6 พ.ค. 2020 เวลา 13:32 • ไลฟ์สไตล์
เททริส (Tetris) เกมที่เป็นมากกว่าเกม
Credit: Hello I’m Nick/Unsplash
หลายคนคงเคยเล่นเกมคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะเป็นบล็อครูปร่างต่าง ๆ หล่นลงมาจากด้านบน แล้วให้เราขยับหรือหมุนเพื่อเรียงต่อกันเป็นแถว ใช่แล้ว
ครับ เรากำลังกล่าวถึงเกมยอดฮิตสุดคลาสสิคที่มีชื่อว่า “เททริส” (Tetris)
และเมื่อกล่าวถึงเกม ส่ิงที่คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงนั่นก็คือความสนุกสนาน
ความผ่อนคลายที่ได้จากการเล่น แต่สิ่งที่หลายคนอาจไม่ทราบคือ เททริสนั้นมันเป็นมากกว่าเกมครับ และสิ่งที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ คือสิ่งที่เรียกว่า “เททริสเอฟเฟกต์” (Tetris Effect)
Credit: MusicTobi/Pixabay
ก่อนจะกล่าวถึงเจ้าผลกระทบที่ว่า คงต้องขอเกริ่นเกี่ยวกับประวัติความเป็น
มาของเกมนี้ ย้อนหลังไปเมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว เททริสเป็นเกมถูกออก
แบบและพัฒนาขึ้นโดย Alexey Pajitnov วิศวกรซอฟต์แวร์ชาวรัสเซีย ใน
ขณะที่เขาทำงานให้กับ Academy of Science of the USSR ซึ่งเป็น
สถาบันทางด้านวิชาการแห่งหนึ่งของสหภาพโซเวียตในขณะนั้น แนวคิดของเททริสเกิดขึ้นขณะที่ Pajitnov กำลังออกแบบระบบ “ปัญญาประดิษฐ์”
(Artificial Intelligence) ให้กับหน่วยงาน โดยเขาใช้เวลาน้อยกว่าสอง
สัปดาห์ในการพัฒนาเกมนี้ขึ้นมา และเมื่อเททริสได้รับความนิยมจากเพื่อน
ร่วมงาน เขาจึงได้มีการวางแผนสำหรับการเผยแพร่เกมออกสู่สาธารณะ
อย่างไรก็ดี ในช่วงแรกของการขาย รายได้ทั้งหมดตกเป็นของสหภาพ
โซเวียต จนกระทั่งเกิดการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1995 Pajitnov จึงสามารถก่อตั้งบริษัท The Tetris Company ในปีต่อมาและเป็นเจ้าของ
สิทธิ์ในการใช้งานแบบเต็มรูปแบบในเกม
Credit: Wikipedia
ด้วยกฏในการเล่นง่าย ๆ แต่ต้องอาศัยทักษะและความฉลาดในการขยับและหมุนเจ้าตัว Tetromino รูปเรขาคณิตที่เกิดจากการนำเอาบล็อคสี่เหลี่ยม
จตุรัสมาเรียงต่อกันเป็นรูปร่าง ทำให้เททริสกลายเป็นเกมหนึ่งที่ได้รับความ
นิยมมากที่สุดในประวัติศาสตร์เกม เพราะตั้งแต่มันถูกสร้างขึ้นจนถึงปลายปี 2011 เททริสมียอดขายกว่า 200 ล้านชุด โดย 70 ล้านชุดเป็นยอดขายแบบตลับ และอีก 130 ล้านชุดเป็นการดาวน์โหลดผ่านมือถือ ทำให้มันเป็นหนึ่ง
ในแฟรนไชส์วิดีโอเกมที่ขายดีที่สุดตลอดกาล
แล้ว “เททริสเอฟเฟกต์” ที่กล่าวถึงเมื่อตอนต้นมันเกิดขึ้นจากอะไร ปรากฏ
การณ์อย่างหนึ่งที่จะเกิดขึ้นหากเรากระทำสิ่งในสิ่งหนึ่งซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลา
นาน คือเราจะเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำนั้นในชีวิตจริงแม้ว่าเราจะหยุดกระทำสิ่งนั้นไปแล้วก็ตาม และเกมหนึ่งที่พิสูจน์แล้วว่ามีผลกระทบต่อสมองของมนุษย์ในลักษณะดังกล่าวก็คือเททริส
Credit: Wikipedia
ในความคิดของผู้เล่นเททริสนั้น วัตถุทั้งหลายในโลกแห่งความจริงดูเหมือนว่าจะสามารถจัดเรียงต่อชิดกันได้เหมือนกับเจ้าตัว Tetromino ในเกม เช่น กล่องบนชั้นวางของในซุปเปอร์มาร์เก็ตหรืออาคารบนถนน พวกเขาอาจเห็นภาพชิ้นส่วน Tetromino ตกลงมาบนขอบของ “ลานสายตา” (Visual Field) บางครั้งการมองเห็นภาพเคลื่อนไหวเหล่านี้อาจเกิดขึ้นเมื่อพวกเขากำลัง
เคลิ้มหลับ ซึ่งก็นับว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของอาการประสาทหลอนที่เรียกว่า
"Hypnagogic Imagery"
Credit: Clker-Free-Vector-Images/Pixabay
แม้ว่าการเล่นเททริสนาน ๆ อาจก่อให้เกิดผลกระทบดังที่ได้กล่าวไป แต่
ประโยชน์ของ “เททริสเอฟเฟกต์” เองก็มีอยู่ การศึกษาของทีมนักวิจัยใน
ห้องปฏิบัติการด้าน "ประสาทสรีรวิทยา" (Neurophysiology) ที่
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ชี้ให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมมีภาพจำที่เกิด
จากการเล่นเกมเททริสเป็นระยะเวลานาน โดยนักวิจัยในการศึกษานี้กล่าว
ว่า ความทรงจำจากการเล่นเททริสนี้มีความคล้ายคลึงกับความจำชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ความจำเชิงกระบวนวิธี" (Procedural Memory) ซึ่งเป็นกระบวน
การทางสมองที่ร่างกายใช้จดจำทักษะต่าง ๆ ที่ได้เคยเรียนรู้มา และจะถูกนำมาใช้ในยามที่เราทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เล่นกีฬา ดนตรี ฯลฯ
จริง ๆ แล้วผลกระทบเชิงบวกที่มีต่อการรับรู้จากการเล่นเททริสนั้นยังมีอีก
หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง การ
คิดวิเคราะห์ การใช้เหตุผล รวมไปถึงการรักษาโรคบางอย่าง ในโอกาสต่อ
ไปคงจะได้นำเรื่องราวเหล่านี้มาแบ่งปันกันอีก
สิ่งทั้งหลายล้วนมีทั้งคุณและโทษ แม้แต่สิ่งที่หลายคนอาจมองว่าเป็นเกม
หากนำมาประยุกต์ใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมมันก็สามารถเป็นได้มากกว่าเกม
และสามารถสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้กับตนเองและสังคมได้มหาศาลครับ
อ้างอิงจาก
"'Tetris Effect’ is therapy for distracted, anxious minds" จาก https://www.engadget.com/2018-11-21-tetris-effect-ps4-synesthesia-psvr.html
"15 things you didn’t know about Tetris"
ขอบคุณภาพจาก
ภาพปก Hello I’m Nick/Unsplash
ภาพที่ 1 MusicTobi/Pixabay
ภาพที่ 2 Wikipedia
ภาพที่ 3 Wikipedia
ภาพที่ 4 Clker-Free-Vector-Images/Pixabay
โฆษณา