4 พ.ค. 2020 เวลา 09:09 • การศึกษา
Chapter 2
5 ปัจจัยที่ส่งผลให้กิจกรรม TPM ไม่ประสบผลสำเร็จ
คำว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้น” อาจใช้ไม่ได้กับการดำเนินกิจกรรม TPM ถ้าขาด 5 ปัจจัยหลักนี้ ต้องบอกก่อนว่าบทความนี้ ไม่ได้อ้างอิงจากบทความหรือทฤษฐีจากผู้เชียวชาญใดๆ มาจากประสบการณ์ของผู้เขียน blogger เท่านั้น ไม่ได้บอกว่าถูกทั้งหมดหรือผิดทุกอย่าง อ้างอิงจากการทำงานในแวดวง TPM 12 ปี กับ 2 Award , 3 Part
เมื่อพูดถึง 5 ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้กิจกรรม TPM ไม่ประสบความสำเร็จประกอบด้วยปัจจัย 5 หลักดังนี้
1. Top Management : คำว่า Top management สามารถมองได้หลายความหมายแต่ในทาง TPM คือผู้ที่จะกำหนดนโยบาย แนวทาง เป้าหมาย รวมถึง Budget ในการดำเนินกิจกรรม งานหลักของผู้บริหารระดับสูง คือผลักดัน ตัดสินใจ และส่งเสริมให้กิจกรรมดำเนินต่อไปอย่างสูงสุด ถ้าขาดปัจจัยที่ว่าแล้ว ร้อยทั้งร้อยกิจกรรมก็เหมือนงูที่หัวขาด ไม่รู้แม้ทิศทางจะเลื้อยไปข้างหน้า ได้แต่ดิ้นรนเพื่อรอวันขาดใจตาย ที่ผู้เขียนได้เปรียบเทียบแบบนี้เพราะว่า ทุกๆ กิจกรรมล้วนมีต้นทุนในการทำกิจกรรมเสมอ ถึงแม้เราจะมีนโยบายที่ดี มีแผนมีเป้าหมายที่ครอบคลุมชัดเจน มีตัววัดผลที่แม่นย้ำ แต่ถ้าขาดแรงผักดัน การส่งเสริมที่ดี รวมถึง Budget ในการดำเนินกิจกรรมเพื่อคืนสภาพและปรับปรุงแก้ไขแล้ว ระบบก็ไม่สามารถที่จะไปต่อได้ เหมือนกับคำว่าลงทุนในวันนี้เพื่อเป้าหมายที่สูงกว่าในวันข้างหน้า ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนการให้ความรู้ ต้นทุนที่ปรึกษา ต้นทุนการคืนสภาพเครื่องจักร ต้นทุนการวางระบบ และอื่น ๆ แน่นอนต้นทุนเหล่านี้ย่อมสูง แต่มันจะน้อยนิดเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่เราได้กลับมา คือต้นทุนเชิงลบที่เราสูญเสียไปในระบบการผลิต อาทิ เช่น 16 Major losses ที่เราสามารถลดได้ บางบริษัทสูงถึง 30-40% เมื่อเทียบจากต้นทุนการผลิต เอาแบบมองให้เห็นภาพ ถ้าต้นทุนรวม 100 ล้านบาท อาจมี loss ในระบบสูงถึง 30-40 ล้านบาทเลยทีเดียว การตัดสินใจในการอนุมัติ budget เพื่อวางรากฐานจึงมีความสำคัญมาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องใช้ budget ภายใต้ความคุ้มค่า และกำลังขององค์กรและจะปลอดภัย
2. Knowledge (ความรู้) : ทุกๆ ระบบทุกๆ กิจกรรมย่อมต้องผ่านการเรียนรู้ กิจกรรม TPM ก็เช่นกันการให้ความรู้ พนักงาน หัวหน้างาน วิศวกร หรือแม้แต่ผู้บริหาร ล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นในการที่จะสร้างรากฐานในการดำเนินกิจกรรม เหมือนการที่เราสร้างบ้านถ้าโครงสร้างรากฐานไม่แข็งแรง วันนึงมีปัจจัยที่มีผลกระทบอาจทำให้บ้านหลังนั้นสร้างต่อไม่ได้ หรือถ้าสร้างต่อได้ก็อาจพังทลายในภายหลัง TPM ก็เช่นกันถ้าความรู้พื้นฐานที่จำเป็นไม่แน่น ไม่เพียงพอ พนักงานไม่เกิดการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะก็ไม่เกิด วิเคราะห์ไม่ได้แก้ไขปัญหาไม่เป็น ก็ไม่มีทางที่จะนำพา หรือค้นหาปรับปรุงปัญหาในการดำเนินกิจกรรม TPM ได้ เริ่มจากพัฒนาคน คนจะไปพัฒนางาน งานไปพัฒนาองค์กร
3. Mindset (วิธีคิด) กรอบความคิดมีความสำคัญเป็นอย่างมากในกิจกรรม TPM หลายบริษัทต้องจบกับการทำ TPM เพราะความคิดที่ว่า TPM คืองานเสริม การทำ TPM คือการเพิ่มงาน การทำงานที่ซ้ำซ้อน ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวเกิดขึ้นกับหลายบริษัทในปัจจุบัน ซึ่งถ้าต้องการให้ TPM ประสบความสำเร็จจะต้องละลายกรอบความคิดนี้ให้ได้ เพราะจริงๆ แล้ว TPM คืองานประจำ คืองาน Routine ที่เราทำอยู่ทุกวันเพียงแต่มันยังไม่ได้ถูกจัดระเบียบ จัดลำดับ กำหนด Standard ให้มัน พอมาวันนึงเราได้กำหนด Standard กำหนดกรอบที่ชัดเจนมีระบบ. มันจะกลายเป็นงานใหม่ขึ้นมาทันที่ เพราะเราจะทำทั้งระบบเก่าและระบบใหม่พร้อมกัน ดังนั้น วิธีแก้ไขที่ชัดเจนที่สุดคือพัฒนางานเดิมให้ได้ผลลัพธ์ใหม่โดยลดความซ้ำซ้อน ลดขั้นตอน ลดเอกสาร ให้ง่ายและน้อยลง 1 ในวิธีการที่ดีวิธีหนึ่งคือการใช้เครื่องมือ ECRS เข้ามาช่วยการปรับปรุง เมื่อเราทำงานให้ง่ายและไม่เกิดความซ้ำซ้อนนี่อาจจะเป็นวิธีการปรับเปลี่ยน Mindset ได้เร็วที่สุดวิธีหนึ่ง
4. Pillar linkage (ความเชื่อมโยง): หลายบริษัท สามารถขับเคลื่อนกิจกรรม TPM ได้ดี มีผลสำเร็จที่ดีในแต่ละเสาแต่พอกับมามองภาพรวมเป้าใหญ่ Loss ขององค์กรแล้วกับล้มเหลวโดยสิ้นเชิง สิ่งที่ระบุได้ชัดเจนคือ การดำเนินกิจกรรมของเสาแต่ละเสาขาดคำว่า “ Pillar linkage” หมายถึงแต่ละเสา มีเป้าหมาย มีแผนงาน มีกิจกรรม มีตัววัดผลกิจกรรมที่ชัดเจน แต่ขาดความเชื่อมโยงเป้าหมายเข้าด้วยกัน เป้าหมายที่แต่ละเสาปรับปรุงเป็นเพียงเป้าหมายเพื่อให้บรรลุในหน่วยงานโดยไม่ได้คำนึงถึงหน่วยงานอื่นๆ เช่น หน่วยงาน Education & Trainning (ET Pillar) กำหนดหลักสูตรไว้ 6 หลักสูตร ที่จะอบรมพนักงานเสา Autonomous maintenance (AM Pillar) แต่ว่าจัดหลักสูตรอบรมไม่สอดคล้องกับการทำกิจกรรมของ AM Step เป็นต้น ส่งผลให้ ET สามารถบรรลุเป้าหมายในการอบรม แต่เสา AM ไม่สามารถเอาไปใช้งานได้เพราะยังไปไม่ถึง Step ที่มีการสอนดังกล่าว
ตัวอย่างที่ 2 เสา Planned Maintenance (PM Pillar) แก้ไขปัญหาในเรื่องของเครื่องจักร breakdown เรื่อง A เป็นศูนย์แต่หน่วยงาน Production ของเสา AM มีปัญหา breakdown เรื่อง B เป็นอันดับ 1 ความสอดคล้องจึงไม่มี เป็นต้น
5. Motivation (แรงจูงใจ) : กิจกรรม TPM เป็นกิจกรรมที่ขับเคลื่อนโดยคน ซึ่งสิ่งที่ผลักดันคนได้ดีที่สุดคือแรงกระตุ้นหรือแรงจูงใจในการดำเนินกิจกรรม เช่น คำชมเชย รางวัล ผลตอบแทนในการบรรลุเป้าหมายแต่ละ Step สำหรับพนักงานปฏิบัติงาน จากประสบการณ์ถือว่าเป็นเชื้อเพลิง เป็นพลังงานชั้นเยี่ยมในการสร้างขวัญกำลังใจในการทำกิจกรรม ในการปรับปรุงที่ดีเยี่ยมแต่เหนือสิ่งอื่นใดแต่ละองค์กรจะต้องเอาใส่ใจ สนใจ สนับสนุนพนักงานระดับปฏิบัติงาน อย่าทิ้งภาระไว้กับพนักงานระดับใดระดับหนึ่ง ถ้าคุณต้องการให้พนักงานทำให้ได้ 100% ผู้บริหารระดับสูง ต้องทำมากกว่า 120%
จากบทความนี้หวังว่าจะเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรม TPM ไม่มากก็น้อย หวังว่าจะเป็นแนวทางให้หลายๆท่านในการนำ TPM เข้ามาใช้ขับเคลื่อนองค์กร และเจอกันในบทความหน้า ...ราตรีสวัส
โฆษณา