Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Thinker นักคิด
•
ติดตาม
10 มี.ค. 2021 เวลา 11:20 • ไลฟ์สไตล์
What did we learn from stoicism?
เราเรียนรู้อะไรได้จากลัทธิสโตอิกนิยม?
ลัทธิ สโตอิกนิยมคืออะไร What is stoicism?
ความหมายของลัทธิสโตอิกนิยม
สำหรับพวกเราที่ใช้ชีวิตโดยมองโลกตามความเป็นจริง มีปรัชญาอย่างหนึ่งที่
ถูกสร้างมาเพื่อพวกเรา นั่นคือ ลัทธิสโตอิกนิยม
ถ้าจะให้พูดสรุปสั้นๆเรื่องเริ่มมาจาก โรงเรียนที่มีการสอนเกี่ยวกับปัชญากรีกโบราณ ลัทธิสโตอิกนิยม ถูกคิดค้นที่นครเอเธนส์ โดยนักปราชญ์ของ
Citium ในช่วงต้นศตวรรษที่ 3 แต่พึ่งจะได้รับความนิยมโดยคนที่นำมาใช้
ในการฝึกฝนคือ Epictetus Seneca และ Marcus Aurelius ปรัชญานี้มัก
เน้นไปที่คุณธรรมและปัญญา ลัทธินี้เชื่อว่า ความสุข และ การตัดสินใจ
ควรขึ้นอยู่กับ พฤติกรรม ของเราเอง มากกว่าจะมาจากคำพูด หรือสิ่งเร้าภายนอกที่เราไม่ได้เป็นคนควบคุมมัน แต่ชีวิตเราขึ้นอยู่กับตัวเราเอง และ
การเลือกตอบสนองของเราเอง
ปรัชญาของสโตอิกมีหลักการสอนไม่กี่อย่าง ปรัชญานี้สอนให้เรา ตระหนักว่า
โลกนี้ไม่แน่นอนเสมอไป ช่วงชีวิตมนุษย์สั้นกว่าที่เราคิดไว้มาก ปรัชญา
สโตอิกสอนให้เรา อดทน และ แข็งแกร่ง และเรียนรู้ที่จะควบคุมตนเอง
และท้ายที่สุด ความไม่พอใจในชีวิตของเราทั้งหลายทั้งสิ้นมันเกิดจากการ
ที่เราตอบสนองต่อสภาพการณ์ภายนอกตามอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าใช้
เหตุผล
ปรัชญาสโตอิกไม่ได้มีความซับซ้อนในตัวมันเองหรือเป็นทฤษฏีเกี่ยวกับ
โลกใบนี้ ปรัชญาสโตอิกจะสอนให้เราอยู่เหนืออารมณ์ที่รุนแรงโหดร้ายของ
เราเอง และสอนให้เราตอบสนองในทางที่ถูกที่ควร ปรัชญานี้ถูกสร้างเพื่อ
ให้ผู้คนปฏิบัติตามแนวทางและเข้าใจชีวิต ไม่ใช่ จะตั้งคำถามหรือมา
อภิปรายกันอย่างไม่จบไม่สิ้น
ปรัชญานี้มีผู้นำที่สำคัญ 3 คนด้วยกัน
1. Marcus Aurelius จักรพรรดิของจักรวรรดิ์โรมัน เป็นบุคคลหนึ่งที่ทรง
อำนาจคนหนึ่งของโลกในประวัติศาสตร์ ในทุกๆวัน เขามักจะนั่งเขียนบันทึก
เกี่ยวกับเรื่องความยับยั้งชั่งใจของตัวเอง ความเห็นอกเห็นใจ และ ความนอบน้อมเสมอๆ
Marcus Aurelius
2. Epictetus ทนกับความน่าสะพรึงกลัวของการตกเป็นทาส จนสุดท้ายเขาได้พบกับโรงเรียนที่ได้สอนผู้มีปัญญาแห่งโรมหลายท่านมาแล้ว
ไม่สำคัญว่าอะไรเกิดขึ้นกับคุณ แต่การที่คุณเลือกตอบสนองต่างหากที่สำคัญ
3.Seneca เมื่อ Nero ได้ละทิ้งSeneca และได้สั่งให้เขา ฆ่าตัวตายเสีย ตัวเขาเองคิดแต่ที่จะหาทางปลอบโยนลูกแล้วก็ภรรยาเท่านั้นโดยไม่สนคำสั่งใดๆ
อันที่จริงแล้วปรัชญาสโตอิกไม่ได้ถูกฝึกเพียง 3 คนนี้เท่านั้น ยังมีพระราชา
ประธานาธิปดี ศิลปิน นักเขียนและเจ้าของกิจการคนยุคเก่าแล้ยุคใหม่ทุกวันนี้แสดงให้เราเห็นว่า ปรัชญาสโตอิกเป็นหนทางในการดำเนินชีวิต
กษัตริย์แห้งปรัซเซีย เฟรดเดอริกมหาราช มักพกหนังสือปรัชญาสโตอิกไว้
ในอานม้าเวลาที่เขาไปสถานที่ต่างๆเสมอ คำกล่าวของเขาเกียวกับสโตอิก
คือ จงประคับประคองความโชคร้ายเอาไว้ อย่าให้มาย่างกรายเราได้
Montaigne นักการเมืองและ ผู้เขียนเรียงความ มีบรรดทัดจากคำพูดของ
Epictetus ที่ถูกแกะสลักอยู่ที่คานเหนือหัวเขาไว้เตือนใจตัวเองเสมอๆ
นักเศรษฐศาสตร์ Adam Smith คิดค้นทฤษฏีเกี่ยวกับระบบทุนนิยม ทฤษฏี
ของเขาได้รับอิทธิพลจากปรัชญาสโตอิกในสมัยที่เขาได้เรียนเมื่อยังเด็ก
เขาเรียนรู้ศึกษาปรัชญานี้จากครูของเขาที่แปลงานเขียนของ Marcus Aurelius
นักคิดทางการเมือง John Stuart Mill เขียนเกี่ยวกับ Marcus Aurelius และ
ปรัชญาสโตอิก ในตำรายอดนิยมของเขา คือ แด่อิสระภาพ เขาเรียกมันว่า
จุดสูงสุดของจริยธรรมปัญญาโบราณ
ปรัชญาสโตอิกแตกต่างจากโรงเรียนที่มีอยู่ในปัจจุบันอยู่สิ่งหนึ่งนั่นคือ
เป้าหมายของปรัชญาสโตอิกมีไว้ประยุกต์ใช้ในชีวิต ไม่ใช่องค์กรที่ผลิตความรู้
แต่มันเป็นเครื่องมือที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อทำให้ชีวิตของเรา
ดีขึ้นและเป็นประชากรที่ดีต่อโลกใบนี้
จริงๆแล้วเราอาจจะพูดกันได้ว่า เพราะ Marcus Aurelius เป็นจักรพรรดิแห่ง
โรม จะมาเข้าใจอะไรกับชีวิตธรรมดาที่คนทั่วไปประสบเจอ กษัตริย์ คือ เทพ
หรือจะพูดอีกแบบหนึ่งคือ เป็นคนธรรมดาที่มีเงินทอง และ อำนาจอย่างไม่จำกัด ซึ่งแตกต่างกับประชาชนธรรมดาที่มีความทุกข์ความยากลำบาก
ก่อนที่เราจะสรุปกันว่าปรัชญาสโตอิกนี้เหมาะกับคนใช้ชีวิตด้วยความลำบาก
หรือเศร้าหมองนั้น ให้คุณลองถามตัวเองกันก่อนนะครับว่า ถ้าคุณเป็น
จอมเผด็จการ คุณจะเขียนไดอารี่ออกมาแบบไหน? คงต้องสนับสนุนความ
คิดตัวเองและเอาแต่ใจสุดๆอย่างแน่นอน แต่ Marcus Aurelius ไม่ใช่
กษัตริย์แบบนั้นไงครับ
งานเขียนปรัชญาสโตอิก ให้เปรียบเทียบคงคล้ายกับ การอุ่นเครื่องก่อนเกมส์
จะเริ่มต้นขึ้นนั่นแหละครับ คุณต้องเรียนรู้เพื่อที่จะทำตัวเองให้พร้อมก่อนที่จะ
เจอกับปัญหาถูกไหมครับ ปรัชญาสโตอิกมีความแตกต่างกับหนังสือปรัชญา
ของทางมหาวิทยาลัยมาก การยึดหลักปรัชญาสโตอิกในการดำรงชีวิตก็
เหมือนกับการเตรียมตัวของเราให้พร้อมที่จะยึดหลักการทางปรัชญาไว้ใช้
ในการดำรงชีวิตเพื่อต่อสู้ฟันฝ่ากับอุปสรรคที่เราจะเจอในอนาคตนั่นแหละ
เรามาดูกันว่าบทเรียนทั้ง 4 ข้อ ที่จะนำมาใช้ได้นั้นมีอะไรกันบ้าง
1.ฝึกทำสิ่งที่คุณกลัวหรือยากลำบาก
“It is in times of security that the spirit should be preparing itself for difficult times; while fortune is bestowing favors on it is then is the time for it to be strengthened against her rebuffs.” -Seneca
Seneca มีความสุขกับดื่มด่ำและความมั่งคั่งจากการเป็นที่ปรึกษาให้Nero
รู้ไหมครับSeneca แนะนำว่าอย่างไรถึงการใช้ชีวิต?
เขาแนะนำว่า ในเดือนนึงเราควรจะใช้เวลาไปกับการฝึกฝนความยากลำบาก
ในการใช้ชีวิต คือฝึกใช้ชีวิตอย่างคนยากจน รับประทานอาหารเพียงเล็กน้อย
ใส่เสื้อผ้าที่ขาดเละเทะให้มากที่สุด หนีออกจากบ้านเสีย อย่าหาเตียงนอน
ให้นอนกับพื้น ฝึกฝนที่จะทำตรงข้ามกับสิ่งที่ตนต้องการ ลองถามตัวเองดูว่า
นี่คือ สิ่งที่ฉันเคยกลัวใช่หรือไม่?
การฝึกทำสิ่งที่เรากลัวจะช่วยให้เราก้าวข้ามความยากลำบากในการใช้ชีวิต
ได้ มันเป็นดั่งการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเราเอง ความสะดวกสบาย
เป็นสิ่งที่มนุษย์เรากลัวที่จะสูญเสียมันไปมากยิ่งนัก ฉะนั้นแล้ว หากเราฝึก
ที่จะไม่ยึดอยู่กับความสบายแล้ว เมื่อวันนึงเมื่อเราสบาย แล้วสูญเสียความ
สบายไป เราจะได้ไม่ทุกข์ใจมากนัก หากไม่มีภูมิคุ้มกันนี้ เป็นไปได้ว่า ชีวิต
คุณอาจจะล้มได้ง่ายๆหากไร้ซึ่งภูมิต้านทาน
อารมณ์ความรู้สึก เครียด วิตกกังวลและความกลัว เป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึก
ไม่มั่นคง ใครก็ตามที่ถูกความรู้สึกเหล่านี้ครอบงำ ย่อมรู้ดีว่า มันดูดพลังงาน
และความคิดเราไปมากแค่ไหน ทางแก้คือ จงฝึกที่จะยอมรับและเข้าใจ
ปัญหาก่อนจากนั้นจึงเพิกเฉยเสีย เพราะจมปลักไปก็ไม่ได้อะไร หรือถ้า
แก้ไม่ได้ก็ปล่อยวาง
ฝึกฝนสิ่งที่คุณกลัวไม่ว่าจะเป็นการจำลองสถานการณ์ในใจของคุณหรือในชีวิตจริง
2. ฝึกการรับรู้ของเราต่อสภาพแวดล้อมให้เรียนรู้จากเรื่องแย่ๆเสมอ
ถ้าเลือกที่จะรู้สึกแย่ คุณก็รู้สึกแย่ ถ้าไม่รู้สึกแย่แสดงว่าคุณไม่ได้โดนทำให้รู้สึกแย่ Marcus Aurelius
การฝึกข้อนี้พูดง่ายก็เหมือนการปรับมุมมองทัศนคติ ถ้าคุณมองว่า ปัญหาที่
เกิดขึ้นมันแย่ มันก็แย่จริงๆอย่างที่คิดแล้วสมองของคุณจะไม่คิดหาทางแก้
ปัญหา แต่หากมองว่ามันคือ โอกาสในการเรียนรู้ หรือ อุปสรรคที่จะทำให้เรา
แข็งแกร่งขึ้น สมองของคุณจะมองหาวิธีแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาด และ คุณ
จะได้เรียนรู้จาก อุปสรรคนั้น
เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส นั่นคือสิ่งที่นักลงทุนหลายๆท่านทำ
ลองนึกดูนะครับว่า ถ้าคุณอยู่ในสถานการณ์ที่ตัวเองกล้าลงมือทำในสิ่งที่คนอื่นไม่กล้า คุณจะมีโอกาสปฏิวัติแนวคิดและไปสู่ความสำเร็จมากกว่าคนอื่นขนาดไหน?
3. บางอย่างควบคุมได้ และ บางอย่างอยู่เหนือการควบคุม
1
บทเรียนข้อนี้สำคัญมาก เพราะเรียกได้ว่าเป็นพื้นฐานของปรัชญานี้เลยก็ว่าได้
เราต้องเรียนรู้ก่อนเลยว่าในชีวิตของเรานั้น
"บางอย่างเราควบคุมได้ และ บางอย่างเราควบคุมไม่ได้" ลองนึกคิดดู
"หากคุณไปไม่ทันเที่ยวบินที่คุณจอง การตะโกนด่าเจ้าหน้าที่พนักงานหรือเครื่องบิน ย่อมไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งใดได้" หรือ แม้กระทั่ง
การขอพรให้เรารวยขึ้น มีรถ มีแฟนสาวที่สวย
สิ่งเหล่านี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้เอง นอกจากเราจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ คุณไม่สามารถทำให้คนที่ไม่ชอบคุณเปลี่ยนใจมาชอบคุณได้ จะดีกว่าไหม ถ้าหากเปลี่ยนมาใส่ใจเฉพาะสิ่งที่เราจะลงมือทำเองได้ โดยไม่ต้องรอผู้อื่น ไม่ต้องร้องขอสิ่งใดจากใคร
ถ้าลองมานั่งทบทวนชีวิตตัวเองดู มีสักกี่ครั้งที่มนุษย์เราตระหนักได้ว่า "ชีวิตเราจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับตัวเราเอง ไม่เกี่ยวกับสิ่งใดทั้งสิ้น "
หากคุณเมื่อแต่กล่าวโทษ ร้องขอสิ่งต่างๆจากผู้อื่นเสมอ คุณจะไม่มีทางเอาชนะชีวิตนี้ได้อย่างแน่นอน
4. ไม่มีสิ่งใดอยู่คงทนถาวร
ชีวิตของมนุษย์เรานั้นเปราะบางยิ่งนัก เกิด แก่ เจ็บ แล้วก็ ตาย สิ่งมีชิวิตอื่นก็เช่นกัน
ต่อให้เป็นเสือ ที่มีเขี้ยวเล็บคอยล่าเหยื่อ สุดท้าย ย่อมถูกสิ่งมีชิวตที่ทรงปัญญาอย่างมนุษย์เรา ล่านำหนังมาเป็นเครื่องนุ่งห่มอย่างง่ายดาย
ความสำเร็จที่เคยพานพบประสบเจอเมื่อวันวานไม่อาจอยู่คงทนในความทรงจำของผู้อื่น ไม่นานผู้คนก็ลืมเลือน จะมีเพียงก็แต่ตัวเราที่ยังคงจดจำมันอยู่เสมอๆ และเล่าขานถึงความยิ่งใหญ่ของตัวเอง ยิ่งใหญ่สักเพียงใด สักวันก็กลายเป็นเพียงความทรง
จำ
รถ บ้านที่ซื้อมาในวันนี้ เมื่อเวลาผ่านล่วงเลยไป ย่อมมีการสึก เสื่อมสภาพ พังลงอย่างง่ายดาย หลายๆคนอาจหัวเสีย ไม่พอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นแต่นี่ คือ ข้อเท็จจริง ของ สิ่งของที่มีวันเสื่อมสภาพ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับแนวคิดการดำเนินชีวิตแนวสโตอิคที่กล่าวข้างต้น?
ถ้าชอบกด Like
ถ้าใช่กด Share
และอย่าลืมกดติดตามกันนะครับ
See ya
14 บันทึก
9
18
14
9
18
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย