6 พ.ค. 2020 เวลา 03:21 • ไลฟ์สไตล์
วิธีเลี้ยงปลาหมอและการทำบ่อ พร้อมการให้อาหาร ช่วยเร่งโตไว
By jo-workman
เกษตรกรมือใหม่ที่กำลังมองหาอาชีพ หรือเกษตรกรมือเก่าที่กำลังอยู่ระหว่างการชั่งใ จ จะเปลี่ยนไปดูวิถีการเกษตรในบริบทอื่น ลองดูเรื่องการเลี้ยง “ปลาหมอ” ของกรมประมง ซึ่งได้แนะนำ ขั้นตอน วิธีการเลี้ยง ไว้อย่างน่าสนใจทีเดียว
ปลาหมอ เป็นปลาน้ำจืดพื้นบ้านของไทยที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ประชาชน ทุกระดับชนชั้นของสังคมไทยนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถประกอบอาหารได้หลากหลาย ทั้งแกง ต้ม ทอด ย่าง หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อีกทั้ง เป็นปลาที่มีความทนทาน ทรหด อดทนสูง เพราะมีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจ (labyrinth organ) จึงอาศัยอยู่ได้ในบริเวณที่มีน้ำน้อยๆ หรือที่น้ำชุ่มชื้นได้เป็นเวลานาน จึงง่ายต่อการขนส่งระยะทางไกลๆ และจำหนายในรูปปลาสดมีชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม ผลผลิตส่วนใหญ่ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ
การเลี้ยงปลาหมอในบ่อดิน
1) การเตรียมบ่อ
ขนาดบ่อที่ใช้เลี้ยงปลาหมอส่วนใหญ่ขนาดไม่ใหญ่นัก พื้นที่ ประมาณ 1-3 งาน หรือบางแห่งนิยมเลี้ยงในบ่อขนาด 3-4 ไร่ ความลึกประมาณ 1.5-2.0 เมตร บ่อเก่าต้องสูบน้ำให้แห้ง กำ จั ด ศั ต รูปลาโดยเฉพาะปลากิน เ นื้ อ วั ช พื ชและพั น ธุ์ไม้น้ำออกให้หมด หว่านปูนขาวประมาณ 150-200 กิโลกรัมต่อไร่ ตากบ่อให้แห้งเป็นระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ เพื่อเป็นการ ฆ่ า เ ชื้ อโ ร คและศั ต รูปลา
กรณีบ่อใหม่หว่านปูนขาวปริมาณ100 กิโลกรัมต่อไร่ ใช้อวนไนลอนสีฟ้ากั้นรอบบ่อให้สูงประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปลาหลบห นีสูบน้ำลงบ่อก่อนปล่อยลูกปลาประมาณ 60-100 เซนติเมตร จากนั้นค่อยๆ เติมน้ำเข้าบ่อเป็นเวลา 8 สัปดาห์ จนมีระดับน้ำ 1.5 เมตร และควบคุมระดับน้ำที่ระดับนี้ตลอดไป
2) การเลือกลูกปลา
ขนาดปลาหมอที่เหมาะสมในการปล่อยเลี้ยงบ่อดินมี 2 ขนาดคือ ลูกปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร หรือเรียกว่า “ใบมะขาม” ซึ่งมีอายุ 25-30 วัน และขนาด 2-3 นิ้ว ซึ่งเป็นลูกปลาอายุ 60-75 วัน เกษตรกรที่ทั่วไปอาจเลือกลูกปลาขนาด 2-3 นิ้ว
3) อัตราปล่อยลูกปลาลงเลี้ยง
โดยทั่วไป เกษตรกรนิยมลูกปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร อัตราปล่อย 30-50 ตัวต่อตารางเมตร หรือ 50,000-80,000 ตัวต่อไร่ หากใช้วิธีปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาให้ผสมพันธุ์วางไข่ อนุบาลและเลี้ยงในบ่อเดียวกันดังกล่าวมาแล้วข้างต้น โดยใช้อัตราพ่อแม่ พั น ธุ์ ปลา 40-60 คู่ต่อไร่ จะได้ลูกปลาขนาดใบมะขามประมาณ80,000-150,000 ตัว ต่อไร่
4) อาหารและการให้อาหาร
การเลี้ยงปลาหมอแบบยังชีพหรือแบบหัวไร่ปลายนาไม่ว่าในบ่อปลาหลังบ้าน ร่องสวน คันคูน้ำมุมบ่อในนาข้าว นอกจากอาหารตามธรรมชาติแล้ว ปลาหมอนั้นเป็นปลากิน เ นื้ อ ในช่วงแรกจากลูกปลาขนาดใบมะขามเป็นปลารุ่น (อายุ 1-2 เดือน) ต้องการอาหารที่เป็นโปรตีนสูงมากหลังจากนั้นเมื่ออายุ 2-3 เดือน ต้องการอาหารระดับโปรตีนต่ำ ซึ่งการให้ต้องเดินหว่านอาหารให้รอบบ่อ ใช้อาหารปลาดุกได้เลยตามช่วงอายุ เช้า-เย็น โดยสังเกตุการทานของปลาโดนอย่าให้มากเกินไป
ระยะเวลาเลี้ยง
ระยะเวลาเลี้ยงขึ้นอยู่กับขนาดปลาที่ตลาดต้องการ สภาวะสิ่งแวดล้อมภายในบ่อและสุขภาพปลาทั่วไปใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 90-120 วัน ส่วนการจับปลานั้นจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อย แล้วจึงตีอวนล้อมจับปลา ช้สวิงจับปลาใส่กระชังพักปลาหรือตะกร้าเพื่อคัดขนาดบรรจุปลาในลังไม้ ใช้น้ำสะอาดฉีดพ่นทำความสะอาดตัวปลาซึ่งมักติดคราบโคลนและกลิ่นโคลนดินหลายๆ ครั้ง
แหล่งที่มา : กรมประมง (ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร)
โฆษณา