Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรียนแบบเศรษฐี
•
ติดตาม
5 พ.ค. 2020 เวลา 13:20 • ปรัชญา
## การเข้าใจ 3 สิ่งนี้…ทำให้การ "เปลี่ยนแปลงตัวเอง" ง่ายขึ้นได้ยังไง ? ##
สรุปจากหนังสือ New York Times Best Seller #1
Switch ของ Chip and Dan Heath
วันนี้...ไม่ว่าเราจะอยากเปลี่ยนตัวเองให้ดีขึ้นยังไง
หุ่นดีขึ้น ทำงานเก่งขึ้น พูดเก่งขึ้น มีรายได้มากขึ้น
แน่นอนว่า…การที่จะพาตัวเองไปอยู่ในจุดที่ดีขึ้น
เราย่อมต้องแลกด้วยการ "เปลี่ยนแปลง" อะไรบางอย่าง
2
เพราะเราไม่สามารถคิดแบบเดิม ทำแบบเดิม
แล้วหวังว่าจะได้ผลลัพธ์ใหม่ๆในชีวิตได้
และสำหรับคนที่พยายามเปลี่ยนแปลงตัวเอง
ก็จะรู้ๆกันว่า…
พอจะ "เปลี่ยน" จริงๆ มันไม่ง่ายอย่างที่คิดเลย
เพราะธรรมชาติของสมองมนุษย์ไม่ชอบความเปลี่ยนแปลงที่สุด
ทุกครั้งที่พยายามเปลี่ยน พฤติกรรมเดิมๆ
เรามักรู้สึกเหนื่อย และเหมือนโดนต่อต้าน
สุดท้าย…ก็กลับกลายไปทำพฤติกรรมเดิมๆอีก
และแน่นอน…ผลลัพธ์ในชีวิตก็เลยไม่เปลี่ยน
นี่คือหนึ่งใน "ความยาก" ที่สุดในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง
แล้วเราจะจัดการกับความยาก ตรงนี้ยังไงดี ?
.
มีหนังสือเล่มหนึ่งฮะ
เล่าถึงการเปลี่ยนแปลงตัวเองได้เข้าใจง่ายยยย และ เห็นภาพมากกก ๆ
เล่มนี้ชื่อ Switch ของ Chip and Dan Heath
เค้านิยามการเปลี่ยนแปลงให้ "เข้าใจ" ในประโยคเดียวเลยคือ
การเปลี่ยนแปลง คือ "คนขี่ช้างเพื่อไปให้ถึงจุดหมาย"
.
เพราะจริงๆแล้ว การเปลี่ยนแปลงตัวเอง
หรือการพาตัวเองจากจุดเดิม ไปยังจุดใหม่
ก็คือ ----> ต้อง "จัดการกับตัวเอง" ให้ได้
ถ้าลองสังเกต…จะมี 3 ตัวละครหลักๆที่เราต้องจัดการให้อยู่หมด คือ
คนขี่ช้าง , ช้าง , เส้นทางไปยังจุดหมาย
.
1
คนขี่ช้าง (เหตุผล)
ถ้าเคยอ่านเรื่องวิทยาศาสตร์สมอง เราจะรู้ว่า
สมองมีโหมดการทำงานหลักๆคือ อารมณ์ และ เหตุผล
ซึ่งในส่วนของคนขี่ช้างนี่คือ การจัดการกับสมองส่วน "เหตุผล"
ถือเป็น สมองส่วนที่คิด วิเคราะห์ได้
รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควรดีอยู่แล้ว
Key ของการจัดการ คือ
เราจะต้องใส่ "ความชัดเจน" ให้กับมัน เช่น
เราต้องการเปลี่ยนตัวเองให้มีหุ่นดี มีซิกแพคที่ดี
ต่อไปนี้เราเลยจะ
"กินแต่อาหารที่ Healthy เท่านั้น"
"จะออกกำลังกายทุกวัน"
แบบนี้ถือเป็นความคิดที่ดี แต่ถือว่ายัง "ไม่ชัดเจน"
ความชัดเจนคือ ต้องระบุเลยว่า
-จะกินแต่นม Fat0% เท่านั้น
-จะไม่กินเนื้อสัตว์ติดมันเลย
-ไม่กินของทอด
-จะวิดพื้นวันละ 20 ครั้ง วันละ 3 เซต
-จะแพลงค์วันละ 2 นาที 3 เซต อะไรว่าอะไร
ถ้า "ชัดเจน" คนขี่ช้างจะมีประสิทธิภาพ รู้ว่าต้องทำอะไร
เวลาวางแผนทำงานในแต่ละวันก็เช่นกัน เช่น
อย่าบอกว่า "วันนี้จะเขียน 1 บทความ" มันไม่ชัดเจน
ระบุไปเลย
-วันนี้จะหาข้อมูลเรื่อง เงินดิจิตอลในยุคใหม่ จาก 5 แหล่ง
-สรุปใจความสำคัญ
-เรียบเรียงเป็นบทความ
-ทำรูป
-โพส
2
ช้าง (อารมณ์)
ช้างเปรียบเสมือนสมองส่วน "อารมณ์" แปลง่ายๆคือ
ทำตามอารมณ์ ไม่สนเหตุผล ซึ่งสำคัญมากๆ
เพราะคนให้คนขี่รู้ว่าต้องไปทางไหน แต่ช้างไม่ยอมเดินไปตามที่บอก
ก็จะไม่ประโยชน์
ปัญหาของช้าง (อารมณ์) มี 2 อย่างคือ
1)มันไม่ยอมเดินซักที
2)มันเดินตามอารมณ์ แวะชมข้างทาง
ไม่เดินตามเส้นทางไปสู่เป้าหมาย
ซึ่งเรื่องนี้ต้นเหตุก็มาจากเรื่อง
Fixed Mindsets & Growth Mindsets อีกแหละ
เพราะที่ช้างมันไม่เดิน เพราะมันกลัวว่าเดินแล้วจะพลาด
พอพลาดแล้วกลัวมีคนมาตัดสินตัวเอง หรือไม่ก็เรานี่แหละที่ตัดสินตัวเอง
ว่าเป็นคนไม่ประสบความสำเร็จ (Fixed Mindsets)
แต่ถ้าเราคิดแบบ Growth Mindsets คือทุกย่างก้าวคือ การเรียนรู้
ทุกอย่างพัฒนาได้ วันนี้อาจะเริ่มได้ไม่ดี แต่ต้องดีขึ้นเมื่อพยายามฝึกฝนต่อไป
แบบนี้ ช้างก็จะกล้าเดินออกไปมากขึ้น
3
เส้นทางไปยังจุดหมาย (สิ่งแวดล้อม)
เส้นทาง คือ สิ่งแวดล้อมรอบตัว
เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่หลายๆคนลืมใส่ใจ
แต่มันคือสิ่งที่ต้อง "เลือก" เลยย ไม่ใช่ยังไงก็ได้
เพราะตราบใดที่เราบอกตัวเองว่า จะลดน้ำหนัก
แล้วชัดเจนกับตัวเอง จัดการกับช้างแล้ว
แต่ยังไปเดินตลาดกลางคืน พาตัวเองไปเดินดูของกิน
ยังอยู่ในแวดล้อมคนที่ชอบชวนกันกิน
ก็เหมือนกับ พาช้างไปเดินที่ข้างทางที่มีอ้อยของโปรดเต็มไปหมด
มันยากมากก ที่จะหวังว่าช้างจะเดินไปตามเส้นทาง
การทำงานก็เช่นกัน ถ้าอยากโฟกัสก็ไม่ควร
แว่บไปเข้า FB , IG , Tiktok เพราะทุกครั้งที่คิดว่าพักเล่นแปบเดียว
มันยาวทุกครั้ง เพราะเราควบคุมช้างไม่อยู่
เมื่อเราเข้าใจภาพนี้
1."ชัดเจน" กับตัวเอง ว่าจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง
2."ปรับ Mindsets จัดการอารมณ์" ไม่ต้องกลัวว่า ทำแล้วจะพลาด
เคลียกับตัวเองว่า ทุกอย่างพัฒนาได้แล้วเริ่มเลย
3."เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม" หลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นความสนใจของช้าง
และจัดที่ทางให้ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลง
เท่านี้ เราก็จะเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ง่ายขึ้นแล้ว
เอาละ แล้วเจอกันบทความต่อไป
ขอให้ทุกคนสนุกสนานกับการพัฒนาตัวเองฮะ
อาเหลียง :)
33 บันทึก
53
1
36
33
53
1
36
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย