2 พ.ค. 2020 เวลา 14:07 • ข่าว
FOCUS : ประเด็นน่าสนใจวันนี้
1. FED กำลังเผชิญความเสี่ยงอย่างมากที่จะเกิดภาวะเงินเฟ้อ หลังจบการระบาดของ COVID-19
1
ความกังวลของตลาดในตอนนี้ พุ่งเป้าไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ทรัมป์ และ FED โดยนักลงทุนกำลังมองว่า FED อาจสูญเสียความเป็นอิสระในอำนาจการตัดสินใจ สำหรับนโยบายทางการเงิน
เริ่มต้นจากการเปิดโอกาสให้ ทรัมป์ และสภาคองเกรสสามารถใช้เงินเพื่อเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นได้อย่างไม่อั้น และยังให้คำมั่นว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยใกล้ระดับ 0 ไปจนกว่าทุกอย่างจะคลี่คลายลง
การกู้ยืมของรัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในช่วงที่เกิดการระบาดขึ้น และเรื่องที่ตลาดกังวลมากที่สุดก็คือ "การผ่อนคลายทางการเงินของ FED ในครั้งนี้จะต้องสิ้นสุดลง ด้วยความจำเป็นที่จะต้องบริหารจัดการเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย และหนี้สิน"
Hint : เหมือนอย่างที่ World Maker เคยบอกไว้ไหมล่ะครับ ว่าช่วงเวลาแห่งการชำระหนี้ยังมาไม่ถึง ซึ่งตอนนี้ Bloomberg ก็ดูเหมือนจะบอกใบ้เรื่องนี้ให้ทราบแล้วหลายครั้ง รอดูต่อไปแล้วกันครับ เราจะได้เห็นข่าวใหญ่ ๆ ในตลาดอีกเยอะเลย
ปัญหาซึ่งถูกรับรู้กันโดยกว้างขวาง ณ เวลานี้ก็คือ
หนี้ของสหรัฐฯ เยอะเกินไปหรือไม่ ?
สืบเนื่องมาจากการที่ FED ประกาศพิมพ์เงินโดยไม่จำกัดจำนวน โดยขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะต้องการเงินไปเยียวยาประเทศเท่าไหร่ และประวัติศาสตร์บอกเราว่าสิ่งเหล่านี้จะตามมาด้วยอัตราเงินเฟ้อที่มหาศาลในภายภาคหน้า
นี่ไม่ใช่เรื่องของความกังวลในปัจจุบัน ที่ตลาดหทรุดตัวอย่างหนักเลยแม้แต่น้อย เนื่องจากนักลงทุนมืออาชีพทุกคนต่างก็รู้ดีว่าตอนนี้เราอยู่ในภาวะเงินฝืด (แต่แฝงด้วยเงินเฟ้อจำนวนมหาศาลที่กำลังระเบิดออกมา)
ความกังวล ณ ขณะนี้ ที่ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกต่างให้ความสนใจก็คือ
"สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น(ซ้ำรอยเดิม)ในอนาคต"
"เมื่อโลกออกจากวิกฤต Coronavirus ได้แล้ว โลกจะต้องเผชิญกับหนี้สินจำนวนมาก และ Demand ที่เพิ่มขึ้นอย่างพรั่งพรู" David Kelly หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์และบริหารทรัพย์สินทั่วโลกของ JPMorgan กล่าวกับ Bloomberg ในวันที่ 24 เมษายน 2020
"เมื่อใดก็ตามที่เงินเฟ้อเริ่มก่อตัว(ในช่วงหลังจากนี้) ผู้คนก็จะเริ่มตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความสามารถของ FED ที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อนั้น"
"ด้วยหนี้พันธบัตรที่ถือครองโดยภาคเอกชนพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก จนทะลุระดับ 17 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อเดือนที่ผ่านมา นั่นหมายความว่าการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยขึ้นไปเพียงนิดเดียว จะส่งผลกระทบในเชิงลบอย่างมากต่อภาคการเงินของรัฐบาล"
Hint : พูดภาษาชาวบ้านก็คือ เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น เงินเริ่มเฟ้อ ผู้คนทั่วโลกก็จะเริ่มกดดันให้ FED ปรับเปลี่ยนมาตรการ และแน่นอนว่าการทวงหนี้จะมาถึง
มาตรการที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจจำนวนมากของ FED ได้ทำให้สำนักงบประมาณสภาคองเกรส (CBO) คาดการณ์ว่าในปี 2020 รัฐบาลสหรัฐฯ จะมีขาดดุลงบประมาณถึง 3.7 ล้านล้านดอลลาร์ และ Real GDP จะอยู่ที่ -5.6% ส่วน Unemployment Rate จะอยู่ที่ 11.4%
Jeffrey Rosenberg ผู้จัดการอาวุโสในด้านการลงทุนของบริษัท BlackRock กล่าวว่าเขามองเห็นสิ่งที่คล้ายกันกับสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในตอนนั้น รัฐบาลก่อหนี้เพิ่มขึ้นอย่างมาก และ FED ก็ให้คำมั่นที่จะรักษาระดับผลตอบแทนของพันธบัตรไว้ที่ 3% และ 8% สำหรับธนบัตรเงินสด รวมถึง 2.5% สำหรับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในช่วงปี 1945 ไปแล้วแต่ FED ต้องใช้เวลาไปจนถึงปี 1951 กว่าจะดึงตัวเองออกมาจากตลาดพันธบัตรได้ และอัตราเงินเฟ้อในตอนนั้นอยู่ที่ 9%
FED อาจต้องคิดให้มากกว่านี้
Olivier Blanchard อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ IMF กล่าวว่า "หนี้สินของรัฐบาลที่เติบโตขึ้น อาจส่งผลให้ FED ต้องคิดมากขึ้นกว่าเดิม เกี่ยวกับการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอนาคต"
"มาตรการทั้งหมดที่ FED ได้ประกาศออกมาในช่วงที่มีการระบาด จะทำให้ FED สูญเสียความเป็นอิสระทั้งหมดในการตัดสินใจ เนื่องจากการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพียงเล้กน้อย จะส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา"
ด้วยอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันที่ต่ำกว่า 2% มานานหลายปี Powell และทีมงานของเขาคงจะยินดีหากจะเพิ่มความดันกันในด้านราคา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะดำเนินการใด ๆ ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย
"มีการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าไปสู่ระบบการเงินโลกอย่างมาก และเมื่อเศรษฐกิจเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ความท้าทายอย่างหนึ่งของ FED ก็คือ การถอนสภาพคล่องนั้นออกจากตลาด เพื่อรักษาสมดุลให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม"
2. เงินช่วยเหลือ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ สำหรับธุรกิจสายการบินอาจทำได้เพียง "ช่วยยืดระยะเวลาแห่งความเจ็บปวดออกไป"
รัฐบาลทั่วโลกได้อนุมัติเงินช่วยเหลือกว่า 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยพยุงธุรกิจสายการบินต่าง ๆ ภายในประเทศ
อย่างไรก็ตาม อัตราการสูญเสียงานยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสายการบินยุโรปรายงานการปลดพนักงานกว่า 20,000 คน ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
กว่า 80% ของที่นั่งในเที่ยวบินต่าง ๆ ยังคงว่างเปล่า ซึ่งทำให้สมาคมการบินระหว่างประเทศกล่าวว่า "การฟื้นตัวจะเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ดำเนินไปด้วยความผันผวน ดังนั้นมาตรการเชิงรับทางด้านการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญในเวลานี้ และดูเหมือนว่าจะใช้เวลาถึง 3 ปี กว่าทุกอย่างจะกลับมาเป็นปกติ"
รายละเอียดของสายการบินที่สำคัญบางส่วน เป็นดังต่อไปนี้
หมายเหตุ : ข้อมูลส่วนใหญ่ที่เอามาให้ดูคือสายการบินที่ได้รับผลกระทบหนัก ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสายการบินของสหรัฐฯ และยุโรป
(1.) American Airlines
เงินช่วยเหลือ : 5.8 หมื่นล้านดอลลาร์ และกำลังเจรจาขอกู้เงินเพิ่มเติมอีก 4.75 พันล้านดอลลาร์
การจ้างงาน : พนักงานกว่า 39,000 ถูกลดเวลาทำงานลง และบริษัทคาดว่าจะต้องปลดพนักงานบางส่วน จากพนักงานทั้งหมดเกือบ 130,000 คน
ราคาหุ้น : ลดลงจากต้นปี 58% เมื่อสิ้นเดือนเมษายน 2020
(2.) Delta Air Lines
เงินช่วยเหลือ : 5.4 พันล้านดอลลาร์ และกำลังเจรจาขอกู้เงินเพิ่มเติมอีก 4.6 พันล้านดอลลาร์
การจ้างงาน : มากกว่า 1 ใน 3 หรือประมาณ 37,000 คน ถูกพักงานเป็นระยะเวลา 1 เดือนจนถึง 1 ปี
ราคาหุ้น : ลดลงจากต้นปี 56% เมื่อสิ้นเดือนเมษายน 2020
(3.) Southwest Airlines
เงินช่วยเหลือ : 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์ และกำลังเจรจาขอกู้เงินเพิ่มเติมอีก 2.8 พันล้านดอลลาร์
การจ้างงาน : พนักงานประมาณ 10,000 คน ลาออกโดยไม่รับเงินเดือน หรือรับบางส่วน
ราคาหุ้น : ลดลงจากต้นปี 42% เมื่อสิ้นเดือนเมษายน 2020
(4.) United Airlines
เงินช่วยเหลือ : 5 พันล้านดอลลาร์ และกำลังเจรจาขอกู้เงินเพิ่มเติมอีก 4.5 พันล้านดอลลาร์
การจ้างงาน : พนักงานกว่า 20,000 คน ลาออกโดยไม่รับเงินเดือน และอีกกว่า 1,000 คนถูกลดเวลาทำงานลง
ราคาหุ้น : ลดลงจากต้นปี 70% เมื่อสิ้นเดือนเมษายน 2020
(5.) Air France และ KLM
เงินช่วยเหลือ : 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ จากรัฐบาลฝรั่งเคส และรัฐบาบดัตซ์
การจ้างงาาน : KLM วางแผนที่จะสั่งปลดพนักงาน 2,000 คน ขณะที่ Air France ยังไม่มีแผนการปลดพนักงานใด ๆ เกิดขึ้น
ราคาหุ้น : ลดลงจากต้นปี 53% เมื่อสิ้นเดือนเมษายน 2020
(6.) EasyJet
เงินช่วยเหลือ : 750 ล้านดอลลาร์ จากรัฐบาลอังกฤษ
การจ้างงาน : มีข่าวออกมาว่าบริษัทได้สั่งพักงานลูกจ้างบางส่วน แต่ยังไม่มีตัวเลขการสูญเสียงานจริง ๆ ออกมาให้เห็น
ราคาหุ้น : ลดลงจากต้นปี 60% เมื่อสิ้นเดือนเมษายน 2020
การกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม และการติชมในเชิงสร้างสรรค์ของคุณ เป็นกำลังใจให้เราและเหล่าอาชีพนักเขียนทุกคนในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ขอเชิญทุกท่านร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้ที่ดีด้วยกันกับเรา
World Maker
สามารถติดตาม World Maker ผ่านทาง Facebook ได้แล้ววันนี้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา