3 พ.ค. 2020 เวลา 06:55 • ประวัติศาสตร์
สัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ตัวใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา
ด้วยความสูง 3.5 เมตร และหนักกว่า 5 ตัน คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธความเป็นยักษ์ใหญ่ของช้างแอฟริกันได้ แต่ก่อนที่มันได้จะได้ชื่อว่าเป็นสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยนมที่ใหญ่ที่สุดบนโลกนั้น ย้อนกลับไปเมื่อ 37 ล้านปีก่อน ยังมีสัตว์โบราณชนิดหนึ่งที่ทำให้ช้างที่ตัวใหญ่ที่สุด ตัวเล็กไปถนัดตา
ด้วยความสูงถึง 5 เมตร ความยาวที่วัดจากจมูกจรดปลายหางที่ยาวถึง 8 เมตร และมีน้ำหนักกว่า 30 ตัน ปาราเซอราเธอเรียม (Paraceratherium) คือยักษ์ใหญ่ที่สุดที่เคยเดินอยู่บนโลกใบนี้ ซึ่งจากการค้นพบฟอสซิลจำนวนมากของมันในปี ค.ศ. 1910 ที่เมือง Balochistan ประเทศปากีสถาน
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่า ยักษ์เหล่านี้หากสามารถมีชีวิตรอดพ้นวัยเด็กไปได้ มันจะกลายเป็นสัตว์กินพืชที่ปราศจากนักล่าโดยสิ้นเชิง และสัตว์เพียงชนิดเดียวที่จะทำให้พวกมันบาดเจ็บได้ นั่นคือพวกเดียวกันที่เป็นตัวเต็มวัยและอยู่ในช่างฤดูผสมพันธุ์ เพราะมันอาจสู้กันเองโดยใช้ไหล่กระแทก หรือเอาหัวฟาดใส่กัน ซึ่งแรงพอจะทำให้กระดูก ร้าวหรือแตกได้เลย
แม้จะอยู่โดยไร้นักล่ามานานหลายสิบล้านปี แต่ดูเหมือนร่างกายที่ใหญ่โตของมันนั้นจะไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับสภาพอากาศและแหล่งอาหารที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน จนทำให้พวกมันสูญพันธุ์ไปจากโลกเมื่อราวๆ 23 ล้านปีก่อน และนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าในปัจจุบันไม่มีญาติใกล้ชิดร่วมสายพันธุ์ของมันเหลือแล้ว
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
WIKIPEDIA PD

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา