Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ตำราต้องห้าม
•
ติดตาม
3 พ.ค. 2020 เวลา 11:00 • ประวัติศาสตร์
ผู้ล่าและผู้ถูกล่า (HUNTER and PREY)
ย้อนรอยการไล่ล่า และสังหารกันเองของมวลมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน NEO - COLONIALISM
"การล่า" คือ สัญชาตญาณของมนุษย์ ?
ตลอดหลายร้อยหลายพันปีที่ผ่านมา บนดาวเคราะห์สีน้ำเงินที่แซมด้วยสีเขียวของผืนป่า สีขาวของผืนหิมะ สีน้ำเงินของมหาสมุทร และสีเทาของอารยธรรมเมืองมนุษย์ เป็นเพียงเวลาไม่กี่อึดใจตั้งแต่มนุษย์ได้ถือกำเนิดขึ้นมา โลกใบนี้ได้เปื้อนไปด้วยสีแดงฉานของเลือด ฉาบด้วยสีดำเทาของควันไฟและเขม่าดินปืน
2
แม้จะเกิดความสูญเสียขึ้นมากมาย แต่ในทุกๆ เหตุการณ์ความรุนแรงก็มักจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงให้กับมวลมนุษยชาติเสมอ อาจจะไม่สามารถเรียกว่าข้อดีได้ เป็นผลประโยชน์ทางอ้อมจากสงครามมากกว่า
ศาสตราจารย์ ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ อาจารย์จากภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นว่า “ไม่มีมนุษย์ธรรมดาคนไหนต้องการสงคราม เว้นเพียงแต่ผู้มีอำนาจ หรือคนที่ต้องการผลประโยชน์จากดินแดนอื่นๆ”
1
กลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่ต้องการสงคราม ซึ่งสงครามนั้นก็เป็นความต้องการเพื่อใช้ในการต่อรองผลประโยชน์ หรือเป็นความต้องการของตัวเองมากกว่าพลเมืองในรัฐ หลายครั้งการทำสงครามหรือการสู้รบที่ดูไม่มีเหตุผลรองรับเพียงพอ ผู้นำก็มีความพยายามในการให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับประเทศ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว กลุ่มคนที่ได้ประโยชน์จากความสูญเสียมากที่สุดก็คือ “ชนชั้นนำเองต่างหาก” [1]
1
สงครามคือสัณชาตญาณของมนุษย์หรือไม่ ? [รูปภาพโดย The matter]
สงครามจึงเป็นเรื่องของผลประโยชน์ การล่าอาณานิคมเป็นปฏิบัติการที่มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลของรัฐที่มีอำนาจ เช่น ฟีนีเซียมีอาณานิคมอยู่ที่ทางตอนเหนือของแอฟริกา (ประเทศตูนีเซียในปัจจุบัน) บรรดานครรัฐของกรีก ต่างก็มีอาณานิคมในแถบคาบสมุทรอิตาลี หรือจักรวรรดิโรมันอันยิ่งใหญ่ ที่มีอาณาเขตรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แผ่ขยายไปยังยุโรป แอฟริกา จรดถึงเอเชียไมเนอร์
ในยุคโบราณนั้นแรงจูงใจในการแสวงหาอาณานิคมนั้น ส่วนใหญ่แล้วประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 2-3 ประการด้วยกันคือ ความต้องการแสดงอำนาจและแสนยานุภาพ ความต้องการดินแดนเพื่อรองรับการขยายตัวของ ประชากร และความต้องการจุดแวะพักหรือศูนย์กลางแลกเปลี่ยนสินค้าในการค้าขายจนกระทั่งจักรวรรดิโรมันถูกพวกอารยชนที่ป่าเถื่อนเข้ามายึดครอง การล่าอาณานิคมก็พลอยชงักงันลงพร้อมไปกับความเจริญรุ่งเรืองของยุคโบราณด้วย
1
Roman emperor [รูปภาพโดย Art station]
ในเวลาต่อมา การล่าอาณานิคมเริ่มกลับมามีบทบาทขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อมนุษย์ชาวยุโรปเริ่มมีการตื่นรู้ พวกเขาได้ค่อยๆ ฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ และการพัฒนาทางด้านการค้าของตนเองในคริสต์ศตวรรษที่ 14-17 ภายหลังจากมหาสงครามครูเสด เนื่องจากชาวยุโรปถูกตัดขาดเส้นทางการค้าดังเดิมที่เชื่อมไปยังตะวันออกโดยอาณาจักรอิสลามอันเกรียงไกร
เมื่อมีการแสวงหาเส้นทางการค้าใหม่กับทางตะวันออก ด้วยความโชคร้ายในความโชคดี ทำให้นักเดินเรือแสวงโชคชาวอิตาลีภายใต้การสนับสนุนของราชสำนักสเปน ที่เสาะแสวงหาเส้นทางเดินเรือไปยังอินเดียนาม คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ทำให้มีการค้นพบโลกใหม่หรือทวีปอเมริกาขึ้นอย่างเป็นทางการในหมู่ชาวยุโรป ซึ่งเรื่องนี้ช่วยเพิ่มปริมาณความต้องการทางการค้ามากขึ้นอย่างมหาศาล
ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 18-19 ได้มีปรากฎการณ์หนึ่งเกิดขึ้นที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ ตามมาอย่างมากมาย และเป็นแรงจูงใจอันแสนเย้ายวนในการออกล่าอาณานิคมมากขึ้นอีกด้วย ปรากฎการณ์ที่ว่านั้นก็คือ Industrial Revolution
การปฏิวัติอุตสาหกรรม ค.ศ. 1800-1900 [รูปภาพโดย billbrandt.com]
การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้สินค้าได้รับการผลิตในปริมาณที่มากขึ้นและภายในเวลาที่รวดเร็วขึ้นซึ่งทำให้เกิดความต้องการวัตถุดิบเพื่อนำมาป้อนในกระบวนการผลิตในปริมาณที่มากขึ้นและความต้องการแหล่งที่จะเป็นตลาดเพื่อระบายสินค้าต่างๆเหล่านั้นตามมาด้วย
จากแรงจูงใจที่มีองค์ประกอบปัจจัยเพิ่มเติมเข้ามาหลายด้านครอบคลุมรวมทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ทำให้การล่าอาณานิคมในช่วงหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมมีลักษณะที่บ่งบอกถึงความต้องการในการขยายอำนาจของชาติมหาอำนาจที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเมื่อมีลักษณะเป็นเช่นนี้การแข่งขันเพื่อช่วงชิงผลประโยชน์ระหว่างชาติมหาอำนาจจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นการล่าอาณานิคม (Colonialism) ในช่วงหลังนี้บางครั้งจึงมีการเรียกขานกันว่าลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism) หรือความนิยมในการสร้างจักรวรรดิของชาติมหาอำนาจซึ่งก็มีลักษณะและรูปแบบที่มากมายหลากหลายมากยิ่งขึ้น
1
สงครามสเปนแอชเท็ก [รูปภาพโดย เพจ Histofun Deluxe]
จาการแข่งขันช่วงชิงเพื่อแสวงหาผลประโยชน์นี้ บางครั้งก็เกิดความขัดแย้งกันเอง เกิดการการแสวงหาพันธมิตร เกิดการการแบ่งค่าย เกิดการการสร้างดุลแห่งอำนาจ และท้ายที่สุด มักจะลงเอยด้วยการล่มสลายและพ่ายแพ้ของผู้ที่อ่อนแอกว่า หลงเหลือแต่เพียงคำว่า “ผู้ล่าและผู้ถูกล่า” จารึกไว้ในแผ่นดิน
การมาถึงของชาวสเปนในช่วงปี ค.ศ. 1517 ทำให้อาณาจักรมายาที่มีอายุยาวนานกว่า 3,000 ปี ถึงกาลสิ้นสุดลงในราว ค.ศ.1519 โดยกองทัพสเปน และในเวลาไล่เลี่ยกัน อารยธรรมแอซเท็กเริ่มที่จะเสื่อมถอยลง และหลังจากนั้นเพียง 4 ปี อาณาจักรแห่งนี้ก็ได้ล่มสลาย โดยกองทัพสเปน ภายใต้การนำของ เฮอร์นัน คอร์เตส (Hernan Cortes) ในปี ค.ศ. 1521
1
ความเป็นผู้ล่ายังไม่สิ้นสุดลงแต่เพียงเท่านั้น กองทัพสเปนยังคงออกล่าเหยื่ออย่างหิวกระหายราวฝูงสัตว์ที่อดอยาก พวกมันกระเสือกกระสนลงใต้ ปีนขึ้นไปบนเขาสูงชัน ยังแนวเทือกเขาแอนดีส มันได้พบกับมหาอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้อย่างอาณาจักรอินคา อาณาจักรที่เร้นกายอยู่ในป่าเขาใช้ชีวิตอย่างสันโดษและเรียบง่าย แต่ก็มิอาจรอดพ้นเงื้อมมือผู้ล่าที่ไม่รู้จักพอได้ และก็ได้ล่มสลายลงอย่างหมดสภาพในปี ค.ศ. 1532 โดยกองทัพสเปนเจ้าเก่านำโดย ฟรานซิสโก้ ปีซาร์โร่ (Francisco Pizarro) [3]
1
มหานครเตนอคทิตลัน เมืองหลวงของอาณาแอชเท็ก [รูปภาพโดย เพจ Histofun Deluxe]
ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ มีทรัพยากรจำนวนมหาศาล อันเป็นที่ต้องการของชาวยุโรป นอกจากนี้ยังเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญเชื่อมต่อกับโลกใหม่และทวีปเอเชีย ในเวลานั้นชาวยุโรปยังไม่เคยเข้าไปสำรวจถึงใจกลางทวีป จนกระทั่งในช่วง 30 ปีสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อมีความพยายามจะเผยแผ่ศาสนาไปในหมู่ชาวแอฟริกา โดยพวกมิชชันนารี ทำให้มีการสำรวจดินแดนใจกลางทวีปขึ้น พร้อมกันนั้นก็มีนักวิทยาศาสตร์และนักสำรวจติดตามไปด้วย พวกนี้ได้นำเอาเรื่องราวการค้นพบแหล่งทรัพยากรที่สมบูรณ์มาเผยแพร่ ทำให้นักลงทุนโดยการสนับสนุนของรัฐบาลเริ่มเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์มากยิ่งขึ้น ในไม่ช้าก็เกิดการแย่งชิงกรรมสิทธิ์หรือการเข้าครอบครอง
1
ใน ค.ศ. 1885 เยอรมนีโดยการนำของบิสมาร์คได้จัดให้มีการประชุมในกรุงเบอร์ลินว่าด้วยข้อตกลงเกี่ยวกับการเข้าครอบครองดินแดนในทวีปแอฟริกา ที่ประชุมตกลงกันว่าชาติใดที่มีดินแดนอยู่ตามชายฝั่งสามารถยึดครองพื้นที่ที่ลึกเข้าไปได้ โดยการส่งคนไปปกครองดูแลและประกาศการเข้ายึดครองอย่างเป็นทางการ
นับตั้งแต่นั้นมาดินแดนในทวีปแอฟริกาก็ถูกแบ่งแยกออกเป็นส่วนๆ โดยการเข้าครอบครองของอังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และเยอรมนี ส่วนโปรตุเกสนั้นยังคงรักษาสถานีการค้าของตนไว้ได้ที่อังโกลาและโมซัมบิก
การเข้ายึดครองแอฟริกาของชาวยุโรปในครั้งนั้นมีข้ออ้าง 3 ประการ คือ
1. เพื่อเปิดประตูการค้าให้กว้างขวางตลอดทั่วภาคพื้นทวีป
2.เพื่อปลดปล่อยชนเผ่าต่างๆให้เป็นอิสระจากพวกนักค้าทาสชาวอาหรับ
3.เพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนาไปยังดินแดนที่ชาวยุโรปเรียกว่ากาฬทวีป (Dark Continent)
1
Germany - Africa war
หลังจากนั้นเพียง 30 ปี ของการเข้าแย่งชิงผลประโยชน์แอฟริกาทั้งทวีป ยกเว้นไลบีเรียกับเอธิโอเปีย ก็ตกเป็นอาณานิคมของชาวยุโรปจนหมดสิ้น
ผลของการล่าอาณานิคมในแอฟริกาอย่างการกำหนดเขตแดนของแอฟริกาโดยชาวยุโรป กระทำไปโดยไม่คำนึงถึงภาษาและเผ่าพันธุ์ของประชากรในพื้นที่นั้นๆ จะเห็นได้จากอาณาเขตของหลายประเทศที่ปรากฏในแผนที่จะมีการลากเป็นเส้นตรง ด้วยเหตุนี้ภายหลังที่ชาติเหล่านี้ได้เอกราชจึงเกิดปัญหาความเป็นเอกภาพภายในชาติมาจนถึงทุกวันนี้
1
ยิ่งไปกว่านั้น ชาวยุโรปได้เข้าเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวพื้นเมือง ด้วยการบังคับแรงงานชาวพื้นเมืองให้สร้างถนน ขุดเหมืองแร่ ขุดดิน ด้วยเวลาการทำงานที่ยาวนานกว่าปกติมีการนำเอาพืชใหม่ๆมาปลูก เช่น ยางพารา โกโก้ แทนที่พื้นดินที่เคยใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ ล่าสัตว์ และที่อยู่อาศัยของชาวพื้นเมือง มีการกวาดต้อนเผ่าชนทั้งเผ่าไปอยู่ในบริเวณที่กำหนดไว้ แยกผู้ชายออกจากครอบครัวแล้วส่งไปทำงานยังที่ห่างไกล ถ้าใครขัดขืนก็จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง เช่น ตัดมือ ยิงเป้า เป็นต้น [2]
2
สงครามอันป่าเถื่อนระหว่างชาวยุโรปและชาวพื้นเมืองแอฟริกา [รูปภาพโดย Tumblr]
ยังไม่รวมถึงประเทศอื่นๆ ที่ถูกล่าอย่างราชวงศ์ชิงของจีน ราชวงศ์โมกุลของอินเดีย ราชวงศ์คองบองพม่า หรือราชวงศ์จักรีของสยาม เป็นต้น ที่ต้องอยู่อย่างหวาดระแวงจากการคุกคามของผู้ล่า ซึ่งต่างเป็นประเทศที่มีพลังอำนาจทางการทหาร และอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ล้ำสมัยกว่า จากเอกสารพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเจ้าพระยาทิพากรวงศามหาโกษาธิบดีได้บันทึกพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เมื่อใกล้สวรรคตพระราชทานแก่ขุนนาง ตลอดจนข้าราชบริพารที่เข้าเฝ้าฯ ไว้ว่า
“การศึกสงครามข้างญวน ข้างพม่า ก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้”
แต่ไม่ว่าพระวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะยาวไกลเพียงใด สยามประเทศของเราก็ไม่อาจรอดพ้นกรงเล็บของพญาราชสีห์ไปได้โดยสะดวก ต้องถูกเฉือนแขน เฉือนขาออกทีละนิด ยอมสูญเสียดินแดนบางส่วน เพื่อรักษาพื้นที่สำคัญทางภาคกลางไว้ให้เรายังพอมีชีวิตอยู่ต่อไปได้
ในปัจจุบันเมื่อโลกเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคที่การสื่อสารที่รวดเร็ว มนุษย์ทั่วโลกสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้โดยง่าย ไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดก็สามารถรับรู้และรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว อันสืบเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ การสื่อสารคมนาคมที่รวดเร็ว
Second opium war สงครามฝิ่นครั้งที่สอง
ทำให้เกิดสภาวการณ์ไรพรมแดนของเงินตรา ซึ่งสามารถไหลไปกระจุกตัวทุกหนทุกแห่งในโลกได้ ทุกครั้งที่เกิดการไหลเข้าของทุนมหาศาลจากทั่วโลกไปกระจุกตัวอยู่ที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง ก็จะก่อให้เกิดการพองตัวของทุนอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการแสวงหากำไรแบบใหม่ขึ้น ทำให้สงครามในโลกยุคนี้มักจะมาอยู่ในรูปของสงครามการค้า อัตราการเสียชีวิตของมนุษย์ลดน้อยลง มนุษย์มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ ความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตมีมากขึ้นด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม แต่ทั้งนี้ ต้องแลกมาด้วยการใช้ทรัพยากรบนโลกที่สูงขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการจากการที่มีประชากรเพิ่มขึ้น ในขณะที่ทรัพยากรบนโลกมีจำนวนจำกัด และเริ่มเสื่อมลงไปทุกวันๆ ท้ายที่สุดก็วนกลับมาเรื่องของการแสวงหา และแย่งชิงทรัพยากรใหม่ๆ เหมือนดังในอดีต
เมื่อปี 2018 อีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำอย่าง SpaceX และ Teala แถลงว่าเตรียมจะทำการทดสอบจรวด BFR ซึ่งทำหน้าที่เป็นยานอวกาศขนส่งมนุษย์ไปยังดาวอังคารและดาวดวงอื่น ๆ และได้ก่อตั้งแคมเปญ สร้างอาณานิคมบนดาวอังคาร (COLONIZATION OF MARS) หากสำเร็จก็อาจนำไปสู่โครงการสร้างอาณานิคมในอวกาศ (Space colonization) ก็เป็นได้
Elon musk ไอรอนแมนในชีวิตจริง
แม้จะมีการถกเถียงกันอยู่มากมาย สำหรับประเด็นเรื่องอาณานิคมในอวกาศ หรือการไปตั้งถิ่นฐานอยู่นอกโลกแบบถาวร แต่สาระสำคัญหลักๆ ว่าทำไมเราจึงจะต้องออกไปจากโลกเพื่อไปอยู่ในอวกาศ เช่น การย้ายไปอยู่บนดาวเคราะห์น้อย, ดวงจันทร์, ดาวเคราะห์ หรือ สิ่งก่อสร้างในอวกาศในวงโคจร) ประการแรก คือ เพื่อความอยู่รอดของอารยธรรมมนุษย์ หากเกิดกรณีภัยพิบัติในระดับดาวเคราะห์ (planetary-scale disaster) อันเนื่องมาจากภัยทางธรรมชาติ หรือ น้ำมือมนุษย์ด้วยกันเอง ประการที่สอง คือ เพื่อออกแสวงหาแหล่งทรัพยากรที่มีมากมายในอวกาศ ประการต่อมา คือ เพื่อขยายสังคมมนุษย์เพิ่มเติมออกไปยังดินแดนอันห่างไกล และประการสุดท้าย คือ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการทรัพยากรของมนุษย์ที่มีเพิ่มมากขึ้น
1.เพื่อความอยู่รอดของอารยธรรมมนุษย์
ในคำตอบของเหตุผลนี้ได้ถูกอธิบายเอาไว้อย่างละเอียดที่สุด และจัดได้ว่าเป็นหัวข้อหลักของการถกเถียงเลยด้วยซ้ำในเรื่องที่เรียกว่า “นิคมอวกาศคือการอยู่รอดในระยะยาวของอารยธรรมมนุษย์” เพื่อหนีความไม่แน่นอนและหลีกเลี่ยงได้ยากของเหตุการณ์ภัยพิบัติระดับรุนแรงทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นดาวเคราะห์น้อยพุ่งชน, แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟระเบิด, คลื่นน้ำหรือแม้กระทั่งภัยจากมนุษย์ด้วยกันเองที่ก่อขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสงครามนิวเคลียร์, ภาวะโลกร้อน จากการที่มนุษย์ได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่อากาศ เป็นต้น
Artist les Bossinas 1989 concept of Mars mission NASA [รูปภาพโดย เพจ Sci ways]
ในปี ค.ศ. 2001 นักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา “สตีเฟน ฮอว์กิง” (Stephen Hawking) ก็เคยได้ออกมาทำนายเอาไว้ว่า เผ่าพันธ์มนุษย์เสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ในอีก 1,000 ปี ข้างหน้า เว้นเสียแต่ว่าเราสามารถสร้างแหล่งอยู่อาศัยในอวกาศได้ ต่อมาในปี ค.ศ. 2006 ฮอว์กิงก็ได้ออกมากล่าวว่า มนุษย์ชาติต้องเผชิญเข้ากับทางเลือกสองทาง นั่นก็คือมนุษย์จะต้องมีแหล่งอาณานิคมอยู่ในอวกาศให้ได้ภายใน 200 ปีข้างหน้า และสร้างถิ่นอาศัยอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น ไม่เช่นนั้นมนุษย์ก็จะต้องเผชิญเข้ากับการสูญพันธุ์ในระยะยาวอยู่บนพื้นโลก
2.มีทรัพยากรมากมายในอวกาศ
แหล่งทรัพยากรในอวกาศ มีทั้งวัตถุดิบและพลังงานอยู่เป็นจำนวนมาก เพียงแค่ระบบสุริยะของเราก็มีแหล่งทรัพยากรมากเพียงพอที่จะรองรับ และสนับสนุนการดำรงอยู่ของมนุษย์นับพันล้านเท่าของปริมาณความต้องการเราในปัจจุบัน
3.การเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์
การเพิ่มจำนวนของมนุษย์และเทคโนโลยีนั้นมักส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้รับความเสียหาย ซึ่งไปทำลายระบบนิเวศธรรมชาติของสัตว์ป่า ซึ่งจากการเรียนรู้เรื่องราวของประวัติศาสตร์มนุษย์ก็พบว่า ในยุคของการล่าอาณานิคมนั้น ประเทศที่เจริญแล้วมักบุกเข้าไปรุกรานยังแหล่งพื้นที่ต่างๆที่ด้อยการพัฒนา ซึ่งผลก็คือ ทำให้เกิดการไปขับไล่ชนชาวพื้นเมืองให้ล่นถอยออกไป อีกทั้งบางส่วนยังถูกนำมาใช้เป็นทาสแรงงานอีกด้วย ซึ่งเมื่อเวลาต่อมาเราจึงเริ่มมีการเรียนรู้แล้วว่าการกระทำในอดีตเช่นนั้นมันไร้ซึ้งมนุษยธรรมจริงๆ แต่ในขณะที่พื้นที่ในอวกาศนั้นไม่ได้มีชีวิตหลากหลายอาศัยอยู่ดังเช่นบนพื้นโลก ดังนั้นผลกระทบต่อเนื่องดังเช่นในอดีต จึงไม่มีทางเกิดขึ้น หรือไม่ ?
คอนเซปต์ของอาณานิคมบนดาวดวงตันทร์ [รูปภาพโดย เพจ Sci ways]
4.ความต้องการทรัพยากรมีมากเกินไป
อีกหนึ่งเหตุผลที่จำเป็นจะต้องมีอาณานิคมในอวกาศก็คือ เพื่อลดผลกระทบอันเนื่องมาจากการที่โลกของเรา มีจำนวนประชากรเยอะมากเกินไป ดังนั้นถ้าแหล่งทรัพยากรในอวกาศเปิดกว้างพอจะสนันสนุนสิ่งก่อสร้างมารองรับแหล่งอยู่อาศัยของมนุษย์ เราก็จะสามารถควบคุมการเจริญเติบโตของมลภาวะต่างๆบนโลกได้ อีกทั้งอาณานิคมนอกโลกนั้น จะสามารถตอบสนองความต้องการทรัพยากรส่วนใหญ่ของโลก ดังนั้นเมื่อเกิดความต้องการทรัพยากรนอกโลกเพิ่มขึ้น ปริมาณความต้องการทรัพยากรบนโลกก็จะลดลงตามมา ซึ่งก็จะส่งผลดีต่อโลกเองด้วย ที่เป็นแหล่งอยู่อาศัยของชีวิตทางธรรมชาติ
1
จากโครงการสร้างอาณานิคมบนดาวอังคารซึ่งอาจนำไปสู่การสร้างอาณานิคมในอวกาศของ อีลอน มัสก์ ข้าพเจ้าคิดว่า ท่านทั้งหลายคงจะพอคุ้นๆ กับเหตุการณ์ที่กล่าวมาข้างต้น เสมือนกับเหตุการณ์เดจาวูที่ผ่านมาในอดีตบ้างหรือไม่เล่า ?
เผ่าพันธ์มนุษย์เสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ในอีก 1,000 ปี ข้างหน้า และมนุษย์จะต้องสร้างอาณานิคมนอกโลกให้ได้ภายใน 200 ปี ไม่เช่นนั้นเราจะตายอยู่บนโลกใบนี้ กล่าวโดยสตีเฟน ฮอว์กิง ในปี 2001 และ 2006 [รูปภาพโดย NASA/Paul Alers]
เสียงคัดค้านที่พบได้บ่อยที่สุดต่อการสร้างนิคมอวกาศจากผู้ทรงภูมิทั้งหลายก็คือ ความกังวลว่าด้วยเรื่องของการที่มีแหล่งทรัพยากรอยู่เต็มไปหมดในจักรวาลนั้น อาจกลายเป็นแรงจูงใจ ให้แก่ผู้มีอำนาจได้เกิดความสนใจอย่างแรงกล้า ซึ่งนั่นจะไปส่งผลโดยตรงต่อสถาบันหลักอย่าง เศรษฐกิจ รวมไปถึงทางการทหาร ซึ่งอาจไปเร่งให้เกิดกระบวนการขัดแย้งได้เร็วขึ้น เช่น สงคราม, เศรษฐกิจ และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม
แต่เหตุการณ์ทุกอย่างได้เปลี่ยนไปเมื่อมีข่าวจากกองทัพเรือสหรัฐ ยืนยันคลิปหลุด UFO เป็นของจริง ตีคู่เครื่องบินทหาร ก่อนเร่งหนีเซนเซอร์ โดยกองทัพเรือสหรัฐ ยืนยันว่า คลิปวัตถุบินได้ที่ระบุสัญชาติไม่ได้ (ยูเอฟโอ) ที่ถ่ายเมื่อปี 2547 และปี 2558 แต่เพิ่งหลุดออกมาเมื่อปี 2560-2561 จำนวน 3 คลิป ที่กำลังถูกแชร์ในโซเชียลมีเดียขณะนี้ เป็นคลิปของจริง [5]
ถ้าให้จัดกลุ่มอารยธรรมของสิ่งมีชีวิตตามเกณฑ์ของ The Kardashev Scale จะแบ่งตามความสามารถในการใช้พลังงานของสิ่งมีชีวิต
Type 1: สามารถใช้พลังงานทั้งหมดบนดาวที่เขาอยู่ ซึ่งตอนนี้มนุษย์โลกยังอยู่ในระดับที่ Type 0.73 ยังไม่ถึง
Type 2: ใช้พลังงานจากดวงอาทิตย์ของเขาได้ เช่น การสร้างวัตถุห่อหุ้มดวงอาทิตย์
Type 3: กลุ่มนี้จะเหนือชั้นสุดคือ ใช้พลังงานจากทั้งกาแล็กซีของเขาได้ [6]
กองทัพสหรัฐยืนยัน บันทึกวิดิโอ UFO เป็นของจริง [รูปภาพโดย Sanook.com]
อ่านมาถึงตรงนี้ ถ้าเราเจอ UFO เราก็น่าจะเจอสิ่งมีชีวิตประเภท Type 3 หรือประเภทฉลาดล้ำสุดๆ สามารถเดินทางข้ามกาแล็กซีได้ ซึ่งสามารถตีความหมายทางชีววิทยาได้ว่า ตอนนี้เรากำลังอยู่ในสถานะผู้ถูกล่ามากกว่าผู้ล่าอย่างเห็นได้ชัด
เรากำลังจะเผชิญกับการล่าอาณานิคมจากต่างดาวอยู่หรือไม่ ?
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า ขนาดสิ่งมีชีวิต Type 0.73 อย่างมนุษย์โลกที่ยังไม่ถึงขั้น Type 1 เสียด้วยซ้ำ ยังมีความคิดที่จะขยายอาณาเขตเพื่อความอยู่รอดมาตั้งเเต่สมัยบรรพกาล แล้วสิ่งมีชีวิตชั้นสูงจากภายนอกคงจะมีความคิดที่ไม่ได้สลับซับซ้อนเช่นนี้ได้ไม่ยากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อได้เจอกับผู้ถูกล่าที่อ่อนแอกว่า บนแหล่งที่มีทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่น่าคิด แต่สุดท้ายพวกมนุษย์ต่างดาวจะมีความคิดเช่นไร พวกเราคงทำได้เพียงติดตามดูกันต่อไป
28 เม.ย. 2020 รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น นายโคโนะ กล่าวว่า กองกำลังป้องกันตนเอง ได้เตรียมกำหนดขั้นตอนสำหรับผู้ที่ต้องเผชิญหน้ากับ UFO แล้ว [รูปภาพโดย เพจ ครบเครื่องเรื่องญี่ปุ่น]
แหล่งอ้างอิง
[1] PIRAPORN WITOORUT. (2020, January 12). ความกระหายสงครามที่ยังไม่หายไป ทำไมการรบราฆ่าฟันถึงยังเป็นทางเลือก. THE MATTER (Online) สืบค้นจาก
https://thematter.co/social/just-war-theory/97229
[2] จูมง. (2012, July 1). ลัทธิล่าอาณานิคม. (Online) สืบค้นจาก
http://history-ofthailand.blogspot.com/2012/07/blog-post.html
[3] เพจ Histofun DELUXE. (2020, April 1). แอซเท็ก/มายา/อินคา 3 อารยธรรมยิ่งใหญ่แห่งทวีปอเมริกา. (Online) สืบค้นจาก
https://www.blockdit.com/posts/5e843a46166f9c0c88fb4bc9
[4] Sci Ways. (2019, December 19). อาณานิคมในอวกาศ (Space colonization) การตั้งถิ่นฐานบนดาวดวงอื่น –ฉบับสมบูรณ์. (Online) สืบค้นจาก
https://www.sciways.co/space-colonization/
[5] Komkrit Duangmanee. (2019, September 19). กองทัพเรือสหรัฐ ยืนยันคลิปหลุด UFO เป็นของจริง ตีคู่เครื่องบินทหาร ก่อนเร่งหนีเซนเซอร์. (Online) สืบค้นจาก
https://www.sanook.com/news/7900926/
[6] ลงทุนแมน. (2020 May, 4). สรุปเรื่อง มนุษย์ต่างดาว ฉบับสมบูรณ์. (Online) สืบค้นจาก
https://www.facebook.com/longtunman/
77 บันทึก
82
7
50
77
82
7
50
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย