4 พ.ค. 2020 เวลา 12:23 • ไลฟ์สไตล์

Cosplay : Pop Culture ของญี่ปุ่นในไทย จากความชอบกลุ่มเล็กๆสู่อีกหนึ่งวัฒนธรรม

Cosplay Pop Culture ของญี่ปุ่นในไทยจากความชอบกลุ่มเล็กๆสู่อีกหนึ่งวัฒนธรรม
คอสเพลย์ ( Cosplay )
เป็นการผสมคำภาษาอังกฤษระหว่างคำว่า Costume ซึ่งแปลว่า เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และ Play ที่แปลว่า การเล่นดังนั้น
Costume + Play จึงแปลตรงๆว่า การเล่นเสื้อผ้า แต่นิยามที่ให้คำจำกัดความชัดเจนที่สุดคือ “การแต่งกายเลียนแบบ”
คอสเพลย์ ไป๋ลู่ จากเกม Honkai - Star rail
แต่ก็ยังมีอีกหนึ่งนิยาม ที่ได้เคยมีคนให้นิยามไว้ว่า Cosplay มาจาก Costume+Roleplay ซึ่งคำว่า Roleplay นี้แปลว่า สวมบทบาท ไม่ว่าจะเป็นการส่วมบทบาทในการเล่นหรือการแสดง ซึ่งก็จะทำให้นิยามความหมายได้กระชับขึ้น คือ “การแต่งกายสวมบทบาท” นั้นเอง
สำหรับการใช้คำว่า Cosplay อย่างชัดเจนที่สุดเกิดขึ้นเมื่อ Nobuyuki Takahashi (ซึ่งมาจากสตูดิโอ Studio Hard ของญี่ปุ่น) บัญญัติศัพท์คำว่า “Cosplay” ขึ้นมาเพื่อเป็นการย่อคำจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษคำว่า Costume Play เมื่อตอนที่แสดงงานเมื่อ ค.ศ. 1983 (พ.ศ.2526) ณ งาน Los Angeles Science Fiction (Worldcon)
แม้ว่า Cosplay จะมีความเกี่ยวโยงกับความเป็นญี่ปุ่นค่อนข้างมาก แต่การคอสเพลย์ไม่ได้จำกัดเฉพาะแต่เรื่องของญี่ปุ่นแต่อย่างใด จริงๆแล้ว การคอสเพลย์ไม่ได้จำกัดเรื่องของเชื้อชาติต้นแบบใดๆเลย การแต่งกายเลียนแบบ Superhero หรือตัวละครจากฝั่งตะวันตก เช่น Superman, Batman หรือการแต่งกายเลียนแบบศิลปิน เช่น Elvis ก็จัดได้ว่าเป็นการคอสเพลย์ในรูปแบบหนึ่ง เช่นกัน โดยเป็นการเลียนแบบตัวละคร หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น การ์ตูน เกม วงดนตรี นวนิยาย วงศิลปิน ภาพยนตร์ ฯลฯ
ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรัก ความชอบ ในสิ่งที่ได้เลียนแบบนั้นๆ ทั้งนี้นอกจากเลียนแบบชุดแต่งกายแล้ว ยังอาจจะรวมไปถึงเลียนแบบกิริยา ท่าทาง บุคคลิก ต่างๆของต้นแบบอีกด้วย โดยผู้ที่คอสเพลย์นั้นมักเรียกว่า เลเยอร์ หรือย่อมาจาก Cosplayer นั่นเอง
คอสเพลย์ เวยอูเซียนร่างมาร จากซีรี่ย์จีนเรื่อง ปรมาจารย์ลักธิมาร
องค์ประกอบที่ระบุถึงความเป็นคอสเพลย์
ในการที่จะเรียกว่าเป็นคอสเพลย์ได้นั้น จะมีองค์ประกอบต่างๆกัน ทั้งที่เป็นรูปธรรม และ นามธรรม ทั้งนี้ ไม่จำเป็นที่จะต้องมีครบก็ได้ เพียงแต่ว่า หากขาดองค์ประกอบบางอย่างมากไป การคอสเพลย์นั้นก็อาจจะหายไป โดยหลักๆขององค์ประกอบจะมีอยู่สองอย่างคือ
อย่างแรก ชุดคอสเพลย์ เป็นองค์กระกอบรูปธรรม นั่นคือ เครื่องแต่งกายของตัวละครนั้นๆ คำว่าชุดคอสเพลย์นั้น ไม่ได้หมายถึง ชุดที่แปลกตา อลังการ แต่หมายถึงชุดที่เหมือนกับต้นแบบตัวละคร เพราะต้นแบบนั้นไม่ได้มีชุดที่อลังการเสมอไป และยังรวมไปถึงส่วนอื่นๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ และอุปกรณ์เสริมต่างๆที่ตัวละครต้นฉบับได้ใช้
สิ่งของต่างๆที่ต้องใช้เหล่านี้เลเยอร์จะเรีกยมันว่า "พร๊อพ" หรือ Prop โดยพร๊อพแต่ละตัวละครนั้นอาจจะใช้สิ่งของไม่เหมือนกันทั้งหมด บางตัวอาจเป็นสิ่งของปกตในชีวิตประจำวันเช่นหมอน แก้วน้ำ ปากกา headphone ซึ่งของพวกนี้สามารถหาของได้ตามสถานที่ที่วางขายทั่วไป
แต่ก็มีอีกหลายๆตัวที่ใช้ของแปลกๆเช่นอาวุธแบบต่างๆตามธีมตัวละครอาจจะเป็นแบบย้อนยุคหรือแบบ si-fi หรือเป็นพวกหนวดเสริม ขาเสริม หาง ปีก โดยพร๊อพพวกนี้อาจต้องซื้อมาในราคาสูง หรือเลเยอร์บางท่านอาจจะใช้งานฝีมือของตัวเองสร้างมันขึ้นมา เลเยอร์บางท่านที่สร้างพร๊อพได้เยี่ยมก็สามารถสร้างพร๊อพต่างๆไปขายให้เเลยอร์ท่านอื่นได้ เป็นการสร้างรายได้และฝึกงานฝีมือจากงานอดิเรกไปในตัว
อย่างที่สอง ความรักและความชอบ เป็นองค์ประกอบนามธรรม เพราะคอสเพลย์แต่เดิมคือการแสดงออกถึงความรักความชอบต่อตัวละครตัวนั้น จึงได้แต่งกายเลียนแบบ หากมีคนที่ไม่ได้ชอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ได้ชุดคอสเพลย์มาใส่ เมื่อพบก็จะเห็นได้ว่าเป็นแค่การใส่เพื่อแฟชั่น หรือก็ไม่สามารถที่จะแสดงให้เห็นถึงการคอสเพลย์ แต่ก็จะไม่สามารถสวมบทบาท แสดงออกสื่อถึงถึงตัวละครนั้นๆได้ เช่น การ โพสท่า การแสดงกิริยาของตัวละครนั้นๆ
คอสเพลย์ Tamamo no mae Police Fox จากเกม Fate Extella Link
คอสเพลย์ในไทย จากสังคมเล็กๆของวัยรุ่นสู่วัฒนธรรมที่คนทั่วไปมีส่วนร่วมได้
โดยในประเทศไทยนั้นราว ๆ 8 ปีที่แล้วได้มีวัฒนธรรมของญี่ปุ่นอย่างการคอสเพลย์นั้นแทรกเข้ามาในหมู่ของเยาวชนวัยรุ่นไทย อาจจะไม่ได้โด่งดังมากเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆแต่ก็พอจะรู้จักกันภายในวงการ โดยการแต่งคอสเพลย์นั้นจะมีหลากหลายรูปแบบ แต่ที่จะเห็นได้บ่อยๆหรือก็คือเหล่า Cosplayer นิยมกันก็คือการคอสเพลย์ของหมู่วัยรุ่นบ้านเราก็คือ
- คอสเพลย์ตัวการ์ตูน
- คอสเพลย์เกม
- คอสเพลย์ตามตัวละครซุปเปอร์ฮี่โร่
- คอสเพลย์ตามนิยาย
- คอสเพลย์ตามภาพยนตร์หรือละคร
คอสเพลย์ Jinx Star guardian จากเกม League of Legends ( LoL )
ถึงแม้การคอสเพลย์จะมีแบ่งแยกแนวการคอสเพลย์ แต่ก็ไม่ได้ทำให้เกิดการแบ่งแยกกลุ่มวัยรุ่นที่มีความชอบในตัวละครเลย อันที่จริงที่มีการแยกแนวการคอสเพลย์ก็เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเรียกหมวดหมู่เท่านั้น อีกทั้งตัวผมเองเมื่อ 4-5 ปีก่อนก็ได้วนเวียนอยู่ในสังคมนี้อยู่บ้างเล็กๆน้อยๆก็ได้เห็นว่าเป็นอีก 1 สังคมวัยรุ่นที่อบอุ่น เมื่อวัยรุ่นที่มีความชอบเหมือนๆกันได้รวมตัวกันทำกิจกรรมเวลาว่างให้เกิดประโยชน์มีการสอนกันมีน้ำใจกัน แนะนำสิ่งต่างๆกัน
ทุกคนที่มีความชอบเหมือนกันเข้าใจกันและกัน และช่วยผลักดันสังคมนี้ให้เป็นที่ยอมรับ การคอสเพลย์ในตอนนั้นจะพบได้งานงานอีเว้นต์ต่างๆที่เกี่ยวของกับ เกม การ์ตูน หรือวัฒนธรรมญี่ปุ่น แต่ตอนนี้วัฒนธรรมนี้ได้ขยายตัวไปมากขึ้นตามงานต่างๆ รวมถึงมีเลเยอร์ไม่น้อยที่รวมกลุ่มกับเพื่อนๆคอสเพลย์เพื่อถ่ายรูปเป็นการส่วนตัวตามสถานที่ต่างๆ หรือที่เรียกกันว่าการไปถ่าย 'ไพร’ ( ย่อมากจากถ่ายแบบ Private ถ่ายแบบเฉพาะกลุ่ม ) นั้นเอง
คอสเพลย์ shimakaze จากเกม kantai collection
มุมมืดของคอสเพลย์ กับการต่อสู่เพื่อให้ผู้ใหญ่และสังคมอื่นๆยอมรับ
แม้ว่าเมื่อก่อนสังคมคอสเพลย์ที่ผมเล่าไปจะดูมีความสนุกและสดใส เป็นกิจกรรมของเหล่าวัยรุ่นที่น่ารักเป็นที่น่าจับตามองของผุ้อื่น ในอีกด้านของวงการคอสเพลย์นี้ ยังมีมุมมืดอยู่อีกมาก ยังมีเลเยอร์บางคนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมเท่าไหร่กับการเป็นเลเยอร์ หรือการที่ผู้ใหญ่ไม่ค่อยจะให้ความสำคัญหรือมองมันเป็นกิจกรรมไร้สาระ ( ตามปกติของบ้านเราที่ผู้ใหญ่จะมองการ์ตูน เกม และของเล่นพวกนี้เป็นกิจกรรมของเด็ก )
เลเยอร์บางคนก็คอสเพลย์ชุดที่ไม่เหมาะสม เช่น สวมบิกินนี่แบบสั้น ๆ สร้างความลามกอนาจารในที่สาธารณะ
หรือการที่เลเยอร์บางคนค้าประเวณีโดยอาศัยการใส่ชุดคอสเพลย์เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าแนวนี้แล้วมีการถ่ายคลิปไว้ แล้วเกิดเป็นคลิปหลุดบนโซเชียลจนกระทั่งเป็นข่าว
จากที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ผู้ใหญ่และผู้ปกครองส่วนใหญ่ที่เห็นข่าวนี้ ก็ตีตราไปแล้วว่าการคอสเพลย์เป็นเรื่องไม่ดี การที่เลเยอร์บางท่านเรียกเก็บค่าสมาชิกจากผู้ที่ติดตามผลงานเพื่อที่จะสร้างกลุ่มลับต่างๆที่มีอาจจะมีภาพ 18+ คนบางคนไปลวนลามเลเยอร์ไม่ว่าจะเป็นคนนอกงานหรือเลเยอร์ด้วยกัน จนเลเยอร์แจ้งความ ทำให้ผู้ใหญ่มองเห็นแค่ว่าวงการนี้สร้างปัญหามากกว่าประโยชน์ ซึ่งทุกวันนี้เรายังคงพบเห็นปัญหานี้ได้อยู่แต่ลดน้อยลงไปมาก
และมุมมืดที่สำคัญที่เป็นปัญหามาจนถึงปัจจุบัน ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยแต่เป็นเหตุการณ์ที่เจอกันทั่วโลกของวงการคอสเพลย์คือ การเหยียดชนชั้นกันในสังคม การเหยียดกันก็ไม่เว้นจากวงการนี้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการเหยียดเชื้อชาติ การเหยียดสีผิว ความเหมาะสมของเลเยอร์ แต่ก็เหมือนกับปัญหาก่อนหน้านี้ มันถูกแก้ไขไปมากขึ้น และเริ่มเห็นได้น้อยลง โดยตัวอย่างนี้เป็นเพียงตัวอย่างของปัญหาที่เกิดขึ้นในวงการคอสเพลย์ที่หลายๆคนมองข้ามไป แต่ผู้ใหญ่ไม่ได้มองข้ามด้วยและยิ่งเพ่งเล็กเป็นพิเศษ ฉะนั้นพวกเราจึงต้องแก้ไขปัญหาเหล่านี้
ปัญหาสำคัญๆอย่างการล่วงละเมิดทางเพศและการเหยียดนั้นได้รับการแก้ไขไปแล้วในระดับหนึ่งและยังคงแก้ไขอยู่เรื่อยๆจากคนในสังคมที่อยากให้คนภายนอกยอมรับในสังคมที่ตนอยู่ เพื่อให้การคอสเพลย์เป็นวงการที่มีภาพพจน์ดีขึ้น ให้เป็นวัฒนธรรมที่บุคคลภายนอกมองในด้านบวก ให้การสนับสนุน เป็นวัฒนธรรมที่น่ารักและหลายๆคนยอมรับ
งานคอสเพลย์ ไม่เพียงแต่มาเพื่อแต่งตัวตามแบบตัวละครที่เราชื่นชอบ แต่ทุกคนสามารถเข้ามาเพื่อหาเพื่อนพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ แชร์ความรู้การแต่งคอสเพลย์และการออกแบบท่าทาง การทำพร๊อปประกอบตัวละคร และเป็นการผูกมิตรกับคนอื่นๆ เป็นการสร้างสังคมใหม่โดยผู้ที่มีความชอบในงานอดิเรกเดียวกับ
**ในกรณีของการขายรูปเชกิแนวเซ็กซี่ ตัวผมจะไม่ขอตัดสินว่ามันเป็นมุมมืดหรือเปล่า อยู่ที่ตัวของผู้นอ่านเอง โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน เพราะบางคนอาจจะอ้างว่าคอสเพลย์แบบเซ็กซี่จนมันคลา้ยกับการถ่ายแบบของกราเวียร์ (Gravure)
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเนื่องจากมีหลายตัวละครที่อยู่ในแนวเซ็กซี่จริงๆและหลายๆท่านที่คอสเพลย์ตามก็ได้เซฟตัวเองอยู่ในระดับหนึ่งเพื่อไม่ให้เกิดภาพที่ไม่เหมาะสมเผยแพร่ในโซเชี่ยล อีกทั้งการถ่ายแบบนั้นไม่ได้อยู่ในพื้นที่สาธารณะ โจ่งแจ่งเหมือนกับงานอีเว้นต์ทั่วไป แต่นี้ก็เป็นเพียงการวิเคราะห์จากตัวผม ขอย้ำให้ทุกๆท่านโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน**
หากชอบบทความนี้และอยากอ่านเรื่องราวต่างๆที่ผมจะนำมาเขียนให้อ่านกันอีกก็สามารถกด subscribe เพื่อติดตามเรื่องราวต่างๆไว้ได้เลยนะครับและหากท่านผู้อ่านหรือเลเยอร์ได้อ่านแล้วรู้สึกยังไงมีความคิดเห็นยังไงมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ในคอมเม้นต์นะครับ สุดท้ายช่วงนี้ทั้งจากเหตุการณ์โรคระบาด Covid-19 และอากาศที่ร้อนขึ้นในหน้าร้อน ผมก็ขอให้ทุกท่านสุขภาพแข็งแรงดูแลรักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ
#เรื่องนี้วินเขียน
และขอขอบคุณเจ้าของภาพ
เวยอูเซียน : คุณ Niwa Ikito
Tamamo no mae : คุณ Suchada Nintes
Jinx : คุณ Pimpakarn Khamphan
โฆษณา