1 พ.ค. 2020 เวลา 16:28 • สุขภาพ
โรซาเซีย (Rosacea): โรคผิวหนังอักเสบ
ที่ปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้แล้วราว 415 ล้านคน ทั่วโลก❗️
ซึ่งผู้ป่วยหลายคนกว่าจะรู้ว่าป่วยเป็นโรคโรซาเซีย ก็ต้องทนทุกข์ทรมานกับการรักษาโรคผิวหนังที่ไม่ตรงกับสาเหตุ ทำให้อาการไม่ดีขึ้นสักที
และดาวก็เป็น 1 ในผู้ป่วย ที่ต้องผ่านการรักษาสิวและโรคผิวหนังอื่นๆ ที่มีอาการใกล้เคียงกัน มานานกว่า 5 ปี ถึงจะรู้ว่าเป็นโรคโรซาเซีย
ทำไมดาวถึงรักษาไม่ตรงกับโรคที่แท้จริง?
ทำไมคนที่เป็นโรคนี้ถึงต้องทุกข์ใจ?
หาคำตอบได้ในบทความนี้ค่ะ
💥 Rosacea หรือโรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย คืออะไร❓
เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบมากบริเวณใบหน้า แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจลามไปบริเวณคอ หน้าอก และหลังได้
..
โรคนี้มักเริ่มจาก มีอาการหน้าแดงบ่อย เป็นๆ หายๆ ตามสภาพแวดล้อมหรืออาหารที่รับประทาน หลังจากนั้นจะเริ่มเห็นเส้นเลือดฝอยจางๆ มีลักษณะเป็นร่างแหรวมตัวกันอยู่ตรงกลางใบหน้า จมูก และแผ่ออกไปด้านข้าง
..
เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น อาการอื่นๆ ที่พบได้ คือ ผิวหนาขึ้นและมีตุ่มแดงขึ้นคล้ายสิว จึงทำให้หลายคนคิดว่า เป็นสิวเพราะมีตุ่มคล้ายสิวแต่ไม่ใช่โรคสิว
💥 ใครที่มักจะเป็นโรคโรซาเชีย❓
ก่อนอื่นเลย ดาวต้องขอบอกข่าวดีก่อนว่า โรคนี้มักเกิดกับคนผิวขาว ที่ไม่ใช่ชาวเอเชียอย่างเราๆ เป็นโรคที่พบเจอกับคนเอเชียน้อยมากกกกกกก
..
และนี่เป็น 1 ในสาเหตุที่ทำให้คุณหมอคิดว่า ดาวไม่ได้เป็นโรคนี้
..
แต่เมื่อคุณหมอยืนยันว่า ดาวคะ ดาวเป็นโรคนี้ล่ะค่ะ นั่งฟังแบบยิ้มทั้งน้ำตา จะดีใจดีมั้ย เป็นโรคที่คนเอเชียไม่ค่อยจะเป็น 😭
💥 สาเหตุของโรค❓
ยังไม่ทราบแน่ชัดและไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด (ความทุกข์ทรมานอยู่ที่นี่) แต่สามารถควบคุมอาการได้ (ซึ่งไม่ง่ายอย่างที่คิด) 😭
สันนิษฐานว่า โรซาเซียอาจเกิดจากกรรมพันธุ์และปัจจัยแวดล้อมรวมกัน เช่น
- การดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนหรือแอลกอฮอล์
- การรับประทานอาหารรสเผ็ด
- การสัมผัสลม แสงแดด หรืออยู่ในอุณหภูมิแบบสุดขั้ว
- หลอดเลือดบริเวณใบหน้ามีความผิดปกติ โดยเฉพาะเมื่อถูกแสงแดดก็อาจทำให้อาการแย่ลงได้
- การติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (H. Pylori)
- สภาพอารมณ์
- การออกกำลังกายอย่างหนัก
- การใช้เครื่องสำอาง
- การใช้ยาที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัว หรือยารักษาความดันโลหิตบางชนิด
6
นอกจากนี้ ยังมีบางปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคโรซาเซียได้ คือ เป็นเพศหญิง มีผิวขาว โดยเฉพาะมีผิวที่เสียหายจากแสงแดด มีอายุ 30-50 ปี เป็นผู้ที่สูบบุหรี่ เป็นสิวอย่างรุนแรง หรือมีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคนี้
1
💥 อาการของโรคโรซาเชีย
อาการของผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกันไป แต่อาการที่พบได้บ่อยมีดังนี้
- ผิวหนังแดงง่าย
- หน้าแดงตลอด
- มีเส้นเลือดฝอยเล็กๆ (Telangiectasia)
- ผิวแพ้ง่าย ระคายเคืองง่าย
- เกิดตุ่มแดงหรือตุ่มหนอง
สำหรับบางรายจะมีอาการที่ตาด้วย ซึ่งอาการที่มักพบได้แก่
- ผิวหนังสีแดงที่รอบดวงตา เปลือกตา
- ตาแห้ง ตาบวม น้ำตาไหลง่าย หรือแสบตาได้
- ในบางกรณีอาจมีการติดเชื้อที่ตาซ้ำๆ โดยเกิดขึ้นได้แม้ในผู้ป่วยโรซาเชียที่มีอาการบนหน้าน้อย
ซึ่งพบว่าประมาณ 50% ของผู้ป่วยโรคโซซาเชียมีอาการที่ตาร่วมด้วย การดูแลด้วยจักษุแพทย์จึงจำเป็นเพื่อช่วยลดอาการะคายเคืองตา การมองเห็นลดลง และในบางกรณีสามารถเกิดแผลที่กระจกตาได้
แล้วสิ่งที่ดาวเจอตลอดเวลาที่รู้ตัวว่าเป็นโรคโรซาเซียมีอะไรบ้าง
คำตอบคือ เหมามาหมดทุกอาการค่ะ โดยอาการที่ตาเริ่มเป็นเยอะขึ้นเมื่อ 2 ปีที่ผ่าน
💥 การรักษาโรซาเชีย
เนื่องจากโรซาเชียไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และเกิดอาการซ้ำได้บ่อยตามปัจจัยกระตุ้น ดังนั้น การรักษาจึงเป็นการควบคุมอาการด้วยการดูแลสุขภาพผิวและการรักษาทางการแพทย์ร่วมกัน ส่วนระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาจะขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรงของอาการ
2
โดยแพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาตามอาการของผู้ป่วย ดังนี้
1. การใช้ยา มีทั้งยาทา ยากิน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
2. การรักษาด้วยเลเซอร์ แพทย์อาจตัดสินใจใช้เลเซอร์เพื่อลดอาการแดง
จากการขยายตัวของหลอดเลือด
3. การกรอผิว (Dermabrasion) เป็นเทคนิคการขัดผิวที่ใช้เครื่องมือหมุนเพื่อขจัดผิวหนังชั้นนอก
4. การทำ IPL เป็นการฉายแสงความเข้มข้นสูงและใช้ความยาวช่วงคลื่นแสงแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อรักษาผิวบริเวณที่มีอาการ
5. การใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า เพื่อรักษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากภาวะไรโนฟีมาที่ส่งผลให้จมูกบวม และรักษาเส้นเลือดที่ขึ้นจนเห็นได้ชัดเจน
💥 การป้องกัน/ควบคุมอาการโรซาเชีย ได้แก่
1. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่เป็นสาเหตุ เช่น แสงแดด อากาศเย็น ลมแรง บุหรี่ อาหารบางชนิด การออกกำลังกายอย่างหนัก และความเครียด
2. หลีกเลี่ยงการออกกลางแจ้งเวลากลางวัน หรือใส่หมวกและใช้ร่มเมื่อต้องออกกลางแจ้ง และใช้ครีมกันแดดที่มีค่าป้องกันรังสียูวี (SPF) 30 ขึ้นไป
3. ดูแลผิวหน้าอย่างอ่อนโยน เช่น
- ใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวแพ้ง่าย (Sensitive Skin)
- หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์ น้ำมัน พาราเบน
- อย่าขัดหรือสัมผัสผิวหน้ามากเกินไป
- ต้องบำรุงให้ผิวหน้าชุ่มชื้นอยู่เสมอ**
4. หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางบริเวณดวงตา
5. ระวังไม่ให้ตาแห้ง โดยการใช้น้ำตาเทียมช่วยบรรเทาอาการ
1
อ่านๆ แล้วดูเหมือนจะง่าย ไม่น่าจะควบคุมยาก
แต่ดาวอยากจะบอกว่า มันไม่ง่ายเลยค่ะ เพราะแค่ถูกกระตุ้นเพียงนิดเดียว มาเลยค่ะ หน้าเริ่มแดง คอเริ่มแดง แดงแค่ไหน แดงระดับคนที่อยู่ใกล้ๆ ทัก ว่า เป็นอะไรอ่ะ ไหวมั้ย
ดาวสามารถหยุดการประชุมได้ เพราะทุกคนตกใจกับอาการผิวแดง เพียงแค่ดาวรู้สึกร้อน หรือลมแอร์เป่าลงตัวตรงๆ
และนี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยหลายรายมีสภาวะจิตใจที่ย่ำแย่
1
จนทำให้มี Campaign ชื่อ Rosacea: Beyond the visible ของ Galderma ออกมาร่วมรณรงค์บนโลกโซเชียล ผ่าน Influencers ในปี 2019 ที่ผ่านมา
..
โดยมีเป้าหมายเพื่อพูดคุยกันถึงภาระที่แท้จริงอันเกิดจากโรคโรซาเซีย และผลกระทบนอกเหนือจากที่มองเห็นภายนอก ภายใต้แคมเปญ #RosaceaNoFilter
1
ติดตามเรื่องราวต่างๆ และสาเหตุของการควบคุมอาการที่ยากลำบากของดาวได้
ผ่านประสบการณ์การแพ้ กับ ซีรีย์ "เรื่องวุ่นๆ ของสาวขี้แพ้ ในต่างแดน" ที่ลิงค์ด้านล่างนี้
แล้วพบกับบทความอื่นๆ ของดาวได้ เร็วๆ นี้นะคะ 👧🏼
เรียบเรียงโดย #StellarDao

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา