3 พ.ค. 2020 เวลา 04:41 • สุขภาพ
ใครไม่กลัว แต่ข้ากลัวจ้าาาา
2
ไวรัสที่ทำ surprise ให้ทุกครั้งที่อ่านหนังสือ
ตั้งแต่อ่านเรื่องคุณไวรัส SAR-CoV-2 ที่ทำให้เกิด COVID-19 มายอมรับว่า surprise ตลอด
2
เลยอยากมาสรุปความ surprise ให้ฟัง
1.กระจายได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ
1
จริงๆหลายตัวทำแบบนี้ได้ เช่น hiv virus
แต่ถ้าเป็นไวรัสที่เด่นระบบทางเดินหายใจ เท่าที่นึกออก ก็ตัวนี้แหล่ะ ที่เด่นๆ
1
แรกๆหมอเองก็ deny ไม่เชื่อ แต่ตอนนี้เชื่อแล้วจ่ะะะแม่
1
ปกติ ไวรัสหวัดตัวอื่น อาจจะไม่ได้ฉาวโฉ่เท่าตัวนี้ เลยไม่ค่อยมีใครขุดค้นหาความจริงก็เป็นได้
ตอนนี้ที่มีข้อมูลคือ
ไม่มีอาการเลยแต่เจอเชื้อ ได้ 30-50% ของการหว่านตรวจ ขึ้นกับ ความหว่าน
ส่วนนึงคนไข้จะมามีอาการภายหลังก็ได้ แต่แน่ๆคือ มีโอกาสที่จะกระจายเชื้อได้ ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ
มาอ่านตอนนี้ ก็คงไม่ตื่นเต้น แต่ย้อนกลับไปสองเดือนก่อน ถือว่าตื่นเต้นมากสำหรับหมอ
3
ความน่ากลัวก็คือ เราไม่มีอาการ เราอาจจะเป็นคนกระจายเชื้อได้
ใช่ค่ะ ขอใช้คำว่า "เรา" มันดูใกล้ตัวกว่าคำว่า "เขา"
เพราะอีพวกเราเนี่ยแหละ ที่จะกระจายเชื้อ
พอคิดได้แบบนี้ จะได้ระวังกันมากขึ้น
มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เลยเข้าใจมอเตอร์ไซค์ มากขึ้น ว่าทำไม ใส่หน้ากาก ไม่ใส่หมวกกันน้อค
เพราะเค้ากลัวกระจายเชื้อนี่เอง 5555
12
2. อาการอันหลบเงียบ
1
ปกติ เวลาเรามีปัญหาเรื่องปอด แน่นอนว่าเราจะไอและเหนื่อย
คนไข้ส่วนนึงไม่ไอ หรือถ้าไอ อาจจะไอไม่เยอะ
1
ไอหมอไม่กลัว เพราะไอไม่ไอก็ ก็ไม่เกี่ยวข้องกว่าจะตายไม่ตาย
3
แต่เหนื่อยเนี่ยสิ ตายได้
1
ไวรัสตัวนี้ มันเข้าปอด ในคนไข้"บางคน" ไปทำให้กลไกบางอย่างของร่างกายเสียไป คือ
"มันทำให้เราออกซิเจนในเลือดต่ำ โดยที่เราไม่เหนื่อย"
ฟังดูเหมือนดี ก็ไม่เหนื่อย ก็น่าจะดีเนอะ
แต่!!! เหนื่องคืออาการเตือน ที่สำคัญ!!
ถ้าไม่เหนื่อยก็ไม่ได้เข้ารพ ไม่รู้ตัวว่าแย่ ถ้ารพ ตรวจไม่ดี ก็คิดว่าไม่เป็นไร ไม่รักษา
สุดท้ายตายไม่รู้ตัว เพราะออกซิเจนต่ำ
6
ปกติแทบไม่เคยได้ยินเลย ว่าการติดเชื้อไวรัส ตัวไหน ทำให้นอนตายออกซิเจนต่ำ โดยไม่เหนื่อยได้
เราได้ยินกันบ่อยๆ ที่ ตายที่บ้านบ้าง ลุงที่ตายบนรถไฟสามเสน
3
หมอเชื่อว่า ส่วนนึง เค้าเกิดภาวะนี้แหละ ทางการแพทย์เรียกชื่อเล่นว่า happy hypoxemia คือออกซิเจนต่ำมาก แต่ยิ้มได้
3
สุดท้าย ร่างกายไม่ไหว ก็จะเหนื่อย แต่พอนาทีที่เหนื่อย เค้าจะทำอะไร ก็อาจจะไม่ทันแล้ว
3
น่ากลัวมากนะ เราไม่สามารถ detect คนไข้กลุ่มนี้ได้จากอาการ แต่ต้องตรวจออกซิเจนให้เค้าถึงจะรู้
5
3. ใช้เวลานานมากๆกว่าจะกำจัดออกจากร่างกายได้หมด
แรกๆก็ติดว่า 7-14 วัน ก็เชื้อหมด
ตอนนี้ก็มาเจอว่า 50 วัน เทอยังอยู่ ก็มีบ่อยๆ
6
แม้เราจะยังไม่รู้ว่าอีที่ตรวจ pcr เจอเชื้อ มันเป็นเชื้อเป็นหรือเชื้อตายก็ตามที แต่ถึืงว่านานมากๆ สำหรับไวรัสตัวนึง
4
4. เวลาปอดติดเชื้อ ก็มีหลายแบบอีก
อันนี้เล่าไปคนทั่วไปก็คงไม่อิน
แต่มุมมองหมอ ก็ตกใจมาก ที่ไวรัสมีหลายกลไกมากๆที่จะทำลายเรา ไม่เหมือนไข้หวัดใหญ่ลงปอดทั่วไป
1
ไม่ใช่แค่ปอดอักเสบ แต่มันจัดการเส้นเลือดเราด้วย ทำให้เกิดเส้นเลือดขนาดเล็กอุดตัวทั่วร่าง โดยเฉพาะที่ปอด
3
ทำให้ออกซิเจนยิ่งแย่ไปใหญ่
2
การใช้เครื่องช่วยหายใจ ก็ไม่เหมือนโรคปอดอักเสบทั่วไป เอาเป็นว่า ปวดหัวกว่าเดิมเยอะ
ลิ่มเลือดที่เกิด ก็เกิดในสมองก็มี เราเจอคนไข้หลายคน หายจากปอด แต่เป็น stroke แทนก็มี
5. ไวรัสกินหัวใจด้วยจ้า
2
ใช่ค่ะ พอนางเข้าร่างกาย นางก็ใช้ปอดเรา เป็นตัวเพิ่มปริมาณ แล้วนางก็เข้ากระแสเลือด ไปยังหลอดเลือดทั้งร่าง ทำให้เกิดลิ่มตามที่ว่า
แล้วยังไปยังหัวใจ เกาะหัวใจ แล้วทำให้หัวใจอักเสบ
7
การบีบตัวแย่ลง คนไข้ประมาณ 40% มีภาวะหัวใจที่ผิดปกติร่วมด้วย ทำให้เสียชีวิต
ความผิดปกติ มี 2 แบบหลักๆ คือ
-เต้นผิดจังหว่ะ
-บีบตัวไม่ดี
5
ตายได้ทั้งสองแบบ
2
ในมุมหมอ ชิบหายทั้งสองแบบ เพราะการช่วยประคองหัวใจ จะยุ่งยากกว่า การประคองปอดมากนัก
ยิ่งถ้าเต้นผิดจังหวะเฉียบพลัน การจะเข้าไปช่วยกู้ชีพครไข้กลุ่ทนี้ กว่าจะแต่งตัว กว่าจะช้อตไฟฟ้า คนไข้บางคนนอนคว่ำอยู่อีก
ใช้เวลานานกว่าปกติ
2
*การนอนคว่ำเป็นการรักษาภาวะออกซิเจนต่ำแบบหนึ่ง*
3
6. ไตวายก็มา
ใช่ค่ะ เทอไปถึงไตเลย ไตวายได้ แต่ยังดีที่เทอไม่ติดทางปัสสาวะ
3
คนไข้โควิด เวลาไตวาย มีได้หลายสาเหตุ แต่หนึ่งในนั้น คือจากตัวไวรัสเอง ซึ่งถ้าเป็นจากตัวไวรัสเอง พยากรณ์โรคไม่ดีเท่าไหร่นัก
7. เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย
แรกๆเหมือนจะเป็นเยอะ พอรักษาไป ทำท่าจะดูดี แล้วก็สุดท้าย ก็จะแย่ลงแบบ งงๆ
ซึ่งตอนนี้เราเห็นมากขึ้นแล้ว ว่าตอนแย่ลงเป็นจากปฏิกิริยาของร่างกายต่อเชื้อไวรัส
สิ่งที่เกิดคือ ไวรัสกับภูมิสู้กันอย่างดุเดือด (ดุเดือดมากๆๆๆจริงๆ) โดยร่างกายเป็นสนามรบ ซึ่งสนามรบหลักเลยคือ ปอดนั้นเอง
3
8. หายแล้ว แต่ยังไม่หาย
คนที่หายแล้ว หลายคน ไม่กลับไปเท่าเดิม เกิดแผลเป็นในปอดเยอะมากๆ ซึ่งเทียบกับโรคอื่น ดูเยอะกว่าโรคอื่นที่ระดับความรุนแรงใกล้เคียงกัน เยอะเลย
เอาเป็นว่า คนที่เป็นหนัก พอเป็นแล้ว กลับไปไม่เท่าเดิมเป็นส่วนมาก
2
9. ภูมิที่ร่างกายสร้าง
ถ้าเป็นตัวไวรัสอื่น เราประกาศชัดได้เลย ว่าไม่เป็นซ้ำ แต่อีตัวนี้ มันกลับสร้างไม่เยอะ
1
ใช่ค่ะ เจาะดูภูมิแล้วดูต่ำมาก หรือแม้แต่จะเอาเลือดคนที่หายแล้ว ไปให้คนป่วยอยู่ ก็ไม่ใช่ว่าจะใช้ได้ทุกคน บางคนไม่เจอภูมิ บางคนภูมิต่ำมาก
3
อันนี้ก็เสียววาบ แม้จะยัง"ไม่มี"ข้อมูลชัดเจน แต่สิ่งนี้อาจจะทำให้เราเป็นแล้ว เป็นอีกได้
2
นั่นแปลว่า Herd immunity อาจจะไม่เกิดขึ้นง่ายๆ ก็ได้
1
ที่เล่ามา คือ ความรู้ที่มีมากขึ้นของคุณเค้า บางคนอาจจะไม่ surprise ก็ได้ แต่สำหรับหมอ ยอมรับว่ายิ่งรู้จัก ยิ่งช้อค 555
2
โฆษณา