Vilas Pol รองศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเคมีของ Purdue University ผู้ที่วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับแบทเตอรี่กล่าวว่า "เราใช้กระบวนการฉายรังสีไมโครเวฟที่เร็วเป็นพิเศษเพื่อเปลี่ยนโพพลีเอทิลีนเทเรพทาเลต (PET) ให้กลายเป็น ไดโซเดียม เทเรพทาเลต (disodium terephthalate) และใช้เป็นวัสดุขั้วบวกแบตเตอรี่ เรากำลังช่วยแก้ไขการกักเก็บพลังงานทดแทน จากความต้องการที่เพิ่มขึ้น และการจัดการทรัพยากรพลังงานที่มีอย่างจำกัด"
ทีมของ Purdue Univesity ได้ทดลองวิธีนี้กับเซลล์แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนและโซเดียมไอออน โดยทำงานร่วมกับนักวิจัยจาก Indian Institute of Technology และ Tufts University ซึ่งเทคโนโลยีแบตเตอรี่ถูกนำเสนอในวารสาร ACS Sustainable Chemistry & Engineering อีกด้วย
รองศาสตราจารย์ Vilas Pol กล่าวว่า “การประยุกต์ใช้เทคนิคไมโครเวฟกับปฏิกิริยาอินทรีย์ได้รับความสนใจในช่วงเวลาที่ผ่านมาเนื่องจากความได้เปรียบในกระบวนการตอบสนองที่รวดเร็ว ซึ่งเราได้ทำการแปลง PET ให้เป็น diserephthalate อย่างสมบูรณ์ภายใน 120 วินาทีในการตั้งค่าไมโครเวฟในครัวเรือนทั่วไป โดยวัสดุที่ใช้ในเทคโนโลยีนี้มีต้นทุนต่ำยั่งยืนและสามารถรีไซเคิลได้