1 พ.ค. 2020 เวลา 11:30 • ธุรกิจ
ประวัติ Jho Low ตอนที่ 11 : Goldman and the Sheikh
เมื่อเข้าสู่เดือนมีนาคม ปี 2012 Tim Leissner ผู้บริหาร Goldman Sachs ของมาเลเซีย ได้บินไปยังอาบูดาบี เพื่อไปพบกับคนที่รวยที่สุดในโลกอย่าง Sheikh Mansour Bin Zayed ที่มีทรัพย์สินกว่า 40 พันล้านดอลลาร์ และเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเจ้าของสโมสรฟุตบอล แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ในพรีเมียร์ลีก ของอังกฤษ
ประวัติ Jho Low ตอนที่ 11 : Goldman and the Sheikh
มันเป็นโอกาสที่น้อยมาก ๆ ที่จะมีโอกาสที่จะพบกับมหาเศรษฐีตัวจริงอย่าง Sheikh Mansour เพราะเขาไม่ได้เพียงแค่รวยมาจากธุรกิจน้ำมันเพียงเท่านั้น แต่ Sheikh Mansour ดำรงตำแหน่งประธานของบริษัท การลงทุนระหว่างประเทศ IPIC และกำลังมีการลงทุนที่แพร่ขยายไปยังทั่วทุกมุมโลก รวมถึงการเข้าไปอุ้มธนาคารยักษ์ใหญ่ของอังกฤษ Barclays ที่แทบจะล้มจากวิกฤติทางการเงินในปี 2008
เหล่านักการธนาคารใน Wall Street ต่างจับจ้องท่าน Sheikh เพื่อหวังจะหาข้อเสนอทางการเงินให้กับบริษัทการลงทุน IPIC ของท่าน Sheikh แต่มีน้อยคนนักที่จะได้พบกับตัวจริงของ ท่าน Sheikh Mansour
Leissner เป็นหนึ่งผู้โชคดีคนนั้น แต่การที่เขาสามารถเข้าถึงบุคคลระดับนี้ได้นั้น ก็ต้่องขอบคุณ Connection ของ Low ผ่าน Khadem Al Qubaisi ผู้ช่วยชาวอาหรับของท่าน Sheikh ที่สามารถพาเข้าถึงท่าน Sheik Mansour ได้สำเร็จ
เนื่องจากจะมีการลงทุนขนาดใหญ่ใน มาเลเซีย ผ่านกองทุน 1MDB โดยทาง Leissner ที่เดินทางมาที่อาบูดาบีพร้อมกับ Low เพื่อคุยเรื่องโครงร่างข้อตกลง ที่ ธนาคารยักษ์ใหญ่จาก Wall Street กำลังเตรียมที่จะจำหน่ายพันธบัตรมูลค่า 3.5 พันล้านดอลลาร์สำหรับกองทุน 1MDB
แต่ปัญหาคือ 1MDB นั้นไม่เคยออกพันธบัตรสกุลเงินดอลลาร์ ให้กับเหล่านักลงทุนต่างชาติ และแทบไม่ติดอันดับความน่าเชื่อถือ ดังนั้น Leissner ที่เป็นตัวแทนของ Goldman Sachs มาเพื่อนำเสนอกับ IPIC ของท่าน Sheikh ที่เป็นองค์กรที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูงเพื่อรับประกันปัญหานี้ นั่นจะทำให้นักลงทุนสบายใจ และ มั่นใจว่า 1MDB จะสามารถชำระหนี้คืนได้ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด และแลกกับผลประโยชน์ที่ IPIC จะได้รับสิทธิ์ในการซื้อหุ้นใน บริษัท พลังงานที่จดทะเบียนในราคาที่เหมาะสม
Sheikh Mansour Bin Zayed เศรษฐีอันดับต้น ๆ ของโลกเจ้าของทีม แมน ซิตี้
ต้องบอกว่านี่เป็นพิมพ์เขียวใหม่ล่าสุดของ Low สำหรับ 1MDB ซึ่งเป็นหนทางที่กองทุนจะเข้าสู่ธุรกิจผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยเงินจากการออกพันธบัตรดังกล่าวนั้น จะนำไปลงทุนในการซื้อโรงไฟฟ้าถ่านหินในมาเลเซีย และ ต่างประเทศ รวมถึงบริษัทมหาชนที่มีการทำ IPO ในตลาดหุ้นของมาเลเซีย
1
แต่มันก็เป็นแผนที่แปลกประหลาด ที่ทำไมกองทุนของรัฐบาลมาเลเซียจึงของรับประกันจากกองทุนที่คล้ายกันจากอีกประเทศหนึ่ง ทำไมรัฐบาลมาเลเซียถึงไม่ให้การรับประกันเอง ซึ่งเพื่อนร่วมงานของ Leissner ที่ Goldman Sachs ในดูไบ ซึ่งทำธุรกิจกับ IPIC เป็นประจำ ก็มองว่าเป็นเรื่องที่ผิดปรกติและปฏิเสธจะเข้าร่วม หรือแม้แต่ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินของ IPIC ก็ยังตั้งคำถามว่าทำไม IPIC ต้องไปเสี่ยงต่อธุรกิจกับกองทุนของประเทศอื่น ที่แทบจะไม่มีประวัติเลยมาก่อนด้วยซ้ำ
แต่นี่เป็นแผนการของ Low และเขาก็ได้ Connection ที่สำคัญอย่าง Khadem Al Qubaisi ที่ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของ IPIC เพื่อช่วยโน้มน้าวให้ Sheikh Mansour เห็นด้วยกับแผนการของ Low ซึ่งแน่นอนว่า Al Qubaisi นั้นก็จะได้รับผลตอบแทนจำนวนมหาศาลจาก Low อีกเหมือนเคย
และต้องบอกว่า Qubaisi นั้นไม่ใช่บุคคลธรรมดา เพราะ เขาเคยทำงานกับกองทุนความมั่งคั่งของอาบูดาบีมาก่อน หลังจากนั้นเขาก็ได้กลายมาเป็นกรรมการผู้จัดการของ IPIC และเขามีอำนาจที่แท้จริง เพราะเป็นหนึ่งในคนที่ Sheikh Mansour นั้นไว้วางใจเป็นอย่างมาก
Qubaisi นั้น จะเป็นคนตัดสินใจคนสุดท้ายสำหรับข้อเสนอที่สำคัญ เช่น ธุรกิจที่กำลังเติบโตที่น่าลงทุนอย่าง 1MDB และทาง Sheikh Mansour ได้มอบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จให้กับ Qubaisi ที่สามารถตกลงเข้าซื้อกิจการ โดยไม่ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของ IPIC ซึ่งเรียกได้ว่า ลายเซ็นต์ของ Qubasi นั้นสามารถบรรลุข้อตกลงมูลค่าหลายพันดอลลาร์ได้ด้วยการตัดสินใจของเขาเพียงคนเดียว
2
“Qubaisi เป็นผู้ชายคนเดียวในโลกที่คุณสามารถโทรหาด้วยดีลมูลค่า 10,000 ล้านดอลลาร์ และเขาแค่พูดว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” ซึ่งเขาคิดว่าเขาเองนั้นคือพระเจ้าในโลกการเงิน” นักการเงินคนหนึ่งกล่าวถึง Qubaisi
IPIC นั้นก่อตั้งขึ้นในปี 1984 เพื่อลงทุนในบริษัท ที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน แต่ด้วยความสามารถของ Qubaisi ที่ดูแลกองทุน Aabar Investments และ บริษัทย่อยอื่น ๆ ได้มีส่วนร่วมในการลงทุนในหลายกิจการ หลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น บริษัทในอุตสาหกรรมรถยนต์อย่าง Benz , UniCredit , Virgin Galactic หรือ บริษัทอื่น ๆ หากมีข้อเสนอที่น่าสนใจ
แต่ Qubaisi เองนั้น ก็มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น ในปี 2009 เกิดคดีฟ้องร้องในอเมริกา เมื่อนักธุรกิจในอเมริกาสองคน อ้างว่า Qubaisi ได้ขอเงิน 300 ล้านดอลลาร์ ในระหว่างการเสนอราคาที่ล้มเหลวในการเข้าซื้อกิจการโรงแรมในเครือ Four Seasons (ซึ่งต่อมาโจทก์ได้ถอนฟ้อง)
ซึ่งหลังจากวิกฤติการเงินในปี 2008 นี่เองที่ทำให้กองทุนอย่าง IPIC นั้น มุ่งเข้าหาตลาดใหม่ ๆ เช่นในประเทศกำลังพัฒนาอย่างมาเลเซีย เพื่อชดเชยตลาดที่ซบเซาจากทางฝั่งยุโรป และ สหรัฐอเมริกา
1
ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ยากขึ้นของ Qubaisi ในการที่จะหาเงินจาก Wall Street ได้ง่าย ๆ เหมือนเมื่อก่อน ในปี 2011 Mohammed Bin Zayed ซึ่งเป็นพี่ชายของ Sheikh Mansour ได้มีการสั่งให้มีการออกตราสารหนี้ โดยผ่านหน่วยงานกลางเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ซ้ำซ้อนกับวิกฤติหนี้ในดูไบ
ซึ่งมีการออกโดยรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ถึง 2 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งแน่นอนว่าในขณะที่ Qubaisi นั้นกำลังหาวิธีการใหม่ ๆ ในการสร้างกระแสเงินสด และเพิ่มการลงทุนในประเทศที่กำลังพัฒนา มันก็เป็นช่องทางที่ทำให้เขาได้มาเจอกับ Jho Low ผู้ซึ่งอวดอ้างว่าเขาสามารถลงนามข้อตกลงมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในกองทุน 1MDB ได้นั่นเอง
ต้องบอกว่าแผนการของ Low นั้นใกล้ประสบความสำเร็จอีกครั้ง ซึ่งเขาต้องการให้พันธบัตรของ 1MDB ขายได้อย่างรวดเร็ว หลังจากที่ได้การรับประกันจาก IPIC
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนั้น รูปแบบการออกพันธบัตรส่วนใหญ่นั้นจะมีการออกหุ้นสู่สาธารณะ ซึ่งธนาคารจัดให้มีการจัดการที่ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนในวงกว้างมากที่สุด แต่ทางทางตรงกันข้ามหากต้องการความรวดเร็ว ก็สามารถที่จะเข้าหา สถาบันการลงทุนขนาดใหญ่ เช่น กองทุนบำเน็จบำนาญ หรือ กองทุนป้องกันความเสี่ยงที่ต้องการผลตอบแทนที่สูง ซึ่งข้อได้เปรียบ คือ สามารถหาเงินได้อย่างรวดเร็ว และ ไม่ได้รับการจัดอันดับเครดิตโดยเอเจนซี่ใหญ่ ๆ เช่น Moody’s และ Standard & Poor’s ซึ่งกระบวนการนี้จะเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบน้อยมาก ๆ
ซึ่งแผนการก็คือ กองทุน 1MDB นั้นตกลงที่จะจ่ายเงิน 2.7 พันล้านดอลลาร์ ให้กับโรงไฟฟ้าที่เป็นเจ้าของโดยมหาเศรษฐีชาวมาเลเซีย Ananda Krishnan จาก Tanjong Energy Holdings ซึ่งเป็นการซื้อกิจการครั้งแรกของกองทุน 1MDB
ซึ่งข้อตกลงนี้มันได้กลาเป็นว่า จะเป็นประโยชน์ต่อ Tanjong โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื่องจากข้อตกลงขายไฟฟ้าให้กับรัฐมาเลเซียนั้นกำลังจะหมดลงในไม่ช้า ซึ่ง Goldman Sachs ก็คิดไม่ออกว่าทำไมตัวเลขมันถึงออกมาสูงได้เช่นนี้ แต่ไม่มีทางเลือกอื่น Goldman Sachs จึงต้องกลายเป็นที่ปรึกษาให้กับ 1MDB รวมถึง ช่วยให้กองทุนระดมทุน และประเมินการลงทุนนี้ครั้งนี้ให้มีตัวเลขสูงที่สุด
ซึ่งเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่ Leissner มีการประชุมกับทางฝั่งอาบูดาบี ทางคณะกรรมการของ IPIC นั้นก็มีความสงสัย ในสิ่งที่ Goldman Sachs กำลังทำก็คือการขายพันธบัตรมูลค่า 1.75 พันล้านดอลลาร์ อายุ 10 ปี สำหรับกองทุน 1MDB ซึ่งแน่นอนว่า Goldman Sachs เองก็สามารถทำเงินได้มหาศาลกว่า 190 ล้านดอลาร์จากข้อตกลง หรือ ราว ๆ 11% ของมูลค่าพันธบัตร ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่สูงจนน่ากลัวมาก ๆ
Goldman Sachs ที่เข้ามาพัวพันด้วยผลประโยชน์มหาศาล
ซึ่งหลังจากที่ Deal ทุกอย่างแล้วเสร็จ ในวันที่ 21 พฤษภาคมปี 2012 เงินฝากจากพันธบัตรมูลค่า 1.75 พันล้านดอลลาร์ ก็เข้าสู่บัญชีธนาคารของบริษัทย่อยด้านพลังงานของกองทุน 1MDB และเพียงอีกหนึ่งวันต่อมา เงินจำนวน 576 ล้านดอลลาร์ ก็ถูกโอนย้ายไปที่บัญชี
ธนาคาร BSI ของบริษัท Aabar Investments Ltd ที่ หมู่เกาะ British Virgin Islands
และนี่คือลูกไม้เดิม ๆ ของ Low เพราะ Aabar Investments Ltd นั้น มีชื่อคล้ายกับ Aabar Invesments PJS ซึ่งเป็นบริษัทที่มีอยู่จริงที่เป็นบริษัทในเครือของ IPIC ซึ่ง Low นั้นใช้แผนเดิม ๆ และบอกว่าเป็นการโอนเงินเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการชำระเงินเพื่อชดเชยให้กับกองทุนจากอาบูดาบี ซึ่งต้องบอกว่า มันเป็นการคิดกลอุบายที่แยบยลมากขึ้นโดย Low และ Qubaisi เพื่อรับเงินที่มากขึ้นจาก 1MDB นั่นเอง
ซึ่งผลจาก Deal ที่ทำได้สำเร็จดังกล่าวนั้น ทำให้ตัว Leissner นั้นได้รับเงินเดือนและโบนัสในปี 2012 มากกว่า 10 ล้านเหรียญ ทำให้เขากลายเป็นหนึ่งในพนักงานที่ได้รับผลตอบแทนสูงที่สุดของธนาคาร ซึ่งมันเป็นเวลาเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้น ที่ Leissner ได้มาพบเจอกับ Low และได้เปลี่ยนความมั่งคั่งของเขา ให้มากขึ้นกว่าเดิมถึงหลายเท่านัก
แม้ Leissner นั้นจะยังไม่รู้ถึงเรื่องการฉ้อโกงที่ชัดเจน แต่ด้วยผลประโยชน์มหาศาลที่เขาได้รับ ก็ทำให้เขาไม่ได้สนใจเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด แม้จะระแคะระคายอยู่บ้าง ส่วน Qubaisi เองนั้นก็ได้รับเงินไปมหาศาลเช่นเดียวกัน ผ่านช่องทางการเงินที่ซับซ้อนที่ Low เป็นผู้สร้างสรรค์มันขึ้นมา
ถึงตอนนี้ Jho Low ได้ทำการปล้นครั้งสำคัญเป็นครั้งที่สองแล้ว ซึ่งแตกต่างจากช่วงแรกในปี 2009 กับ PetroSaudi จะเห็นได้ว่าเขาเริ่มมีการวางแผนที่ละเอียดถี่ถ้วนมากยิ่งขึ้น และใช้ความซับซ้อนทางการเงินมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ยากที่จะตามรอยเขาได้ และที่สำคัญทุกอย่างนั้นทำอย่างรวดเร็วเหมือนเคย และผู้สมรู้ร่วมคิด แม้จะรู้จริง หรือ อาจจะแค่ระแคะระคายว่าทั้งหมดเป็นเรื่องปาหี่ แต่พวกเขาก็มองข้ามและเห็นแก่ผลประโยชน์ของตัวเองที่ได้รับจาก Deal เหล่านี้ ด้วยเม็ดเงินจำนวนมหาศาลนั่นเองครับ
1
แล้ว เรื่องราวทั้งหมด มันจะถูกเปิดโปงเมื่อไหร่ เหล่าสื่อทั้งหลายเริ่มสืบสวนเรื่องดังกล่าวไปถึงไหน จะเกิดอะไรขึ้นกับ Low ต่อไป โปรดอย่าพลาดติดตามตอนหน้าครับผม
อ่านตอนที่ 12 : The Big Boss
Credit แหล่งข้อมูลบทความ
ช่องทางติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา