4 พ.ค. 2020 เวลา 02:05 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Stuck Point Free Point indicator (SIT/ FPIT) และ BO (Back Off) ..
ก้านติด (Drill Pipe Stuck) … ฝันร้ายของพวกเราชาวนักขุด
… เครื่องมือที่จะเอามาเล่าให้ฟังนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับการวัดคุณสมบัติชั้นหิน หรือ คุณสมบัติอะไรของหลุมเลยครับ แต่ … แฮ่ๆ หมดมุก ไม่รู้จะเอาอะไรมาเล่า 🙂
ก้านเจาะ หรือ ที่เราเรียกกันติดปากว่า Drill Pipe (DP) เป็นท่อเหล็กขนาดยาวท่อนล่ะ 10 เมตร อ้วนกลม ราวๆ 3 นิ้ว ถึง 6 นิ้ว ขึ้นกับการใช้งาน เอามาต่อๆกัน ถ้ายังไม่รู้จักเจ้าก้านเจาะนี้ แนะนำให้อ่านเรื่องท่อขุด หรือ ก้านเจาะ ที่นี่ก่อนนะครับ คลิ๊ก —> Drill Pipe
เรื่องของเรื่องก็คือ วันดีคืนร้ายเจ้าก้านเจาะเนี้ยมันติดคาอยู่ในหลุม จะดึงขึ้น มันก็ไม่ขึ้น จะหย่อนลง มันก็ไม่ลง สาเหตุของการที่ก้านเจาะติดนั้นมีล้านแปด อาจจะเป็นเรื่องของชั้นหินเอง การขุดเจาะที่ไม่ระมัดระวัง การวางแผนขุดเจาะที่ไม่ดีพอ หรือ ความซวย ลืมเซ่นเจ้าที่ (กรณีแท่นบก) ลืมไหว้แม่ย่านางเรือ (กรณีแท่นนอกชายฝั่ง) บ้างก็โทษฟ้าดินไปตามเรื่อง 555 …
ข้างล่างนี้ผมก๊อปๆมาให้ดูเล่นๆว่าสาเหตุของก้านติดมีอะไรได้บ้าง ไม่ได้ครบทุกสาเหตุ เพราะไม่ใช่จุดประสงค์ของเรื่องที่จะฝอยในตอนนี้ แต่ก็พอได้แนวๆไปว่า ปัญหามันคืออะไร
คำถามที่สำคัญที่สุด 2 คำถาม
ที่วิศวกรขุดเจาะต้องเดา เอ๊ย … ต้องตอบให้ได้ คือ
1. ติดเพราะอะไร
2. ติดที่ตรงไหน (ความลึกเท่าไร)
คำถามแรก ผมจะไม่ฝอยในตอนนี้ เก็บไว้หากินตอนหน้า 555 ตอนนี้เราจะฝอยกันเรื่องคำถามที่สองที่ว่า ก้านเจาะมันติดที่ความลึกเท่าไร
ก้านเจาะก็คือวัสดุๆหนึ่งที่ยืดได้หดได้เหมือนหนังยาง หนังสติ๊ก ถ้าเรายืดมันออกมาขนาดหนึ่งที่ไม่เกินไป ไม่เกิดจุดที่มันจะเสียรูป มันก็จะหดเข้ามาที่เดิม
พอมโนต่อได้แล้วใช่ไหมครับว่าวันนี้ผมจะสอนฟิสิกส์เรื่องอะไร ง่ายๆครับ วัสดุศาสตร์พื้นๆ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา