต่หากมีเมล็ดพันธุ์ของเอกชนปนเปื้อนมาในพื้นที่ปลูก อาจทำให้เกษตรกรถูกดำเนินคดีได้ และการอยู่ภายใต้อนุสัญญาฉบับนี้ จะทำให้ราคาของเมล็ดพันธุ์แพงขึ้น เนื่องจากสิทธิบัตรถูกขาดโดบริษัทยาวนานขึ้นจากเดิม 7 ปี เป็น 15-20 ปี และการซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัทเท่ากับเกษตรกรยอมรับว่าจะไม่เก็บส่วนใดๆ ของพืชเพื่อนำไปปลูกต่อ “เมล็ดพันธุ์พวกนี้ต้องซื้อทุกรอบ เมื่อซื้อทุกรอบก็แพงขึ้น 6-12 เท่า เป็นไปตามชนิดของพืช อย่างข้าว เก็บเมล็ดไว้ 20 เปอร์เซ็นต์ อาจแพงขึ้นไม่เยอะมาก แต่ข้าวโพดต้องซื้อเมล็ดทั้งหมดเพื่อเอามาปลูก”
แล้วส่งผลต่อเรื่องสุขภาพและระบบสาธารณสุขในด้านอื่น เช่น การผูกโยงการขึ้นทะเบียนตำรับยากับระบบสิทธิบัตร (Patent linkage) ข้อผูกมัดในบทว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐและทรัพย์สินทางปัญญา ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)
😁😁😁😁😤😤😤😤😁
โควต้า 8 บรรทัดเกินละนุ
โฆษณา