1 พ.ค. 2020 เวลา 12:15 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เทือกเขาหิมาลัย.....วิวก็สวยทำไมไม่อยากบินผ่าน?
แม้เครื่องบินโดยสารโดยทั่วไปจะบินกันที่ความสูงไม่เกิน 40,000 ft ซึ่งอยู่ในชั้นบรรยากาศ Troposphere ซึ่งแน่นอนบินได้สูงกว่าความสูงภูเขาเอเวอเรสต์ ที่สูง 29,029 ft เสียอีก แต่เส้นทางการบินปกติทั่วไปกลับเลือกที่จะไม่บินผ่านพื้นที่ดังกล่าวนี้
ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า การบินผ่านแนวเทือกเขาอันกว้างใหญ่นั้นมีความเสี่ยงอยู่หลายประการด้วยกันนั่นคือ
1. หากห้องโดยสารสูญเสียความดันจากสาเหตุขัดข้องหรือฉุกเฉินใดๆก็ตาม แน่นอนสถานการณ์นี้หน้ากากออกซิเจนต้องหล่นลงมา เพื่อให้ผู้โดยสารได้สวมใส่ช่วยเหลือตัวเอง..........แต่ออกซิเจนจะใช้การได้ไม่นานนักก็หมดนี่สิ
ดังนั้นนักบินจึงต้องลดระดับลงมาที่ความสูงประมาณ 10,000 ft เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถหายใจได้โดยไม่ต้องใช้หน้ากากออกซิเจน แต่แนวเทือกเขาที่สูงของหิมาลัยอาจเป็นข้อจำกัดที่ทำให้บินลดระดับลงมาไม่ได้ และกว่าจะผ่านพ้นเทือกเขาไปเพื่อลดระดับผู้โดยสารอาจหมดสติลงเพราะไม่มีอากาศหายใจก่อนนั่นเอง
ภาพแสดงความสูงของยอดเขาเอเวอเรสต์
2. หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับเครื่องบินทำให้เสียความสูงหรือลดระดับลงอย่างฉับพลัน ความสูงที่เหลืออยู่ระหว่างระยะที่บินปกติกับยอดเขานั้นมีเพียง 6,000 ft++ อาจทำให้การแก้ไขอาการผิดปกติของสิ่งที่เกิดขึ้นได้ไม่ทันและเสี่ยงเกินไปอีกด้วย
3. บริเวณพื้นที่หุบเขา มักจะมีลมหรือสภาพอากาศที่แปรปรวน ที่ส่งผลต่อการควบคุมเครื่องบินได้
ภาพตัวอย่างลมที่ผันผวนบริเวณพื้นที่ภูเขา
4. อีกประการสำคัญคือ หากเครื่องต้องลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินสำรอง ก็อาจเป็นเรื่องยากลำบากที่จะพาเครื่องไปลงได้ เช่น สนามบินกาฐมาณฑุ เป็นสนามบินที่ลงจอดได้ยากเลยทีเดียว แถมยังไม่มีระบบเครื่องช่วยเหลือในการลงจอดด้วยด้วย
เห็นไหมครับ ความเสี่ยงมากมายเลยที่เดียว ถ้าต้องแลกกับวิวสวยๆคงไม่คุ้มเท่ากับการพาผู้โดยสารทุกท่าน ไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัยเป็นแน่ใช่ไหมครับ
แอบเสริมให้เห็นภาพว่าเครื่องบินเราบินในชั้นบรรยากาศ Troposphere นะ
โฆษณา