Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หน่องง'หมอ
•
ติดตาม
6 พ.ค. 2020 เวลา 12:59 • การศึกษา
เคยสงสัยกันมั้ยคะ ว่าผู้หญิงที่คลอดธรรมชาติส่วนใหญ่ ทำไมต้องตัดแผลฝีเย็บ?
วันนี้มี่จะมาเล่าให้ฟังค่ะ...
บริเวณฝีเย็บ หรือ perineum เป็นบริเวณที่อยู่ระหว่างทวารหนักและอวัยวะเพศ ในผู้ชายจะอยู่ระหว่างถุงอัณฑะและทวารหนัก ส่วนผู้หญิงจะอยู่ระหว่างช่องคลอดและทวารหนัก
ซึ่งภายในจุดศูนย์กลางของบริเวณฝีเย็บ คือ perineum body ภายในประกอบไปด้วยเส้นใย(fiber) ของกล้ามเนื้อที่พยุงอุ้งเชิงกรานรวมไปถึงกล้ามเนื้อหูรูดด้วย!< wow 😲😲>
เจ้า perineum body เป็น landmark ทางกายวิภาคค่ะ ไว้แบ่งบริเวณที่เป็น urogenital triangle และ anal triangle
วิธีการตัดฝีเย็บเป็นยังไง?
การตัดฝีเย็บ หรือ episiotomy เป็นการตัดบริเวณ perineum เพื่อขยายปากช่องคลอดในระยะคลอด ในระยะที่หัวของทารกกำลังจะออกมา โดยที่หัวน้องทารกต้องดันบริเวณฝีเย็บจนบางเหมือนกระดาษ คุณหมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์ที่รับผิดชอบการคลอดจะใช้นิ้วของมือข้างที่ไม่ถนัดทำเป็นรูปตัว v หัวกลับถ่างไว้ กั้นระหว่างหัวน้องทารกกับ perineum ของแม่ แล้วมือข้างที่ถนัดก็จับกรรไกรผ่าตัด ตัดฉึบเลย หลังจากนั้นก็ทำคลอดหัวน้องต่อ..
ระยะคลอดก่อน “ตัดฝีเย็บ”
การตัดฝีเย็บ 1.Midline episiotomy 2.Medio-lateral episiotomy
การตัดฝีเย็บที่นิยมใช้กันทั่วไปมี 2 แบบ (ตามภาพเจ้าค่ะ👆🏽)
1. Midline episiotomy : คือการตัดในแนวตรงดิ่งลงมาจะนิยมกันในอเมริกา ข้อดีคือ จะเย็บซ่อมง่ายกว่าแบบที่ 2 แต่ข้อเสียคือมีโอกาสที่จะฉีกขาดยาวไปถึงกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักได้
2. Medio-lateral episiotomy : เป็นการตัดที่เฉียงออกมาจากกึ่งกลางอย่างน้อย 45 องศา ซึ่งในประเทศไทยก็นิยมใช้แบบนี้ เนื่องจากเป็นวิธีที่เพิ่มความกว้างของช่องคลอดได้มากที่สุด และโอกาสเกิดการฉีกขาดของหูรูดทวารหนักนั้นน้อยกว่า ส่วนข้อเสียของวิธีนี้คือ เย็บซ่อมยากกว่าวิธีแรก อาจเสียเลือดมากกว่า และเจ็บปวดหลังคลอดมากกว่า
แล้วจำเป็นด้วยเหรอที่ต้องตัดฝีเย็บตอนคลอดธรรมชาติ ?
คำตอบคือ...ไม่จำเป็นเสมอไปค่ะ สำหรับในผู้หญิงที่เคยคลอดบุตรแบบธรรมชาติมาแล้วหลายครั้ง (ประมาณ 3-4 ท้อง ช่องคลอดก็จะหลวมๆหน่อย 😱)
-/\-
บางคนที่มี่เคยเจอ เป็นผู้หญิงครรภ์ที่ 5 ยังไม่ทันได้เบ่งเลย...หัวน้องทารกก็ออกมาแล้วว!! แต่สำหรับครรภ์แรก ก็จำเป็นต้องตัดค่ะ เพราะช่องคลอดยังไม่ผ่านการคลอดบุตรเดี๋ยวจะเกิดปัญหาตามมา
ซึ่ง 1 ในปัญหาที่ว่านั้นก็คือ..คือ..คืออออ
...
“แผลฉีกขาดที่ฝีเย็บ” หรือ Perineal Tear
แทร์นะคะ not เทียร์ เพราะมี่เคยอ่านว่าเทียร์มาแล้ว =.= /โดนจารย์ทุบ lt’s not น้ำตาฝีเย็บ
แผลฉีกขาดที่ฝีเย็บได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ระดับ
1. First degree tear : แผลฉีกขาดระดับชิวๆ ผิวๆโดนแค่เยื่อบุช่องคลอดและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันใต้ผิวหนังเท่านั้น ไม่ลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อของฝีเย็บ ถ้าแผลไม่ลึกมาก ก็ไม่จำเป็นต้องเย็บซ่อม เพราะบริเวณนี้เลือดมาเลี้ยงเยอะมาก แผลจะหายได้อย่างรวดเร็ว
2. Second degree tear : แผลจะฉีกถึงชั้นกล้ามเนื้อของฝีเย็บ แต่จะไม่ลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อหูดรูดทวารหนัก ต้องเย็บซ่อมเพื่อห้ามเลือด และแผลหายช้ากว่า first degree tear
3. Third degree tear : จะมีความเสียหายลึกถึงกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักแบ่งเป็น
3a : มีความเสียหายน้อยกว่า 50% ของชั้นกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักส่วนนอก
3b : มีความเสียหายมากกว่า 50% ของชั้นกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักส่วนนอก
3c : มีความเสียหายน้อยของชั้นกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักส่วนนอกทั้งหมด ‘หรือ’
มีความเสียหายลงไปถึงชั้นกล้ามเนื้อหูรูดด้านใน
4. Fourth degree tear : เป็นความเสียหายระดับจักรวาล ไปหมดเลยทุกชั้น! ช่องคลอดและรูทวารเชื่อมกันเป็นช่องเดียวกันไปเลยจ้าา
** สิ่งที่เป็นกังวลสำหรับคุณหมอและคุณพยาบาลทำคลอดก็คือ third-fourth degree tear เพราะการทำคลอดจะไม่ได้จบที่ห้องคลอดค่ะ ต้องไปต่อสถานีต่อไปคือ ‘ห้องผ่าตัด’ การทำงานจะscaleใหญ่ขึ้น ทั้งทีม ดมยา ทั้งทีมผ่าตัด เพื่อเย็บซ่อมกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก
เพราะเจ้า’ชั้นกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก’ มีความสำคัญในการกลั้นอึและตด ถ้าเกิดความเสียหาย ผู้ป่วยจะไม่สามารถกลั้นอึและตดได้ ก็จะเรี่ยราดตลอดเวลา // TT
และต่อให้มีรูเชื่อมกันเล็กน้อยก็ปล่อยไว้ไม่ได้ เพราะแบคทีเรียในลำไส้จะเข้าสู่ช่องคลอด ทำให้เกิดการติดเชื้อตามมาได้ ดังนั้นการเย็บฝีเย็บจะต้องใช้ความชำนาญและพิถีพิถันในการตรวจสอบมากกก
👉🏼 สรุปแล้ว ‘การผ่าฝีเย็บ’ มีความจำเป็นสำหรับการคลอดธรรมชาติในคุณแม่ที่ถูกประเมินมาแล้วว่าสามารถคลอดธรรมชาติได้ ยกเว้นคุณแม่ที่คลอดมาหลายครรภ์แล้วอาจไม่จำเป็นต้องผ่า เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดทั้งกับแม่และลูก และเพื่ออำนวยความสะดวกให้การคลอดเป็นไปอย่างราบรื่นมากที่สุดและลดเปอร์เซ็นต์การฉีกขาดของช่องทางการคลอด
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อการฉีกขาดของช่องทางการคลอด เช่น ความร่วมมือร่วมใจของคุณแม่ในการ ‘เบ่งคลอด’ เพราะบางท่านเจ็บครรภ์คลอดมากก สติหลุด ไม่ให้ความร่วมมือ ไม่เบ่งตามจังหวะที่มดลูกบีบตัว ก็เกิดการ แทร์ ได้มากเช่นกัน
กว่าคุณแม่หลายๆท่านจะให้กำเนิด เด็กน้อยที่น่ารักคนนึงมาได้นี่ก็ยากนะคะ เพราะเนื้อหาที่ได้นำมาเล่านี่เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ที่ผู้หญิงคลอดลูกคนนึงจะต้องเจอ..แล้วอย่าลืมบอกรักแม่กันนะคะ
วันนี้วันวิสาขบูชา...ชวนครอบครัวสวดมนต์อยู่ที่บ้านกันนะคะ
ไว้พบกันใหม่ค่ะ
#น้องง’หมอมี่
06/05/63
สวัสดีค่ะ หนูชื่อมี่นะคะ เป็นนักศึกษาแพทย์กำลังขึ้นชั้นปีที่ 5 ศึกษาอยู่ที่ศูนย์แพทย์แห่งหนึ่งในประเทศไทย 555 - มี่เรียนโครงการแพทย์ชนบทค่ะ ❤️
โพสต์นี้เป็นโพสต์แรกของเพจเลยย ตื่นเต้นนนนน
ขอ ขอบคุณ ขอบใจ ขอบพระทัย thank you ทุกคนมากๆเลยนะคะที่เข้ามาอ่าน ถ้ามีข้อสงสัยตรงไหนสามารถ comment ถามใต้โพสต์ได้เลยนะคะ
ขอฝากเนื้อฝากตัวและ หัวจายย เป็นน้องใหม่แห่งอาณาจักร BD ด้วยเจ้าค่ะ
ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนนะคะ :)
Reference รูปภาพ& เนื้อหา
https://www.kopabirth.com/perineal-tear-perineal-care/
https://www.freepik.com
https://elearning.rcog.org.uk//easi-resource/forceps/traction/episiotomy
https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=1103:obstetricperineal-laceration&catid=45&Itemid=561
20 บันทึก
83
69
33
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Medical Knowledge
20
83
69
33
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย