6 พ.ค. 2020 เวลา 23:38 • ธุรกิจ
ประเภทของการสร้างรายได้แบบ Business Models
#Retailer: ธุรกิจที่ปรับตัวเองจากากรมีร้านค้าจัดจำหน่าย เป็นธุรกิจแแบบการค้าปลีกการปรับเปลี่ยนจาก Business to Business B2B เป็น Business to Customer B2C ร้ายขายเสื้อผ้า รองเท้าแบรนด์ ต่างๆ หรือห้างสรรพสินค้า จาก Department Store เป็น Platform: Online หรือ Convenience STore ร้านสะดวกซื้อ ก็ปรับตัวเองมาเป็นการขายแบบ Online เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคโดยตรง
#Distributor: รูปแบบการค้าแบบตัวแทนจำหน่ายสินค้า การค้าส่ง การขายปริมาณ Volume สูงๆ
#Manufacturer: บริษัทผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูปจากการแปรรูปวัตถุดิบ โดยเมื่อผลิตแล้วก็อาจจะขายผ่านตัวแทน การค้าส่ง การค้าปลีก ซึ่งมีได้หลายๆรูปแบบ
#Franchising: ระบบการทำธุรกิจแบบ franchisee ซึ่งใช้รูปแบบตามบริษัทแม่ การสร้างเชื่อมั่นของลูกค้าด้วย แบรนด์ รูปแบบการบริการ กระบวนการ ของบริษัทแม่ .
#Hidden revenue: เช่น รูปแบบการให้บริการฟรี เช่น Google Facebook แต่แฝงด้วยการขายโฆษณาผ่านสื่อต่างๆที่ให้บริการฟรี
#Freemium: การบริการพื้นฐานจะเป็นการบริการฟรี แต่เมื่อต้องการอัพเกรดการบริการ จะมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย เช่น Application : Zoom การประชุมออนไลน์ ซึ่งจะมีจำกัดเวลาการใช้งานไม่เกิน 40 นาทีถ้าฟรี แต่ถ้าต้องการใช้งานต่อเนื่อง ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์โปรแกรมประจำเดือน หรือ พื้นที่จัดเก็บข้อมูล Cloud แบบ Dropbox Google Drive ให้พื้นที่จำกัด แต่ถ้าต้องการเพิ่มพื้นที่ก็ต้องจ่ายเพิ่ม
#Aggregator: การเป็นผู้รวบรวม Business Models ให้เป็น Platform เดียวกัน รูปแบบการบริการในระบบเดียวกัน เช่น การชำระเงิน การเรียกใช้บริการ ได้แก่ UBER, Traveloka, Agoda, Lyft และ AirBnb เป็นต้น
#Online marketplace: การตลาดแบบออนไลน์ เช่น Lazada, Shopee, Alibaba and Amazon. เป็นผู้รวบรวมการตลาดที่ให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาพบกัน
#Subscription: ระบบของการบอกรับสมาชิก เพื่อก่อให้เกิดการสร้างรายได้ เช่น Netflix หรือการเป็นสมาชิก เพื่อรับส่วนลด Promotion เช่น All menber.
#Affiliate marketing: การหาพันธมิตร เช่น พันธมิตรททางการค้า การให้คอมมิชชั่น เมื่อมีการจัดจำหน่ายสินค้า
#Multilevel marketing: การตลาดแบบแบ่งเป็นลำดับขั้นแบบปิรามิด โดยธุรกิจขายตรง จะมีการใช้แนวคิดทางการตลาดรูปแบบนี้
#Crowdsourcing: โมเดลการสร้างเครือข่ายเพื้อเกื้อกูล อุดหนุนซึ่งกันและกัน เช่น การแชรข้อมูล แบ่งปันข้อมูล โโยนำข้อมูลที่ได้มาจัดกลุ่มเพื่อดึงดูดความสนใจ เช่น YouTube and Wikipedia
#Nickle and dime: การขายสินค้าในราคาต่ำ แต่มีการขายเพิ่ม หรือการสร้างจูงใจในการซื้อ เมื่อเข้าสู่กระบวนการ Promotion เช่น low cost airline ใช้แนวคิดนี้ แต่บวกราคาเพิ่มเมื่อซื้ออาหาร ที่นั่งพิเศษ น้ำหนักโหลดสินค้า การจองที่นั่งสัมนา เมื่อซื้อเร็ว จะได้ราคาพิเศษ
#Negative operating cycle: ธุรกิจที่มีการเรียกเก็บเงินก่อนล่วงหน้า เช่น ค่ามัดจำ หรือธุรกิจที่รับเงินแบบ Pre-paid เช่น บัตรเติมเงิน บัตรทางด่วน เป็นต้น
#Low touch: ธุรกิจที่นำเสนอการขาย บริการในราคาต่ำ เช่น IKEA ขายสินค้าในราคาถูก ให้ทุกๆคนสามารถเข้าถึงได้ ลูกค้าที่ซื้อสินค้ามีทั้งโรงงาน บ้านที่อยู่อาศัย คอนโดมิเนียม สายการบินต้นทุนต่ำ โรงแรมแบบ ECO Hotels
#Razor-razorblade: การขายสินค้าแบบคิดกำไรสูง ชดเชยสินค้าประกอบเสริมอื่นๆที่มีกำไรเพียงเล็กน้อย แต่มีข้อดี คือ การขายวัสดุ องค์ประกอบการใช้งาน ที่ใช้อย่างต่อเนื่อง เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร และหมึกถ่ายเอกสาร เครื่องโกนหนวดไฟฟ้า และใบมีดโกนหนวด
#Reverse razor-razorblades:แบบตรงข้ามกับ Razor-razorblade เช่น บริษัทขายเครื่องทดสอบทางการแพทย์ในโรงพยาบาล ให้เครื่องใช้ฟรี แต่ขายน้ำยาทดสอบ บริษัทขายสีอุตสาหกรรม ให้ใช้เครื่องผสมสีฟรี แต่ทำสัญญษให้ซื้อสี
#Product to service: การขายบริการคู่กับสินค้า เช่น รถยนต์ขายคู่กับศูนย์บรืการ เครื่องจักร ขายคู่กับการประกัน การบริการหลังการขาย
โดยรูปแบบธุรกิจในปัจจุบัน สามารถปรับเปลี่ยนได้หลายๆรูปแบบมากขึ้น ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนในยุคอุตสาหกรรมปัจจุบันนี้
โฆษณา