4 พ.ค. 2020 เวลา 01:00 • สุขภาพ
เลือกยาแก้ไอในท้องตลาด มีอะไรบ้าง⁉️
👊วิธีเลือกให้เหมาะสมกับอาการไอ 🤔
🗣 อาการไอ เป็นการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น ควัน การติดเชื้อในทางเดินหายใจ การสูบบุหรี่ เป็นต้น 💭
🗣 นอกจากนี้สาเหตุของการไอก็อาจมาจากยาที่รับประทานอยู่ เช่น ยาลดความดัน กลุ่ม ACE inhibitors เช่น Enalapril ที่ทำให้มีอาการไอแห้งได้ในบางราย หรือยารักษาโรคกระดูกพรุน กลุ่ม Bisphosphonates เช่น Alendronate โดยถ้ารับประทานไม่ถูกต้องจะทำให้ระคายเคืองหลอดอาหารทำให้ไอได้
🗣🗣🗣เวลามีอาการไอ เวลาไปหาหมอที่โรงพยาบาล หรือไปซื้อยาตามร้านขายยา มักจะต้องถูกถามว่า ไอแบบไหนครับ?
1⃣“ไอมีเสมหะ” หรือ
2⃣ “ไอไม่มีเสมหะ”
🤔🤔🤔🤔🤔🤔
เพราะยาที่ใช้บรรเทาอาการไอนั้นจะต้องใช้ให้ถูกต้องกับอาการไอด้วย ✔️
1⃣ ไอเเบบไม่มีเสมหะ หรือ ไอแห้งๆ
🚨 การไอแบบนี้ มักใช้ยาที่มีฤทธิ์กดศูนย์ควบคุมการไอที่สมอง โดยมีทั้งที่ทำให้เสพติดเมื่อใช้ติดต่อกันนานๆ เช่น codeine (โคเดอีน)
ซึ่งยาแก้ไอที่มี codeine เป็นส่วนประกอบจะจัดเป็นยาเสพติดประเภทที่ 3❗️
อาการไม่พึงประสงค์ ได้แก่ ง่วงซึม วิงเวียนศรีษะ ท้องผูก เป็นต้น 😵
🚨ส่วนยาที่มีฤทธิ์กดศูนย์การไอที่สมองและไม่ทำให้เสพติด 🙅 ได้เเก่
dextromethorphan (เด็กโตรเมโทแฟน) และ diphenhydramine (ไดเฟนไฮดรามีน) เป็นต้น
2⃣ ไอแบบมีเสมหะ
อาจเเบ่งยาเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
2.1. ยาขับเสมหะ (Expectorants) ออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายสร้างสารน้ำออกมาหล่อเลี้ยงทางเดินหายใจมากขึ้น ลดความเหนียวของเสมหะลงทำให้ออกมาง่ายขึ้น ตัวอย่างยาที่พบได้บ่อย ได้เเก่ Guaifenesin(Glyceryl guaiacolate) ส่วนมากมักจะผสมอยู่กับยาบรรเทาอาการไอกลไกอื่นๆ
2.2 ยาละลายเสมหะ (Mucolytic) ออกฤทธิ์ทำให้เสมหะมีความเหนียวลดลง โดยตัวอย่างยาละลายเสมหะ ได้เเก่ Bromhexine, Ambroxol, Acetylcysteine, Carbocysteine เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมียาช่วยลดการไอเฉพาะที่ เช่น Menthol, Lidocaine, Benzocaine ซึ่งเป็นส่วนผสมในยาอมแก้เจ็บคอหรือสเปรย์พ่นคอแก้เจ็บคอ ช่วยลดการระคายเคืองคอได้🤗🤗
⚠️ ในการใช้ยาบรรเทาอาการไอ บางครั้งอาจได้รับยาสูตรที่มีตัวยาเเก้ไอหลายชนิดผสมกัน หรืออาจได้รับยาแก้ไอเดี่ยวๆมากกว่าหนึ่งชนิดพร้อมกัน ซึ่งการเลือกใช้ยาควรเลือกยาที่ออกฤทธิ์คนละกลไกกัน เช่น ใช้ยาขับเสมหะร่วมกับยาละลายเสมหะ หรือ ยากดการไอร่วมกับยาขับเสมหะ
❌ ไม่ควรใช้กลุ่มเดียวกันซ้ำกัน เพราะไม่ได้ทำให้มีประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้น
ทั้งนี้ หากมีอาการไอเล็กน้อย อาจจะดื่มน้ำอุ่นๆ พักผ่อนให้เพียงพอ ก็อาจทำให้อาการไอลดลงได้ และไม่ต้องพึ่งยาโดยไม่จำเป็นด้วยนะครับ👍 🍯
#ยา #ยาแก้ไอ #สุขภาพ #ความรู้ #เภสัชกร #ยาcafe #ยาcafebyเภโจม
Reference:
1. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน เรื่อง ยาแก้ไอมีกี่แบบ อาจารย์ เภสัชกร ธีรัตถ์ เหลืองมั่นคง
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลhttps://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/169/ยาแก้ไอ-มีกี่แบบ/
2. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน เรื่อง ไอ....ใช้ยาอะไรดี รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ. ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/309/ไอ.....ใช้ยาอะไรดี

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา