Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่า-รอบโลก
•
ติดตาม
4 พ.ค. 2020 เวลา 17:00 • ประวัติศาสตร์
เรื่ิองเล่ายามดึก🗣️
เหตุการณ์นองเลือดที่รวันดา Rwandan Genocide ความไร้ปราณีที่ทำโดยคนชาติเดียวกัน
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา ในปี 1994 ที่เรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นเพียง 3 เดือน แต่มียอดผู้เสียชีวิตที่ถูกสังหารอย่างไร้ความปราณีสูงถึง 8 แสนคน
ชนพื้นเมืองในรวันดา
รวันดาเป็นประเทศขนาดเล็กในแอฟริกากลาง ในอดีตเคยเป็นอาณานิคมของเยอรมนี กระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็ตกเป็นอาณานิคมของเบลเยี่ยม และประกาศเอกราชในปี ค.ศ. 1962 ประชากรในรวันดาประกอบด้วยคนเชื้อสายทุตซี (Tutsi) 15% ฮูตู (Hutu) 84% และทวา 1%
ชาวทุตซีจะผิวออกขาวกว่า (พูดให้ถูกคือสีผิวอ่อนกว่า) หน้าตาจะออกแนวลูกผสมระหว่างอาหรับกับแอฟริกัน จมูกโด่ง ตัวสูง ส่วนชาวฮูตูจะมีผิวสีดำเข้ม รูปร่างเล็กว่าเล็กน้อย ซึ่งในความจริงแล้ว ทั้งฮูตู และทุตซีก็พูดภาษาเดียวกัน นับถือศาสนาเดียวกัน มีการแต่งงานระหว่างเชื้อชาติ มีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นปกติมานานแล้ว กระทั่งการมาถึงของเบลเยียม ประเทศเจ้าของอาณานิคม และ "บัตรประจำตัวประชาชน"
คนชาวรวันดา https://www.bbc.com/
ชนวนเหตุแห่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา
เมื่อเจ้าอาณานิคมต้องการจะเข้ามาปกครองประเทศได้โดยง่าย แล้วสาเหตุอะไรล่ะ ที่จะทำให้เบลเยียมไม่ถูกรังเกียจ และถูกมองว่าเข้ามากดขี่ข่มเหงประชาชนชาวรวันดา นั่นก็คือการใช้นโยบาย "แบ่งแยกแล้วปกครอง" นั่นเอง โดยนำเอานโยบายการแบ่งชนชั้นให้ชัดเจน กำหนดให้มีการแบ่งแยกคนทั้ง 2 เชื้อสายอย่างชัดเจน โดยรัฐบาลอาณานิคมเลือกสนับสนุนชนเผ่าทุตซี เพราะเป็นชนชั้นปกครองเดิม ขณะที่ชนเผ่าฮูตูที่เป็นคนส่วนใหญ่กลับถูกกีดกันออกจากไปจากการปกครองประเทศ และกลายเป็นพลเมืองชั้นรองไป
ทั้งหมดนี้ กำหนดให้ประชาชนรวันดาทุกคนจะต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนที่มีการ "ระบุเผ่าพันธุ์" อย่างชัดเจน ใครเป็นอะไรก็จะถูกกำหนดไว้จนวันตาย และเมื่อชาวทุตซีนั้นมีสิทธิพิเศษในการดำเนินชีวิตมากกว่าชาวฮูตูมาก ชาวฮูตูก็อยู่เบื้องล่างเป็นฝ่ายถูกปกครองอย่างเดียว สร้างความอัดอั้นตันใจ และความเกลียดชังกันเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปี 1959 ชาวฮูตูจึงเริ่มลุกฮือ และล้มล้างระบอบการปกครองเดิมโดยชาวทุตซี ชาวทุตซีหลายหมื่นคนต้องอพยพลี้ภัยไปประเทศเพื่อนบ้าน กระทั่งปี 1962 รวันดาจึงได้รับเอกราช โดยมีนายคายิบานดา (Grégoire Kayibanda) ผู้ก่อตั้งพรรคเพื่อการปลดปล่อยฮูตู (Party of the Hutu Emancipation Movement) ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศ และ 100 วันแห่งการนองเลือดก็ได้เริ่มต้นขึ้น
https://www.nytimes.com/
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา การสังหารหมู่อย่างเลือดเย็น
ท้องถนนของกรุงคิกาลี เมืองหลวงของประเทศ และหมู่บ้านต่างๆ ทุกแห่งกลายเป็นแดนมิคสัญญี ฝูงชนชาวฮูตูผู้บ้าคลั่งออกทำการปิดถนน นำโดยกองกำลังติดอาวุธรวันดา (FAR) ออกไล่ล่าสังหารทั้งชาวทุตซี และชาวฮูตูสายกลางที่ให้ความช่วยเหลือชาวทุตซี ทั้งหมดนี้กระทำโดยแยกแยะจาก "บัตรประจำตัวประชาชน" ที่ในนั้นมีการระบุเชื้อชาติอย่างชัดเจนนั่นเอง โดยผู้บัญชาการกองกำลังสั่งว่า "ห้ามรอดแม้แต่คนเดียว" รวมถึงเด็กทารกก็ไม่เว้น จากนั้นทำการไล่ล่าแบบละเอียดยิบตามบ้าน ถ้าไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ก็ใช้วิธีดูเอาจากลักษณะสีผิวที่คล้ำน้อยกว่า ใครที่เป็นชนเผ่าทุตซีจะถูกฆ่าทิ้งทันที โดยมากเป็นการใช้มีดขนาดใหญ่ (machete) ที่ชาวรวันดาส่วนใหญ่มีไว้ในครอบครอง
ชาวทุตซีจำนวนมากพากันอพยพหลบหนี ไม่ก็ไปซ่อนตัวตามโบสถ์ แต่ก็ไม่อาจรอดพ้นจากการสังหารหมู่นี้ได้ ซ้ำร้ายยังเป็นเจ้าหน้าที่โบสถ์เสียเองที่ชี้เป้าที่ซ่อนตัวให้กับกองกำลัง แต่หากบาทหลวงหรือแม่ชีพยายามที่จะช่วยเหลือคนที่เข้ามาหลบในโบสถ์ ก็จะถูกสังหารไปด้วย
ผู้หญิงชาวทุตซีหลายพันคนถูกจับตัวไปเป็นทาสเพื่อสนองความต้องการทางเพศ เกิดการข่มขืนกระทำชำเราอย่างแพร่หลาย ทำให้มีการติดเชื้อเอชไอวีพุ่งสูงขึ้น ซึ่งรวมเด็กทารกที่เกิดจากการข่มขืนกระทำชำเรามารดาที่ติดเชื้อใหม่ด้วย ในเวลาเพียง 100 วัน ชาวทุตซี และชาวฮูตูที่ไม่ใช่พวกหัวรุนแรง รวม 8 แสนคน ถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม นับว่าเร็วกว่าที่เยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 2 ใช้ในการกำจัดชาวยิวเสียด้วยซ้ำ
ภาพตัวอย่างบัตรจำตัวประชาชน https://www.timetoast.com/
ต่อมา กลุ่มอาร์พีเอฟ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทัพรวันดา ค่อยๆ ยึดพื้นที่คืนจนกระทั่งเดินทัพเข้าสู่กรุงคิกาลี เมืองหลวงของประเทศ
Image copyrightAFP
ชาวฮูตูราว 2 ล้านคน ทั้งที่เป็นพลเรือนและพวกที่ลงมือในการสังหารหมู่ อพยพหนีไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ขณะนั้นมีชื่อว่า แซร์) ด้วยความหวาดกลัวถูกแก้แค้น บางส่วนอพยพหนีไปทานซาเนียและบุรุนดี
กลุ่มสิทธิมนุษยชนระบุว่า กองกำลังอาร์พีเอฟสังหารพลเรือนชาวฮูตูหลายพันคนขณะยึดอำนาจคืน และมากกว่านั้นอีกขณะตามล่ากลุ่ม Interahamwe ในคองโก อย่างไรก็ตาม กลุ่มอาร์พีเอฟให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว
ที่คองโก คนหลายพันเสียชีวิตจากอหิวาตกโรค กลุ่มช่วยเหลือหลายกลุ่มถูกกล่าวหาว่าให้การช่วยเหลือกลุ่มติดอาวุธฮูตูมากเกินไป
ภาพศพของคนรวันดา https://www.flagfrog.com/
แหล่งที่มา:
https://www.bbc.com/
https://travel.trueid.net/
บันทึก
7
2
1
7
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย