4 พ.ค. 2020 เวลา 03:36 • ธุรกิจ
ส่องความคิดVIของปู่ Warren Buffett
ตั้งแต่การระบาดที่หนักขึ้นของไวรัสตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลกระทบไปยังเกือบทุกภาคส่วนทั่วมุมโลก ธุรกิจต่างๆได้รับความเสียหายจากการดำเนินมาตรการของแต่ละประเทศ เช่น การ Lock down เพื่อลดการติดต่อกันของผู้คนในสังคม
ตลาดหุ้นปรับตัวลงทั่วโลก นักลงทุนแห่ถอนเงินออกจากบริษัทต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่ Berkshire Hathaway ห้างหุ้นส่วนชื่อดังของปู่ Warren Buffett นักลงทุนสาย VI ที่ประสบความสำเร็จจนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
ตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมา หุ้น Class A ของ Berkshire Hathaway ตกลงมาแล้วประมาณ 20% แย่กว่าภาพรวมจากดัชนี S&P 500 ที่หล่นมา 12%
ล่าสุดในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีของ Berkshire ซึ่งในปีนี้เป็นการจัดผ่าน Video Conference. Buffett ได้ชี้แจงอย่างเป็นทางการว่าเขาได้ขายหุ้นสายการบินที่ Berkshire ถือทั้ง Delta Air Line, Southwest Airlines, American Airlines, United Airlines รวมมูลค่ากว่า 210,000 ล้านบาท ทิ้งทั้งหมด
ที่มา : https://www.cnbc.com/2020/05/02/warren-buffett-says-berkshire-sold-its-entire-position-in-airlines-because-of-the-coronavirus.html
เหตุผลที่ขายหุ้นสายการบินทั้งหมดเพราะมองว่าพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใช้บริการสายการบินได้เปลี่ยนไปจากการระบาดของไวรัส และหวังว่าพวกเขา(สายการบิน)จะโชคดีในอนาคตต่อไป
จากการเทขายหุ้นในพอร์ตอย่างหนักบวกกับการไม่ค่อยซื้ออะไรเพิ่มนอกจากซื้อหุ้นตัวเองคืนบางส่วน ทำให้ Berkshire ถือเงินสดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
- ต้นปี 2017 Berkshire ถือเงินสดอยู่ 3.1 ล้านล้านบาท
- ต้นปี 2018 Berkshire ถือเงินสดอยู่ 3.5 ล้านล้านบาท
- ปัจจุบัน Berkshire ถือเงินสดอยู่ 4.4 ล้านล้านบาท
Buffet บอกว่า Berkshire จะยังคงไม่ซื้ออะไรในตลาดตอนนี้และถือเงินสดต่อไปจนกว่าจะเห็นโอกาศดีที่จะเข้าซื้อหุ้นของซักบริษัท ซึ่งอาจเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งปีจากนี้
ในขณะที่ตอนนี้เหมือนว่าราคาหุ้นแต่ละตัวกำลังลดราคากันกระหน่ำ บวกกับมาตรการช่วยเหลือจากทั้งธนาคารกลางและรัฐบาล ที่ทำให้หลายคนเริ่มมองว่าเป็นโอกาศเข้าซื้อจนทำให้ตลาดหุ้นหลายประเทศปรับตัวขึ้นท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดที่ยังไม่คลี่คลายมากนัก
ทำไมปู่ Buffett ยังยืนยันที่จะถือเงินสดและยังไม่ซื้ออะไรในตอนนี้...
มูลเหตุหลักน่าจะมาจากความยึดมั่นถือมั่นในแนวทางการลงทุนสไตล์ VI ในแบบฉบับของ Benjamin Greham อาจารย์ที่เป็นที่เคารพรับถือของ Buffett ตั้งเเต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย และเรียกว่าเป็นบิดาแห่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่าหรือ VI ที่เราเรียกกัน
ที่มา : https://medium.com/@christianq010/building-wealth-using-the-principles-of-graham-and-dodd-ff5e5afc2466
หลักการคร่าวๆของแนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่าของเกรแฮมโดยคร่าวๆคือ
1.การวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ข้อนี้เหมือนการวิเคราะห์โดยใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ การลงทุนในธุรกิจหมายความว่าคุณกำลังจะเข้าไปเป็นข้าวของธุรกิจนั้นๆ ดังนั้นจึงควรตั้งคำถามต่างๆดังนี้
- ประวัติการทำกำไรของบริษัทเป็นอย่างไร
- ธุรกิจมีชื่อเสียงอันดีในสายตาลูกค้าหรือไม่
- สัดส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ไม่มากใช่หรือไม่
- ความสามารถในการแข่งขันเป็นอย่างไร คู่แข่งมีใครบ้าง
- ผู้บริหารมีความสามารถ และซื่อสัตย์หรือไม่
2.การมองหา”ส่วนต่างของความปลอดภัย(Margin of Safety)” ส่วนต่างความปลอดภัยคือส่วนต่างระหว่างมูลค่าที่ตลาดตั้งไว้ กับมูลค่าที่แท้จริงที่ประเมิณได้
ยกตัวอย่างเช่น มูลค่าตลาดของบริษัท A อยู่ที่ 100 ล้านบาท แต่จากการประเมิณมูลค่าบริษัทจากหลายปัจจัยแล้วคาดว่ามูลค่าที่แท้จริงของบริษัท A อยู่ที่ 500 ล้านบาท ฉะนั้นส่วนต่างความปลอดภัยของบริษัท A คือ 400ล้านบาท
แนวคิดนี้เชื่อว่าเมื่อถือครองสินทรัพย์นั้นไปเรื่อยๆมูลค่าตลาดจะค่อยๆปรับเข้าสู่มูลค่าที่แท้จริงในอนาคต เพราะฉะนั้นหากมีส่วนต่างความปลอดภัยยิ่งมากยิ่งมีโอกาศสร้างผลตอบแทนได้มากเช่นกัน
สรุปสั้นๆคือจากพื้นฐานแนวคิดนี้ ทำให้ปู่ Buffett มองหา “ของถูก และมีคุณภาพ” ที่จะเข้าถือครองในระยะยาว ที่สามารถสร้างผลตอบแทนในอนาคตและเติบโตไปอย่างมั่นคง
แม้ว่าตามแนวคิดนี้ในบางรายละเอียดค่อนข้างเก่าแก่ และเป็นแนวคิดสุดโต่ง แต่ก็ยังเป็นพื้นฐานการมองหาธุรกิจที่จะเข้าลงทุนหรือซื้อกิจการของ Buffett มาจนถึงปัจจุบัน
ที่มา : https://www.dailymail.co.uk/news/article-8035435/Warren-Buffett-says-Berkshire-Hathaway-100-percent-prepared-partner-step-down.html
น่าสนใจว่าการที่Berkshireของปู่Buffettยังไม่เข้าซื้ออะไรเลยในเวลาที่ของทุกอย่างลดกระหน่ำขนาดนี้แถมยังขายทั้งหุ้นและพันธบัตรหลายอย่างทิ้งเพื่อถือครองเงินสดในขณะที่หลายคนเริ่มเข้าซื้อ ดันตลาดหุ้นปรับสูงขึ้น เป็นเพราะมุมมองต่อความไม่แน่นอนของสถานการณ์โรคระบาดทำให้ไม่สามารถมั่นใจในการตีราคาบริษัทต่างๆได้ หรือยังไม่มีบริษัทไหนที่ถูกพอสำหรับตอนนี้ หรือยังไม่เห็นจังหวะหรือโอกาสที่เหมาะสม
"จงกล้าในเวลาที่คนอื่นกลัว และจงกลัวในเวลาที่คนอื่นกล้า" Buffett มักชอบพูดประโยคนี้เสมอ
แล้วคุณตอนนี้มองตลาดแบบไหน คุณกำลังกล้า หรือคุณกำลังกลัว...
References.
หนังสือ The Deals of Warren Buffett เขียนโดย Glen Arnold

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา