5 พ.ค. 2020 เวลา 17:17 • ปรัชญา
สรุปกฎข้อที่ 1 จากหนังสือ “12 กฎที่ใช้ได้ตลอดชีวิต”
ยืนให้ตัวตรง อกผาย ไหล่ผึ่ง
ช่วงนี้ซื้อหนังสือเล่มใหม่มาเยอะมาก หนึ่งในนั้นคือหนังสือเรื่อง “12 กฎที่ใช้ได้ตลอดชีวิต” ซึ่งเป็นหนังสือแนวจิตวิทยาของ ดร. จอร์แดน บี. ปีเตอร์สัน
Lobster เหมือนกับเรามากกว่าที่เราคิด...
Lobster ต้องการอยู่ในจุดที่ปลอดภัย มั่นคง แย่งชิงพื้นที่ที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง มีความหมกมุ่นกับสถานภาพและตำแหน่ง
Lobster ที่โชคดีที่สุด แข็งแรงที่สุด แข็งแกร่งที่สุดจะได้ครอบครองพื้นที่ที่ดีที่สุด
Lobster ที่อ่อนแอกว่ามักพ่ายแพ้ และเกิดความรู้สึกไม่อยากสู้ต่อ แม้แต่จะต้องสู้ต่อกับตัวที่มันเคยชนะมาแล้วก็ตาม เนื่องจากความมั่นใจที่สูญเสียไป
Lobster มั่นใจ vs ขี้ขลาด ขึ้นกับอัตราส่วนของสารเคมีสองตัว คือ serotonin และ octopamine
ร่างกายของ Lobster มีความมั่นใจสามารถหลั่ง Serotonin ได้ดีกว่า และจะหลั่งมากขึ้นอีกหากมันชนะซ้ำๆ
Serotonin นี้เองจะช่วยควบคุมการเหยียดงอของหลัง ทำให้ Lobster สามารถยืดส่วนต่างๆของร่างกายได้ดี ทำให้มันยิ่งดูสูงและอันตราย นี่คือลักษณะของผู้ชนะ
Lobster ที่แข็งแกร่ง เคยชนะ มีความมั่นใจ = มีโอกาสชนะมากกว่าไม่จบสิ้น
Lobster ที่เอาตัวเองไปสู่ความพ่ายแพ้ และขี้ขลาดคอตก = เปิดรับความพ่ายแพ้ไม่จบสิ้น
เกิดเป็นวงจรป้อนกลับซ้ำซ้อน (Positive feedback loop)
“โลกของ Lobster คือโลกที่ผู้ชนะได้ทุกอย่าง เช่นเดียวกับสังคมมนุษย์ที่ซึ่งคนรวยที่สุด 85คน มีทรัพย์สินมากกว่าคนชั้นล่าง 3,500 ล้านคน”
นี่คือบางส่วนที่เราเหมือนพวกมัน :)
ลุกขึ้นสู้ ! คือสิ่งที่เรื่องนี้ให้กับเรา
บางทีเราอาจจะเป็นคนขี้แพ้หรือไม่ใช่ แต่ถึงใช่ก็ไม่ควรอยู่ในบุคลิกนั้นตลอดไป
หากห่อเหี่ยวไปเรื่อยๆ
- คนอื่นจะมองว่าเรามีสถานภาพที่ต่ำกว่า
- ผลิต serotonin น้อย = ความสุขที่น้อยลง
- ลดความน่าจะเป็นที่จะได้อยู่ในสังคมที่ดี
สรุปง่ายๆ คือไม่มีอะไรดีเลย แถมยังทำให้ดำดิ่งต่อไปเรื่อยๆไม่จบสิ้น (Positive feedback loop)
หลายคนมองว่าความตกต่ำมีจริงๆนะ แค่เปลี่ยนท่าทางจะช่วยอะไรได้ล่ะ?
ลองคิดเล่นๆว่าอาจจะเพิ่มโอกาสเหล่านี้
- ดูมีพลังอำนาจ ดึงดูดความสนใจ
- แสดงถึงการเผชิญหน้ายอมรับในตัวเอง ซึ่งระบบประสาทรับรู้และเรียนรู้ได้
- แสดงถึงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง
- มีความมั่นใจมากขึ้น
- บนสนทนากับคนอื่นไหลลื่นขึ้น
- มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นมากขึ้น
ไม่ใช่แค่เพิ่มความเป็นไปได้ที่สิ่งดีๆจะเกิดขึ้นกับเรา แต่จะทำให้เราได้รู้สึกดีๆกับสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างทางมากขึ้น
เนื้อหาจริงๆยาวและสนุกมาก หากมีโอกาสมิวจะมาแชร์ตัวอย่างที่น่าสนใจที่หนังสือเล่มนี้หยิบยกขึ้นมา, เรื่องราวของวงจรป้อนกลับซ้ำซ้อน (positive feedback loop) ที่พบในผู้ป่วยทางกายภาพบำบัด, ท่าทางการออกกำลังกายปรับท่าทางให้อกผายไหล่ผึ่ง และอื่นๆอีกมากมายค่ะ
อ่านหนังสือบทเดียวต่อยอดความรู้ได้เยอะมากเลย ว่ามั้ยคะ
ฝากติดตามมิวด้วยนะคะ
ที่สำคัญ “ยืนตัวตรง อกผาย ไหล่ผึ่ง”
ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านและให้กำลังใจล่วงหน้าค่า 🤟🏽🤟🏽🤟🏽
โฆษณา