5 พ.ค. 2020 เวลา 04:54 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
แค่เดินทางไปดาวที่อยู่ห่าง 4 ปีแสงต้องใช้เวลาเดินทางถึง 7 หมื่นปี!
พบ 5 เหตุผลที่ใช้อธิบายว่าทำไมมนุษย์เราจึงไม่ควรเดินทางสำรวจอวกาศอีกต่อไป
อยู่กับความเป็นจริง
โลกของเรากำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นฝีมือของมนุษย์ รวมไปถึงปัญหาเรื่องประชากรที่กำลังจะล้นโลก จนทำให้นักดาราศาสตร์วางแผนหาอาณานิคมใหม่เพื่อเป็นการแก้ปัญหา อย่างไรก็ตาม การค้นหาดาวดวงใหม่ที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น เราควรใส่ใจกับโลกที่เราอาศัยอยู่มากกว่าคิดหาบ้านใหม่ที่อยู่ห่างออกไปหลายล้านปีแสง
แรงโน้มถ่วง
ปัญหาสำคัญของการค้นหาอาณานิคมแห่งใหม่ในอวกาศก็คือ แรงโน้มถ่วง เพราะทุกสิ่งมีชีวิตถูกออกแบบมาเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแรงโน้มถ่วงของโลก ทฤษฎีนี้กำลังอธิบายเราว่า ต่อให้พบดาวที่เหมาะสมสำหรับสร้างอาณานิคม แต่แรงโน้มถ่วงอาจเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ทำให้มนุษย์ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้
ระยะทาง
ยาน ''Voyager 1'' ที่ถูกส่งไปสำรวจในห้วงลึกของอวกาศ ใช้เวลากว่า 35 ปี ในการเดินทางผ่านระบบสุริยะของเราด้วยความเร็ว 60,000 กม./ชม. และหากจะเดินทางไปยัง ''Proxima Centauri'' ที่อยู่ห่างเพียง 4.3 ปีแสง และนักดาราศาสตร์เชื่อว่าอาจมีดาวที่คล้ายกับโลกอยู่ ด้วยเทคโนโลยีอวกาศที่เรามีในขณะนี้ มนุษย์ต้องใช้เวลาเดินทางถึง 76,000 ปี จึงจะถึงจุดหมายปลายทาง!
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ความเสี่ยงและหายนะ
ไม่มีอะไรที่ได้มาโดยปราศจากความเสี่ยง การเดินทางในห้วงอวกาศของมนุษย์หลายๆ ครั้งที่ผ่านมาได้พบกับโศกนาฏกรรมมากมาย อาทิ เหตุการณ์ระเบิดกลางท้องฟ้าของกระสวยอวกาศ Challenger และ Columbia ดังนั้นจึงเป็นคำถามที่ว่า หากในอนาคตมนุษย์ค้นพบเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถใช้ในการผจญภัยในอวกาศได้ พวกเรายินดีที่จะรับกับความเสี่ยงและหายนะที่จะเกิดขึ้นตามมาได้หรือไม่
เงินทุน
การเดินทางในอวกาศย่อมต้องใช้เงินทุนมหาศาล มีการประเมินเงินทุนขั้นต่ำที่จะใช้ในการเดินทางไปดาวอังคารไว้ที่ 150 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนเงินที่แพงมหาโหด และอาจไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนเสียด้วย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา