5 พ.ค. 2020 เวลา 01:35 • ธุรกิจ
Safety Coordinator / Officer
บางทีก็เรียก HSE officer / coordinator แล้วว่าจะเรียกกัน มีหน้าที่คล้ายๆกันคือ รับนโยบายด้านความปลอดภัยมากำกับดูแลให้เป็นไปตามกฏกติกาของบ.นั้นๆ โดยมากทำงานคู่กับ company man หรือ OIM หรือ toolpusher เพราะโดยตัว safety coordinator เอง ไม่มีบทบาทหน้าที่สั่งใครต่อใครบนแท่นได้
แต่มีหน้าที่ประสานงานฝ่ายสั่งงาน (company man หรือ OIM หรือ toolpusher) และ รายงานเข้าสนง.เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย เช่น ทำรายงานประจำวัน สืบสวนสอบสวนกรณีเกิดอุบัติเหตุ ตรวจดูรับผิดชอบอุปกรณ์ความปลอดภัยให้ใช้งานได้ทุกเวลา (เช่น เครื่องดับเพลิง สัญญานเตือนต่างๆ ไปจน เรือชูชีพ ชุดปฐมพยาบาล จุดล้างตาฉุกเฉิน ฯลฯ)
ร่วมกับ company man หรือ OIM ในการอนุมัติการทำงานที่มีความเสี่ยงเช่น ทำงานในที่อับอากาศ ทำงานในที่สูง งานเชื่อมตัดโลหะด้วยไฟในเขตที่มีไอระเหย ฯลฯ ให้คำปรึกษาเรื่องการทำงานที่ปลอดภัย ไปกระทั่งดูแลเรื่องความสะอาดที่พัก สุขอนามัย อาหาร ครัว การเก็บอาหาร การกินอยู่ สารพัดล่ะครับ
สัญญาจ้าง
ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างประจำของบ.แท่น (ในกรณีแท่นนอกชายฝั่ง) หรือ ไม่บ.แท่นก็จ้างผ่านบ.เอเย่นต์ท้องถิ่น(โดยมากกรณีแท่นบก)
เหตุผลเพราะแท่นนอกชายฝั่งมักมีความซับซ้อนเฉพาะเรื่องความปลอดภัยมากกว่า เช่น เรือ แพชูชีพ ฮ. กฏหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางทะเล ฯลฯ จึงต้องมีคนที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านประจำ แต่แท่นบกมักจะไม่มีอะไรมาก
นอกจากบ.แท่นแล้ว บางบ.น้ำมันก็จะมี safety coordinator ประจำแท่นด้วยเช่นกัน
เวลาทำงาน
ทำงาน 0600-1800 ผลัดล่ะ 28/28 หรือ ... อ่านต่อ ... https://nongferndaddy.com/safety-coordinator/
โฆษณา